โรคเอดส์ อาการ ที่สังเกตได้อาจแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะติดเชื้อ ระยะสงบ และระยะเอดส์ ซึ่งหมายถึงการติดเชื้อเอชไอวีระยะสุดท้าย ทำให้เม็ดเลือดขาวชนิด CD4 ซึ่งเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งที่มีหน้าที่สำคัญในการต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกายลดลง ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายอ่อนแอจนไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายได้ และเสี่ยงต่อการป่วยด้วยโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น วัณโรค โรคปอดบวม เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
[embed-health-tool-ovulation]
สาเหตุของโรคเอดส์
สาเหตุที่อาจทำให้ติดเชื้อเอชไอวี มีดังนี้
- ติดต่อเพศสัมพันธ์ การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ติดเชื้อผ่านทางช่องคลอด ทวารหนักและช่องปากโดยไม่มีการป้องกัน
- ติดต่อผ่านทางเลือด การรับเลือดของผู้ติดเชื้อผ่านการถ่ายให้เลือด การติดเชื้อผ่านทางบาดแผล หรือการใช้เข็มฉีดยาหรือเข็มสักร่วมกับผู้ที่มีเชื้อเอชไอวี
- การติดเอดส์จากมารดาสู่ทารก มารดาตั้งครรภ์ที่ติดเชื้ออาจแพร่เชื้อไวรัสเอชไอวีไปยังทารกได้ระหว่างตั้งครรภ์ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงไม่ให้ทารกในครรภ์ได้รับเชื้อเอชไอวี คุณแม่ควรตรวจหาเชื้อเอชไอวีก่อนตั้งครรภ์หรือรักษาการติดเชื้อเอชไอวีให้เรียร้อยก่อนการตั้งครรภ์
โรคเอดส์ อาการ สังเกตได้
อาการของโรคเอดส์ขึ้นอยู่กับระยะการติดเชื้อที่ผู้ป่วยเป็น โดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้
- ระยะแรกของการติดเชื้อ เช่น มีไข้ ปวดศีรษะ ท้องเสีย เจ็บคอ มีผื่น ปวดตามกล้ามเนื้อและข้อต่อ ไอ เหงื่อออกตอนกลางคืน
- ระยะอาการสงบ ระยะนี้เชื้อไวรัสไม่แสดงอาการใด ๆ โดยระยะนี้สามารถอยู่ได้นาน 8-10 ปี หากไม่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส แต่สำหรับผู้ติดเชื้อบางคนอาจใช้ระยะเวลาน้อยกว่า
- ระยะเอดส์ ผู้ป่วยที่ไม่รับการรักษาต่อเนื่องหรือไม่ได้รับประทานยาต้านไวรัส อาจทำให้ภูมิคุ้มกันถูกทำลายอย่างรุนแรง เสี่ยงติดเชื้อและเจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ เช่น เหงื่อออกตอนกลางคืน หนาวสั่น มีไข้ตลอดเวลา ท้องเสียเรื้อรัง ต่อมน้ำเหลืองบวม น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ มีแผลบริเวณลิ้นและปาก เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย
การรักษา และการป้องกันโรคเอดส์
ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาเอชไอวีหรือโรคเอดส์ แต่อาจสามารถควบคุมอาการเอชไอวีและป้องกันภาวะแทรกซ้อนด้วยยาต้านไวรัส ดังนี้
ยาต้านไวรัส
- กลุ่มยา NNRTIs เช่น เอฟฟาไวเร็นซ์ (Efavirenz) ริวพิไวรีน (Rilpivirine) โดโรวิริน (Pifeltro)
- กลุ่มยา NRTIs เช่น อะบาคาเวียร์ (Abacavir) ทีโนโฟเวียร์ (Tenofovir) เอ็มตริไซตาบีน (Emtricitabine) ลามิวูดีน (Lamivudine)
- สารยับยั้งโปรติเอส (Protease inhibitors) เช่น อะทาซานาเวียร์ (Atazanavir) ดารูนาเวียร์ (Darunavir)
- สารยับยั้งอินทีเกรส (Integrase) เช่น บิคเทกราเวียร์ (Bictegravir) เรียลทิกราเวียร์ (Raltegravir) โดลูเทกราเวียร์ (Dolutegravir)
วิธีป้องกันแบบธรรมชาติ
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ
- สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
- การใช้ยาเพร็พ (PrEP) เป็นยาต้านไวรัสสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงของการติดเชื้อเอชไอวี
- การขลิบอวัยวะเพศสำหรับผู้ชาย เพราะมีหลักฐานบ่งชี้ว่าการขลิบอาจช่วยลดความเสี่ยงการติดเชื้อเอชไอวีได้