backup og meta

วิธีวัดขนาดน้องชาย เพื่อช่วยเลือกถุงยางอนามัยให้ถูกไซส์

วิธีวัดขนาดน้องชาย เพื่อช่วยเลือกถุงยางอนามัยให้ถูกไซส์

ขนาดน้องชายหรือขนาดอวัยวะเพศชาย ในขณะที่ตื่นตัวอาจทำให้ทราบถึงไซส์ ถึงแม้ว่าอาจมีขนาดที่แตกต่างกันเล็กน้อยในแต่ละครั้ง แต่ก็ยังคงมีค่าเฉลี่ยที่ไม่เกินหรือไม่ต่ำกว่าขนาดที่วัดได้ โดย วิธีวัดขนาดน้องชาย ควรวัดทั้งความยาวและเส้นรอบวงของอวัยวะเพศ เพื่อให้ทราบขนาดที่ถูกต้อง

[embed-health-tool-ovulation]

การวัดขนาดน้องชายสำคัญอย่างไร

การวัดขนาดน้องชายหรืออวัยวะเพศชาย อาจช่วยให้ทราบถึงไซส์ที่ถูกต้อง เพื่อช่วยให้เลือกไซส์กางเกงชั้นในที่พอดีและเลือกถุงยางอนามัยอย่างเหมาะสมที่ไม่หลวมหรือไม่รัดแน่นจนเกินไป เพราะหากเลือกถุงยางในขนาดที่ไม่พอดีกับอวัยวะเพศ อาจส่งผลให้ระหว่างที่มีเพศสัมพันธ์เกิดการรั่วไหลของอสุจิและถุงยางหลุดเข้าไปในช่องคลอดผู้หญิง นำไปสู่การติดเชื้อในช่องคลอดและก่อให้เกิดการตั้งครรภ์ได้ อีกทั้งยังอาจเสี่ยงเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคเริม โรคซิฟิลิส หูดหงอนไก่ หนองในแท้ หนองในเทียม 

นอกจากนี้ขนาดของอวัยวะเพศชายยังมีผลต่อการมีเพศสัมพันธ์ที่ในระหว่างการสอดใส่อาจเข้าไปโดนจุดเสียวหรือคลิตอริสได้ง่าย ส่งผลให้ผู้หญิงรู้สึกมีอารมณ์ทางเพศเพิ่มขึ้นและไปถึงจุดสุดยอดได้ 

วิธีวัดขนาดน้องชาย 

วิธีวัดขนาดน้องชาย ควรวัดความยาวและเส้นรอบวงในขณะที่อวัยวะเพศแข็งตัว ที่อาจทำได้ดังนี้

การวัดความยาวของน้องชาย

  • ใช้ไม้บรรทัดหรือสายวัดเอวมาวัดด้วยการใช้ปลายอุปกรณ์วางระนาบกับโคนของอวัยวะเพศ
  • อ่านค่าบริเวณปลายไม้บรรทัดหรือสายวัดที่อยู่บริเวณหัวอวัยวะเพศนั้นมีค่ากี่มิลลิเมตร
  • กรณีที่อวัยวะเพศชายโค้งควรวัดความยาวระนาบตามความโค้งได้เลย

การวัดเส้นรอบวงของน้องชาย

  • ใช้สายวัดเอวมาพันรอยอวัยวะเพศชายบริเวณที่มีความอวบมากที่สุดโดยพันให้พอดีไม่รัดแน่นจนเกินไป
  • ควรวัดด้านหน่วยมิลลิเมตร เมื่อได้ค่าเส้นรอบวงแล้ว นำผลลัพธ์มาหาร 2.3 

ยกตัวอย่าง ขนาดเส้นรอบวงอยู่ที่ 130 นำมาหาร 2.3 (130÷2.3) ก็จะได้ 56.52 เท่ากับขนาดของอวัยวะเพศชายจะอยู่ที่ 56 มิลลิเมตร

ผลลัพธ์ของขนาดอวัยวะเพศและการเลือกไซส์ถุงยางอนามัย

  • ความยาวเส้นรอบวง 94-105 มิลลิเมตร ควรเลือกถุงยางอนามัยไซส์ 47 มิลลิเมตร
  • ความยาวเส้นรอบวง 105-110 มิลลิเมตร ควรเลือกถุงยางอนามัยไซส์ 47-49 มิลลิเมตร
  • ความยาวเส้นรอบวง 111-115 มิลลิเมตร ควรเลือกถุงยางอนามัยไซส์ 49-50 มิลลิเมตร
  • ความยาวเส้นรอบวง 116-120 มิลลิเมตร ควรเลือกถุงยางอนามัยไซส์ 50-53 มิลลิเมตร
  • ความยาวเส้นรอบวง 121-125 มิลลิเมตร ควรเลือกถุงยางอนามัยไซส์ 52-55 มิลลิเมตร
  • ความยาวเส้นรอบวง 126-130 มิลลิเมตร ควรเลือกถุงยางอนามัยไซส์ 54-57 มิลลิเมตร
  • ความยาวเส้นรอบวง 136-140 มิลลิเมตร ควรเลือกถุงยางอนามัยไซส์ 58-60 มิลลิเมตร
  • ความยาวเส้นรอบวง 141-150 มิลลิเมตร ควรเลือกถุงยางอนามัยไซส์ 60-64 มิลลิเมตร
  • ความยาวเส้นรอบวง 150 มิลลิเมตร ขึ้นไป ควรเลือกถุงยางอนามัยไซส์ 69 มิลลิเมตร

การใช้ถุงยางอนามัยที่ถูกต้อง

การใช้ถุงยางอนามัยที่ถูกต้อง มีดังนี้

  • เลือกถุงยางอนามัยให้เหมาะกับขนาดของอวัยวะเพศ
  • เลือกลักษณะของถุงยางและกลิ่นที่ชอบ
  • ฉีกหรือตัดซองถุงยางอนามัยอย่างระมัดระวัง เพื่อป้องกันถุงยางฉีดขาด
  • สวมถุงยางอนามัยเมื่อองคชาตแข็งตัว บีบส่วนปลายเพื่อไล่อากาศออกจากถุงยางอนามัย 
  • ค่อย ๆ คลี่ด้านวงแวนรูดลงให้ครอบองคชาตไปจนสุด และควรเหลือส่วนปลายให้มีพื้นที่ว่างไว้เล็กน้อย เพื่อเก็บน้ำอสุจิที่จะหลั่งออกมา
  • หลังมีเพศสัมพันธ์และมีการหลั่งควรจับที่ฐานถุงยางอนามัยก่อนนำออกจากช่องคลอด
  • ถอดถุงยางอนามัยอย่างระมัดระวังและห่อทิ้งด้วยกระดาษทิชชูก่อนทิ้งลงถังขยะ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Male (External) Condom Use. https://www.cdc.gov/condomeffectiveness/external-condom-use.html.Accessed January 22, 2023

Condoms. https://www.webmd.com/sex/birth-control/birth-control-condoms.Accessed January 22, 2023

How do I use a condom?. https://www.nhs.uk/conditions/contraception/how-do-i-use-condom/.Accessed January 22, 2023

Condoms. https://www.nhs.uk/conditions/contraception/male-condoms/.Accessed January 22, 2023

Penis health: Identify and prevent problems. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/mens-health/in-depth/penis-health/art-20046175.Accessed January 22, 2023 

เวอร์ชันปัจจุบัน

25/10/2023

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงอรกนิษฐา อรุณาทิตย์

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

อวัยวะเพศไม่แข็ง สาเหตุ และวิธีรักษา

มีตุ่มใสขึ้นที่อวัยวะเพศชาย วิธีรักษา และป้องกันอย่างไรบ้าง


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงอรกนิษฐา อรุณาทิตย์

สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 25/10/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา