backup og meta

6 เรื่องเซ็กส์ ที่ควรรู้เพื่อสุขภาพทางเพศที่ดี

6 เรื่องเซ็กส์ ที่ควรรู้เพื่อสุขภาพทางเพศที่ดี

เรื่องเซ็กส์ เป็นเรื่องปกติของทั้งผู้ชายและผู้หญิงที่เริ่มต้นขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ ซึ่งเซ็กส์ที่ดีควรเกิดขึ้นจากความพึงพอใจของทั้ง 2 ฝ่าย และควรอยู่ภายใต้ความปลอดภัยเพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อม ดังนั้น การทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องเซ็กส์จึงอาจช่วยส่งเสริมสุขภาพทางเพศที่ดีในทุกเพศทุกวัยได้

[embed-health-tool-due-date]

6 เรื่องเซ็กส์ ที่ควรรู้

ก่อนเริ่มมีเซ็กส์และความสุขระหว่างมีเพศสัมพันธ์ ควรทำความเข้าใจและเรียนรู้เรื่องเซ็ก ทั้งความปลอดภัย ประโยชน์และข้อควรระวังต่าง ๆ ดังนี้

  1. เรื่องเซ็กส์คือความเข้าใจและความเข้ากันได้

ไม่ใช่ทุกคนที่จะต้องการและชื่นชอบการมีเซ็กส์ ดังนั้น เรื่องเซ็กส์ควรเกิดขึ้นด้วยความเข้าใจ ความพึงพอใจและความเข้ากันได้ของทั้ง 2 ฝ่าย จึงจะทำให้การมีเพศสัมพันธ์เกิดขึ้นอย่างมีความสุขมากที่สุด โดยทั้ง 2 ฝ่ายควรพูดคุยเรื่องความสัมพันธ์ รสนิยมทางเพศและความถี่ในการมีเซ็กส์ เพื่อไม่เป็นการฝืนใจกัน และเพื่อให้ความสัมพันธ์ระหว่างคู่รักดำเนินไปได้เป็นอย่างดี

  1. การช่วยตัวเอง

การช่วยตัวเองเป็นการสำเร็จความใคร่ให้ไปถึงจุดสุดยอดด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นกิจกรรมทางเพศรูปแบบหนึ่งที่สามารถช่วยผ่อนคลายร่างกาย จิตใจ และช่วยสร้างความสุขให้กับตัวเองได้ทั้งชายและหญิง โดยการช่วยตัวเองอาจมีประโยชน์ในหลายด้าน เช่น ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดขณะมีเพศสัมพันธ์ ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ช่วยคลายเครียด

อย่างไรก็ตาม ควรรักษาความสะอาดด้วยการล้างมือและทำความสะอาดเซ็กส์ทอยทั้งก่อนและหลังใช้งานทุกครั้ง เพื่อป้องกันการติดเชื้อที่อวัยวะเพศ

  1. การกระตุ้นจุดกระสัน หรือ จี-สปอต (G-Spot)

บางคนอาจสงสัยว่าจุดกระสันมีจริงหรือไม่ ซึ่งจุดกระสันคือปุ่มนูนที่อยู่บริเวณผนังช่องคลอดภายในช่องคลอดผู้หญิง อาจอยู่ห่างจากปากช่องคลอดประมาณ 1 นิ้วหรือมากกว่านั้น โดยจุดกระสันจะไวต่อความรู้สึกทางเพศและจะพองตัวเล็กน้อยในระหว่างการกระตุ้นขณะมีเซ็กส์ จนสามารถทำให้ผู้หญิงถึงจุดสุดยอดได้

อย่างไรก็ตาม จุดกระสันเป็นจุดที่หายาก ผู้หญิงจึงอาจถึงจุดสุดยอดจากการกระตุ้นจุดกระสันได้ยากเช่นกัน ซึ่งผู้หญิงส่วนใหญ่จะถึงจุดสุดยอดมากที่สุดด้วยการกระตุ้นคลิตอริส ดังนั้น การมีเซ็กส์ที่ดีจึงอาจไม่จำเป็นต้องกระตุ้นจุดกระสันในช่องคลอดเพียงอย่างเดียว เพียงทำให้อีกฝ่ายถึงจุดสุดยอดและมีความสุขในการมีเซ็กส์ร่วมกันก็สามารถถือเป็นการมีเซ็กส์ที่ดีได้

  1. ประโยชน์ของการมีเซ็กส์

การมีเซ็กส์อาจมีประโยชน์ทั้งต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ ดังนี้

  • อาจช่วยส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกัน เนื่องจากการมีเซ็กส์บ่อย ๆ เป็นการขยับร่างกายคล้ายการออกกำลังกาย จึงอาจมีส่วนช่วยให้แอนติบอดีเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลดีต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในการช่วยปกป้องร่างกายจากการติดเชื้อ
  • อาจช่วยกระชับความสัมพันธ์ เซ็กส์เป็นการสัมผัสและการสื่อสารทั้งทางร่างกาย อารมณ์ และความรู้สึก จึงอาจช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างคู่รักให้ใกล้ชิดกันมากขึ้น
  • อาจช่วยลดความเครียด การมีเซ็กส์อาจช่วยกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนเอ็นโดรฟิน (Endorphin) และออกซิโตซิน (Oxytocin) ทั้งยังช่วยลดฮอร์โมนความเครียด ซึ่งส่งผลให้ช่วยผ่อนคลายจิตใจ ลดความเครียด และเพิ่มความสุขได้มากขึ้น
  • อาจช่วยลดความเสี่ยงในการโรคหัวใจ การมีเซ็กส์อาจช่วยลดความเครียดซึ่งเป็นปัจจัยที่นำไปสู่ความดันโลหิตสูง ที่เป็นสาเหตุของโรคหัวใจ
  • อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก โดยผู้ชายที่มีเซ็กส์เป็นประจำและมีการหลั่งน้ำอสุจิอยู่เสมอ จึงอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้ อย่างไรก็ตาม ยังจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อยืนยันผลเกี่ยวกับการมีเซ็กส์ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากที่แน่ชัด

นอกจากนี้ การมีเซ็กส์ยังอาจมีประโยชน์อื่น ๆ อีกมากมาย เช่น เผาผลาญแคลอรี่ บรรเทาอาการเจ็บปวด ปรับการควบคุมกระเพาะปัสสาวะของผู้หญิง อาจลดความเสี่ยงในการเกิดหัวใจวาย อาจช่วยปรับปรุงการนอนหลับ อย่างไรก็ตาม การมีเซ็กส์ยังควรอยู่ในความปลอดภัยและมีการป้องกันด้วยการสวมใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้ง

  1. ข้อควรระวังเรื่องเซ็กส์

การมีเซ็กส์โดยไม่ป้องกันทั้งทางปาก ทวารหนัก ช่องคลอด หรือการสัมผัสทางผิวหนัง อาจทำให้เสี่ยงต่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้หลายชนิด เช่น การติดเชื้อเอชไอวี หนองในแท้ หนองในเทียม ซิฟิลิส เริม หูดที่อวัยวะเพศ โรคตับอักเสบเอ บีและซี โดยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางชนิดไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ และสามารถกลับมาเป็นซ้ำหรือมีอาการที่รุนแรงขึ้นหรืออาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ นอกจากนี้ ยังอาจสามารถถ่ายทอดจากแม่สู่ลูกได้อีกด้วย

  1. การมีเซ็กส์อย่างปลอดภัย

การมีเซ็กส์ถึงแม้ว่าจะมีประโยชน์ทั้งต่อสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตใจ แต่ยังจำเป็นต้องมีการป้องกันอย่างเหมาะสมเพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนคู่นอนหลายคน
  • ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์
  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก เนื่องจากอาจเสี่ยงที่จะควบคุมสติในการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยได้ยาก
  • ควรฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสที่อาจติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสเอชพีวี (HPV)
  • ตรวจคัดครองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นประจำทุก ๆ 6 เดือน หรือทุกปี

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What You Need to Know About… the G-spot. https://www.aasect.org/what-you-need-know-about-g-spot-0. Acceesed December 7, 2022

Safer Sex Guidelines. https://www.hopkinsmedicine.org/health/wellness-and-prevention/safer-sex-guidelines#:~:text=First%2C%20discuss%20past%20partners%2C%20history,condoms%20are%20made%20of%20polyurethane. Acceesed December 7, 2022

Safe sex. https://www.betterhealth.vic.gov.au/health/healthyliving/safe-sex. Acceesed December 7, 2022

10 Surprising Health Benefits of Sex. https://www.webmd.com/sex-relationships/guide/sex-and-health. Acceesed December 7, 2022

The relative health benefits of different sexual activities. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/20088868/. Acceesed December 7, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

06/02/2023

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงนันทิวดี มาเมือง

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

การมีเซ็กส์ทุกวัน ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร

เซ็กจัด สาเหตุ วิธีสังเกต และวิธีรับมือ


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงนันทิวดี มาเมือง

สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 06/02/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา