backup og meta

รองเท้ากัด สาเหตุ การรักษาและการป้องกัน

รองเท้ากัด สาเหตุ การรักษาและการป้องกัน

รองเท้ากัด เป็นการอักเสบของผิวหนังที่ทำให้เกิดแผลพุพอง ซึ่งเกิดจากแรงกดและการเสียดสีระหว่างผิวหนังกับรองเท้า ทำให้มีอาการเจ็บปวด หรือแสบบริเวณแผล ซึ่งอาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน จึงควรรู้วิธีรักษาและวิธีป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงบาดแผลติดเชื้อ

[embed-health-tool-bmi]

รองเท้ากัด เกิดจากอะไร

รองเท้ากัด ทำให้เกิดแผลพุพองที่เกิดจากแรงเสียดสีและแรงกด เมื่อผิวหนังสัมผัสกับรองเท้าในระหว่างเดิน แรงเสียดสีนั้นอาจส่งผลให้เซลล์ผิวหนังชั้นนอกแยกชั้น และมีของเหลวสะสมภายใน กลายเป็นตุ่มพอง ซึ่งอาจมีอาการรุนแรงขึ้นหากเกิดการเสียดสีรุนแรงหรือผิวหนังมีความชื้น นอกจากนี้ปัญหารองเท้ากัดจนเป็นแผลพุพองอาจเกิดจากสาเหตุอื่นได้อีก ดังนี้

  • ความร้อน ภูมิอากาศเขตร้อนอาจทำให้เหงื่อออกได้ง่าย ส่งผลทำให้ผิวหนังเกิดความชื้นและเกิดแผลจากแรงเสียดสีได้ง่ายขึ้น
  • เหงื่อออกมากเกินไป ส่งผลทำให้ผิวหนังชื้นและอาจเกิดแผลจากแรงเสียดสีได้ง่ายขึ้น
  • รองเท้าคับ หรือรองเท้าใหม่ที่มีพื้นผิวหนาและแข็ง อาจเพิ่มแรงเสียดสีกับผิวหนัง ส่งผลให้เกิดแผลพุพองได้
  • ไม่ใส่ถุงเท้า หรือถุงเท้าไม่ดูดซับความชื้น ทำให้ไม่สามารถปกป้องผิวจากความชื้นและการเสียดสีภายในรองเท้าได้
  • โรคบางชนิดที่ทำให้ผิวหนังบางกว่าปกติ ส่งผลให้เกิดแผลจากแรงเสียดสีได้ง่าย เช่น โรคดักแด้  กลาก อาการแพ้ และปัญหาผิวหนังบางเพราะสัมผัสกับแสงแดดมากเกินไป
  • การใช้ยาปฏิชีวนะบางชนิดอาจทำให้ผิวหนังบางลง

การรักษาแผลจากรองเท้ากัด

ส่วนใหญ่แผลพุพองที่เกิดจากรองเท้ากัด จะหายเองตามธรรมชาติหากไม่เกิดการเสียดสีซ้ำอีก ทั้งนี้ ไม่ควรเจาะตุ่มพองออกด้วยตัวเอง เนื่องจากตุ่มพองเป็นวิธีป้องกันตามธรรมชาติของร่างกาย ช่วยลดแรงกดทับและช่วยปกป้องเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อราไม่ให้เข้าสู่บาดแผลได้

สำหรับการรักษาเมื่อเกิดตุ่มพองจากรองเท้ากัด มีดังนี้

  • ล้างทำความสะอาดบริเวณรอบ ๆ ตุ่มพองด้วยสบู่และน้ำให้สะอาด จากนั้นซับให้แห้งและปิดแผลด้วยผ้าก๊อซแบบหลวม ๆ
  • ประคบน้ำแข็งบริเวณตุ่มพอง จากนั้นปิดแผลด้วยผ้าก๊อซหรือผ้าพันแผลแบบหลวม ๆ
  • ดูแลให้ผิวหนังบริเวณตุ่มพองแห้งที่สุด
  • หลีกเลี่ยงการใส่ถุงเท้าหรือรองเท้าที่ปิดทับแผลหรือรัดแน่นบริเวณแผล เพื่อลดการกดทับและอับชื้น
  • ยกเท้าโดยพาดไว้บนเก้าอี้หรือหมอนเพื่อลดการไหลเวียนของเลือดที่บริเวณตุ่มพอง เพื่อลดการอักเสบ
  • ใช้ครีมปฏิชีวนะหรือขี้ผึ้งทาบริเวณตุ่มพองและผิวรอบข้าง

หากตุ่มพองอักเสบอย่างรุนแรง หรือเปลี่ยนสีเป็นสีเขียว สีเหลือง หรือสีม่วง อาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อ ควรรีบพบคุณหมอเพื่อหาสาเหตุและทำการรักษาในขั้นต่อไป

การป้องกันรองเท้ากัด

สามารถป้องกันการอักเสบของผิวหนังและการเกิดตุ่มพองได้ ดังนี้

  • สวมรองเท้าให้กระชับพอดี ไม่คับแน่นจนเกินไป และหากซื้อรองเท้ามาใหม่ให้สวมรองเท้าในเวลาสั้น ๆ จนกว่ารองเท้าจะนิ่มและใส่สบายขึ้น
  • ใส่ถุงเท้าทุกครั้งเมื่อสวมรองเท้าหุ้มส้น หรือปิดเท้า เพื่อช่วยดูดซับเหงื่อและลดแรงเสียดสี
  • หากมีเหงื่อออกมากให้โรยแป้งฝุ่นลงในถุงเท้าหรือรองเท้าเพื่อดูดซับความชื้น
  • เสริมฟองน้ำหรือแผ่นกันรองเท้ากัด เพื่อป้องกันการเสียดสี

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Blisters. https://www.nhs.uk/conditions/blisters/. Accessed September 14, 2021

Friction blister. https://dermnetnz.org/topics/friction-blister. Accessed September 14, 2021

Blisters. https://medlineplus.gov/blisters.html. Accessed September 14, 2021

Frictional Behaviour of Running Sock Textiles Against Plantar Skin. https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S1877705815014332. Accessed September 14, 2021

Honey as a complementary Medicine. https://journals.sagepub.com/doi/10.1177/1178633717702869. Accessed September 14, 2021

Aloe vera, health and beauty, skin. https://www.e-ijd.org/article.asp?issn=0019-5154;year=2008;volume=53;issue=4;spage=163;epage=166;aulast=Surjushe. Accessed September 14, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

04/12/2023

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

พื้นฐานการดูแลสุขภาพผิวแห้ง ให้สุขภาพดีได้อย่างไร

ตุ่มน้ำพอง อาการ สาเหตุ การรักษา


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 04/12/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา