backup og meta

ประเภทของไขมันในเลือดสูง ที่อาจทำให้คุณเสี่ยงเป็นโรคอ้วน


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 18/08/2021

    ประเภทของไขมันในเลือดสูง ที่อาจทำให้คุณเสี่ยงเป็นโรคอ้วน

    ภาวะไขมันในเลือดสูง เป็นภาวะที่ร่างกายของคุณนั้นมีปริมาณไขมันสะสมในเลือดมากกว่าปกติ โดยอาจประกอบไปด้วยคอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ ที่สำคัญหากปล่อยไว้ระยะเวลานานก็อาจส่งผลให้เส้นเลือดมีการอุดตัน จนเลือดไม่สามารถเข้าไปหล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของอวัยวะได้ นอกจากนี้ภาวะดังกล่าวยังมี ประเภทของไขมันในเลือดสูง อีกทั้ง 4 ประเภท ด้วยกัน แต่จะมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้างนั้น ติดตามได้ในบทความนี้ของ Hello คุณหมอ กันค่ะ

    ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้คุณเป็น ภาวะไขมันในเลือดสูง

    ผู้คนส่วนใหญ่ที่มีประวัติทางสุขภาพเป็นภาวะไขมันในเลือดสูงนั้น บางครั้งอาจมาจากการสืบทอดทางพันธุกรรม และการรับประทานที่ประกอบด้วยไขมันไม่ดีเข้าสู่ร่างกาย แต่ขณะเดียวกันก็ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่มีความเชื่อมโยงส่งผลให้คุณเผชิญกับภาวะไขมันในเลือดสูงได้ ดังนี้

    4 ประเภทของไขมันในเลือดสูง ที่คุณควรรู้

    คุณทราบหรือไม่ว่าภาวะไขมันในเลือดสูงยังถูกแบ่งออกได้อีก 5 ประเภท ที่สามารถส่งกระทบทางสุขภาพในเชิงลบได้ไม่แพ้กัน ดังต่อไปนี้

    • ประเภทที่ 1 เป็นภาวะไขมันในเลือดสูงทางพันธุกรรมที่คุณสามารถรับมาตั้งแต่กำเนิด ทำให้ระบบการสลายไขมันในร่างกายคุณมีการชะงัก จนเกินไขมันสะสมจำนวนมาก พร้อมมีการติดเชื้อบริเวณตับอ่อนตามมา
    • ประเภทที่ 2 สามารถดูได้จากการเปลี่ยนแปลงของผลคอเลสเตอรอลรวมมีอัตราที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะระดับไขมันในเลือดชนิดไม่ดี พร้อมอาจทำให้เกิดการสะสมไขมันใต้ผิวหนัง รอบดวงตา และเสี่ยงต่อการเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวใจได้อีกด้วย
    • ประเภทที่ 3 คือภาวะที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติพันธุกรรมที่ส่งผลไปยังโปรตีน โดนจะเกิดขึ้นต่อเมื่อคุณมีระดับไขมันที่ไม่ดีในเลือด หรืออาจสังเกตได้จากก้อนไขมันที่ปรากฏอยู่บนเปลือกตา และบริเวณรอบ ๆ ดวงตา
    • ประเภทที่ 4 สำหรับประเภทนี้อาจทำให้ระดับไตรกลีเซอรไรด์ในเลือดเพิ่มสูงขึ้น จนทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดมีระดับที่สูง นำไปสู่โรคอ้วนได้

    วิธีลดระดับไขมันในเลือด ป้องกัน โรคอ้วน

    เพียงแค่คุณเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตประจำวันที่ปฏิบัติอยู่เล็กน้อย ก็อาจเป็นการช่วยลดระดับไขมันในเลือดได้อีกหนึ่งระดับ โดยคุณสามารถเริ่มจากวิธีต่าง ๆ ดังนี้

    • รับประทานเนื้อสัตว์ติดมันให้น้อยลง
    • หากต้องการดื่มนม ควรมีการเลือกซื้อนมที่มีไขมันต่ำ
    • หลีกเลี่ยงขนม และของว่างที่เป็นไขมันทรานส์ ของทอด หรืออาหารแปรรูป
    • เลือกอาหารที่มีไฟเบอร์เพิ่มมากขึ้น เช่น ผักและผลไม้นานาชนิด
    • งดดื่มเครื่องดื่มที่ประกอบด้วยน้ำตาล
    • หมั่นออกกำลังกายด้วยกิจกรรมที่ใช้แรงเบา ถึงปานกลาง

    นอกจากนี้คุณควรไปตรวจสุขภาพให้บ่อยครั้ง เมื่อรู้สึกถึงอาการผิดปกติขึ้น เพื่อให้แพทย์หาทางรักษา หรือแนะนำวิธีป้องกันตั้งแต่เนิ่น ๆ เพราะถ้าหากคุณเพิกเฉยอาจส่งผลกระทบเชิงลบต่อสุขภาพในระยะยาว จนเกิดเป็นโรคเรื้อรังต่าง ๆ ที่รุนแรงขึ้นได้

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 18/08/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา