backup og meta

มะหาด สรรพคุณ ความเสี่ยงในการใช้ และสูตรบำรุงผิวด้วยมะหาด

มะหาด สรรพคุณ ความเสี่ยงในการใช้ และสูตรบำรุงผิวด้วยมะหาด

หลายคนคงเคยได้ยินสรรพคุณของ มะหาด ที่ช่วยในเรื่องของผิวขาวกระจ่างใส แต่รู้ไหมคะนอกจากจะช่วยเรื่องผิวพรรณแล้วมะหาดยังเป็นอีกหนึ่งสมุนไพรที่ช่วยดูแลด้านสุขภาพอีกด้วย แต่จะช่วยเรื่องอะไรบ้างนั้น วันนี้ Hello คุณหมอมีคำตอบให้คุณค่ะ

มะหาด ต้นตำรับความงามจากสมุนไพรไทย

มะหาดมีสรรพคุณเด่นที่ใคร ๆ ก็รู้จักว่าเจ้าสมุนไพรชนิดนี้ช่วยในเรื่องของผิวพรรณโดยเฉพาะ “ความขาว” เพราะสารสกัดจากแก่นมะหาดมีคุณสมบัติในการยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส (Tyrosinase) ซึ่งทำหน้าที่สร้างเม็ดสีผิวช่วยลดความหมองคล้ำ รอยจุดด่างดำ ส่งผลให้ผิวของเราขาวกระจ่างใสขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ

มะหาด สรรพคุณมากกว่าความงาม 

แม้ว่าคนจะรู้จักมะหาดกันเพราะช่วยในเรื่องของความขาว แต่จริงๆ แล้วสมุนไพรชนิดนี้มีดีต่อสุขภาพมากกว่าที่คุณคิด เรามาดูกันเลยค่ะว่ามะหาดมีสรรพคุณต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง

  • ท้องอืด
  • ขับพยาธิตัวตืดและพยาธิไส้เดือน
  • อาการเบื่ออาหาร
  • หอบหืด
  • ขับเสมหะ
  • ช่วยขับลม
  • แก้อาการน้ำเหลืองเสีย
  • ขับปัสสาวะกะปริดกะปรอย
  • ใช้ละลายน้ำทาแก้ผื่นคัน
  • บรรเทาอาการไข้หวัด

3 สูตร ขัดผิวสวยจากมะหาด

สูตรที่ 1 มะหาดและนมสด

  • เพียงนำแก่นมะหาดมาบดให้เป็นผงละเอียด จากนั้นนำมาผสมกับนมสดแล้วคนให้เข้ากัน
  • จากนั้นนำมาขัดให้ทั่วผิวกายพอกทิ้งไว้ 10-20 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด
  • ทำเป็นประจำ 1-3 ครั้งต่อสัปดาห์ ช่วยให้ผิวนุ่มชุ่มชื่น

สูตรที่ 2 มะหาดและน้ำผึ้ง

  • เพียงนำแก่นมะหาดมาบดให้เป็นผงละเอียด จากนั้นนำมาผสมกับน้ำผึ้งบีบมะนาวผสมเล็กน้อยคนให้เข้ากัน
  • จากนั้นนำมาขัดให้ทั่วผิวกายพอกทิ้งไว้ 10-20 นาที นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด
  • ทำเป็นประจำ 1-3 ครั้งต่อสัปดาห์ ช่วยให้ผิวขาวกระจ่างใสขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ

สูตรที่ 3 มะหาดและกากกาแฟ

  • เพียงนำแก่นมะหาดมาบดให้เป็นผงละเอียด จากนั้นนำมาผสมกับกากกาแฟผสมน้ำเปล่าลงไปเล็กน้อยคนให้เข้ากัน
  • จากนั้นนำมาขัดให้ทั่วผิวกายพอกทิ้งไว้ 10-20 นาที นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด
  • ทำเป็นประจำ 1-3 ครั้งต่อสัปดาห์ ช่วยลดเลือนจุดด่างดำ ปรับสีผิวให้สม่ำเสมอเรียบเนียน

ข้อควรระวัง

  • ไม่ควรใช้มะหาดติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ เพราะจะส่งผลเสียต่อสุขภาพได้
  • ห้ามรับประทานมะหาดกับน้ำร้อนเด็ดขาดเพราะจำทำให้เกิดอาการปวดท้อง หรืออาเจียนได้

[embed-health-tool-heart-rate]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Monkey Fruit Description and uses. https://www.healthbenefitstimes.com/monkey-fruit/ Accessed 09 January, 2020

Nutritional value and medicinal uses of Monkey Jack fruit. https://www.researchgate.net/publication/290438301_Nutritional_value_and_medicinal_uses_of_Monkey_Jack_fruit_Artocarpus_lakoocha. Accessed 09 January, 2020

Monkey Jack fruit (lakucha)- Uses, Remedies, Research. https://easyayurveda.com/2019/08/02/monkey-jack-fruit-lakucha/. Accessed 09 January, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/05/2022

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

น้ำผึ้งผสมมะนาว สมุนไพรพื้นบ้าน ที่ช่วยบรรเทา อาการไอ ได้

น้ำมันงาขี้ม้อน แหล่งรวมโอเมก้า 3 และคุณประโยชน์ยกกำลังสาม


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 31/05/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา