backup og meta

เทคฮอร์โมนชาย มีประโยชน์อย่างไร มีเกิดผลข้างเคียงหรือไม่

เทคฮอร์โมนชาย มีประโยชน์อย่างไร มีเกิดผลข้างเคียงหรือไม่

เทคฮอร์โมนชาย เป็นการนำฮอร์โมนเพศชายหรือฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนเข้าสู่ร่างกายของเพศหญิงที่ต้องการเป็นผู้ชายหรือผู้ชายข้ามเพศ ผ่านการฉีด การใช้ครีม หรือแผ่นแปะ เพื่อให้ร่างกายมีลักษณะต่าง ๆ ของเพศชาย ทั้งเสียงที่ทุ้มใหญ่ หนวดที่หนาดก ขนตามลำตัวที่มากขึ้น และมวลกล้ามเนื้อที่มากกว่าเดิม อย่างไรก็ตาม การเทคฮอร์โมนชายอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่อสุขภาพ เช่น หัวล้าน สิวขึ้น เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ความดันโลหิตสูง ก่อนตัดสินใจเทคฮอร์โมนชาย ควรศึกษาข้อมูลให้ละเอียดและปรึกษาคุณหมอเพื่อหาวิธีรับมือกับผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้

[embed-health-tool-ovulation]

เทคฮอร์โมนชาย มีประโยชน์อย่างไร

การเทคฮอร์โมนชาย เป็นการเปลี่ยนลักษณะทางกายภาพของผู้หญิงที่อยากเป็นผู้ชายหรือผู้ชายข้ามเพศ ให้ดูเหมือนกับเพศชายยิ่งขึ้น ด้วยการฉีดฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน หรือทาครีม หรือใช้แผ่นแปะ เพื่อให้เสียงทุ้มใหญ่ มีหนวดเคราขึ้น มีขนขึ้นดกหนาตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และมีมวลกล้ามเนื้อมากกว่าเดิม

การเทคฮอร์โมนชายอาจเริ่มได้ตั้งแต่อายุ 16 ปี และหากต้องการให้ตนเองมีลักษณะของเพศชายอยู่ตลอด จำเป็นต้องเทคฮอร์โมนอย่างต่อเนื่อง หรือทุก ๆ 2-4 สัปดาห์ หากหยุดเทคฮอร์โมน ลักษณะต่าง ๆ ของเพศชายจะค่อย ๆ หายไป

ทั้งนี้ การเทคฮอร์โมนชายอาจไม่เหมาะกับผู้ชายข้ามเพศทุกคน โดยผู้ที่ไม่ควรเทคฮอร์โมนชาย คือ

  • ผู้ป่วยมะเร็งชนิดที่อ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงต่อระดับฮอร์โมนในร่างกาย เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่
  • ผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับการอุดตันของหลอดเลือด
  • ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์หรืออยู่ในระยะให้นมบุตร
  • ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงอยู่แล้ว

เทคฮอร์โมนชายเมื่อไรจึงจะเห็นผล

เมื่อเทคฮอร์โมนชายแล้ว ลักษณะของเพศชายต่าง ๆ จะเริ่มปรากฏหลังจากระยะเวลาผ่านไป ดังนี้

  • เสียงทุ้มใหญ่ จะเริ่มปรากฏหลังจากเทคฮอร์โมนไปแล้วประมาณ 3-12 เดือน
  • ขนตามใบหน้าและลำตัวที่ดกขึ้น จะเริ่มปรากฏหลังจากเทคฮอร์โมนไปแล้ว 3-6 เดือน
  • ไขมันตามลำตัวที่ลดลง จะเริ่มปรากฏหลังจากเทคฮอร์โมนไปแล้ว 3-6 เดือน
  • มวลกล้ามเนื้อและความแข็งแรงที่เพิ่มขึ้น จะเริ่มปรากฏหลังจากเทคฮอร์โมนไปแล้ว 6-12 เดือน

เทคฮอร์โมนชาย ก่อให้เกิดผลข้างเคียงอย่างไร

เมื่อเทคฮอร์โมนชายแล้ว อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่าง ๆ ดังนี้

  • สิวและผิวมันมากขึ้น จะเริ่มมีอาการหลังจากเทคฮอร์โมนไปแล้ว 1-6 เดือน
  • ประจำเดือนไม่มา จะเริ่มมีอาการหลังจากเทคฮอร์โมนไปแล้ว 2-6 เดือน
  • ผมร่วงหรือหัวล้าน จะเริ่มมีอาการหลังจากเทคฮอร์โมนไปแล้วประมาณ 1 ปี
  • คลิตอริส หรือปุ่มกระสัน มีขนาดใหญ่ขึ้น จะเริ่มมีอาการหลังจากเทคฮอร์โมนไปแล้ว 3-6 เดือน

นอกจากนั้น เมื่อเทคฮอร์โมนชายแล้วอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลกระทบต่อสุขภาพ ดังนี้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Masculinizing Hormone Therapy. https://www.mayoclinic.org/tests-procedures/masculinizing-hormone-therapy/about/pac-20385099#:~:text=You’ll%20begin%20masculinizing%20hormone,gel%20applied%20to%20the%20skin. Accessed August 4, 2022

Overview of masculinizing hormone therapy. https://transcare.ucsf.edu/guidelines/masculinizing-therapy. Accessed August 4, 2022

Effects of Masculinizing Hormone Therapy. https://www.plannedparenthood.org/uploads/filer_public/15/38/15388d56-b877-4829-b28a-c88f9d5ea11f/2043_effects_of_masculinizing_hormone_therapy_0417.pdf. Accessed August 4, 2022

What You Need to Know About Masculinizing Hormone Therapy. https://www.med.umich.edu/1libr/ComprehensiveGenderServicesProgram/MasculinzingHormones.pdf. Accessed August 4, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

29/10/2022

เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย นายแพทย์ธิบดี หฤไชยะศักดิ์

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

LGBTQIA+ หมายถึงใคร และความเชื่อเกี่ยวกับเพศทางเลือก

แปลงเพศ จากชายเป็นหญิง ขั้นตอนและความเสี่ยง


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

นายแพทย์ธิบดี หฤไชยะศักดิ์

สุขภาพทางเพศ · Dionysus Fertility Center


เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น · แก้ไขล่าสุด 29/10/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา