backup og meta

ใต้ตาดำ สาเหตุ วิธีลดรอยคล้ำใต้ตาที่ควรรู้

ใต้ตาดำ สาเหตุ วิธีลดรอยคล้ำใต้ตาที่ควรรู้

ใต้ตาดำ เป็นปัญหาผิวที่เกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งจากโรค เช่น โรคภูมิแพ้ การขาดสารอาหาร หรืออาจเกิดจากพฤติกรรมบางประการ เช่น การขยี้ตาแรง ๆ การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ อย่างไรก็ตาม ภาวะนี้อาจป้องกันและบรรเทาได้ด้วยวิธีลดรอยคล้ำใต้ตาที่เหมาะสม

[embed-health-tool-bmi]

สาเหตุที่ทำให้ ใต้ตาดำ

ใต้ตาดำ หรือรอยคล้ำใต้ตา เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทั้งจากภาวะสุขภาพที่แก้ไขได้ยาก และจากปัจจัยภายนอกที่อาจป้องกันได้ เช่น 

  • โรคภูมิแพ้
  • ผื่นแพ้ผิวหนังเรื้อรัง 
  • ผื่นแพ้สัมผัส 
  • ความเหนื่อยล้า 
  • การแพ้สารหรือละอองที่อยู่ในอากาศ
  • พันธุกรรม 
  • ความผิดปกติของเม็ดสี 
  • แสงแดด 
  • ผิวบางและสูญเสียคอลลาเจนตามวัย 
  • การเกาหรือขยี้ตาแรง ๆ

ใต้ตาดำ ป้องกันได้อย่างไร

  • ใช้ผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยน

การใช้ผลิตภัณฑ์รอบดวงตาเป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวังอย่างยิ่ง เนื่องจากผิวรอบดวงตาเป็นผิวที่บอบบางมากและเสี่ยงเกิดอาการแพ้หรืออักเสบได้ง่ายกว่าผิวบริเวณอื่น จึงควรเลือกผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่มีความอ่อนโยนและผ่านการทดสอบแล้วว่าปลอดภัยกับผิวรอบดวงตา

  • ไม่เกาหรือขยี้ตาแรง ๆ

การเกาหรือขยี้ตาแรง ๆ จะทำให้ผิวรอบดวงตาช้ำ และอาจทำให้เส้นเลือดฝอยบริเวณนั้นได้รับผลกระทบ จนส่งผลให้ใต้ตาดำหรือเกิดรอยคล้ำใต้ตาได้ หรือในบางกรณีอาจทำให้ผิวหนังรอบดวงตาถลอกหรือเกิดแผลจนเสี่ยงติดเชื้อได้ด้วย

  • ประคบด้วยถุงชา

การนำถุงชาที่ชงแล้วไปแช่ในตู้เย็นประมาณ 2-3 นาที แล้วนำมาประคบที่บริเวณดวงตาประมาณ 5 นาทีเป็นประจำ อาจช่วยลดรอยคล้ำใต้ตาได้ เนื่องจากในชามีคาเฟอีน และแทนนีน (Tannin) ซึ่งเป็นสารที่พบได้ในผักและผลไม้รสฝาดที่อาจช่วยลดอาการบวม อีกทั้งยังช่วยให้เส้นเลือดใหญ่และเส้นเลือดฝอยหดตัว จึงอาจทำให้รอยคล้ำใต้ตาดูจางลงได้

การรับประทานวิตามินซีช่วยในการเสริมสร้างคอลลาเจนและการไหลเวียนโลหิต เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น กระบวนการสร้างคอลลาเจนของร่างกายจะลดลง เมื่อผิวใต้ตาสูญเสียคอลลาเจน และร่างกายไม่สามารถผลิตคอลลาเจนมาทดแทนได้ดีเท่าที่ควร อาจทำให้ใต้ตาดำคล้ำได้ การกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม 

แสงแดดเป็นอีกหนึ่งตัวการกระตุ้นการสร้างเม็ดสีเมลานิน จึงควรสวมแว่นกันแดดเพื่อป้องกันรังสียูวีเข้าไปทำร้ายผิวรอบดวงตา และอาจช่วยป้องกันใต้ตาดำคล้ำได้

  • พักผ่อนให้เพียงพอ

การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ โดยปกติคือ อย่างน้อยวันละ 8-10 ชั่วโมงจะช่วยให้ร่างกายได้ซ่อมแซมและฟื้นฟูตัวเอง รวมถึงอาจช่วยรักษารอยคล้ำใต้ตาได้ด้วย อย่างไรก็ตาม ควรนอนหลับให้สนิท ไม่นอนมากไปหรือน้อยเกินไป จึงจะเป็นผลดีต่อผิวใต้ดวงตาที่สุด

โรคภูมิแพ้เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้เกิดรอยคล้ำใต้ตาได้ การทดสอบภูมิแพ้ที่ทำให้ทราบว่าตนเองเป็นโรคภูมิแพ้หรือไม่ และมีสารชนิดใดเป็นสิ่งกระตุ้นภูมิแพ้ จึงอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอาการแพ้ที่อาจส่งผลให้ใต้ตาดำคล้ำได้ด้วย ปัจจุบันมีวิธีการทางการแพทย์สำหรับทดสอบภูมิแพ้มากมาย เช่น การทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนังด้วยการสะกิด การทดสอบภูมิแพ้โดยการฉีดสารเข้าใต้ผิวหนัง (เฉพาะทดสอบอาการแพ้ยา) การทดสอบภูมิแพ้โดยการเจาะเลือด การกระตุ้นโดยการใช้สารก่อภูมิแพ้ จึงควรปรึกษาคุณหมอ เพื่อหาวิธีทดสอบภูมิแพ้ที่เหมาะสมที่สุด

วิธีปกปิดรอยคล้ำใต้ตา

หากวิธีป้องกันและลดรอยคล้ำใต้ตาที่แนะนำข้างต้นให้ผลไม่เร็วทันใจ การแต่งหน้าก็อาจเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยอำพรางหรือปกปิดรอยคล้ำใต้ตาได้ชั่วคราวหรือในช่วงเวลาจำเป็น โดยวิธีที่อาจช่วยปกปิดรอยคล้ำใต้ตาได้ คือการทาคอนซีลเลอร์ที่มีเฉดสีสว่างกว่าผิวประมาณ 1 เฉดสีที่บริเวณผิวใต้ตาและเกลี่ยให้เรียบเนียน วิธีนี้อาจช่วยให้รอยคล้ำดูจางลงได้ 

อย่างไรก็ตาม การปกปิดรอยคล้ำใต้ตาด้วยคอนซีลเลอร์หรือเครื่องสำอางอาจช่วยให้รอยคล้ำใต้ตาดูจางลงได้แค่ชั่วคราวเท่านั้น การแก้ไขสาเหตุของรอยคล้ำใต้ตาหรือหาวิธีป้องกันด้วยการดูแลตนเอง จึงเป็นวิธีที่ไม่ควรมองข้าม เพราะอาจช่วยลดเลือนและป้องกันใต้ตาดำคล้ำได้ดีและยาวนานกว่า

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Dark circles under eyes. https://www.mayoclinic.org/symptoms/dark-circles-under-eyes/basics/causes/sym-20050624. Accessed November 22, 2022.

5 Solutions for Dark Circles. https://www.webmd.com/beauty/features/dark-circles. Accessed November 22, 2022.

You don’t say? Under eye bags and dark circles. https://www.health.harvard.edu/staying-healthy/you-dont-say-under-eye-bags-and-dark-circles. Accessed November 22, 2022.

Dark circles under the eyes. https://dermnetnz.org/topics/dark-circles-under-the-eyes. Accessed November 22, 2022.

Periorbital Hyperpigmentation: A Comprehensive Review. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4756872/. Accessed November 22, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

22/11/2022

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

ท่าบริหารดวงตา ฟื้นฟูความสดใสให้ดวงตาที่อ่อนล้าแบบง่ายๆ

แค่ "ขยี้ตา" ก็อาจกลายเป็นปัญหาสุขภาพได้นะ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 22/11/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา