backup og meta

สังคัง คืออะไร ควรรักษาและดูแลตัวเองอย่างไร

สังคัง คืออะไร ควรรักษาและดูแลตัวเองอย่างไร

สังคัง เป็การติดเชื้อราในบริเวณที่อับชื้นของร่างกาย จนทำให้เกิดเป็นผื่นแดงลักษณะเหมือนวงแหวนและมีอาการคัน โดยทั่วไปแล้ว มักเกิดในบริเวณขาหนีบหรือต้นขาด้านใน สังคังสามารถรักษาและป้องกันได้ด้วยการใช้ยาต้านเชื้อรา ร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง เช่น หลีกเลี่ยงการใส่เสื้อผ้าที่รัดแน่น ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เพื่อช่วยบรรเทาอาการสังและ และช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดสังคังได้อีกด้วย

[embed-health-tool-bmr]

สังคัง คืออะไร

สังคัง คือ เกิดจากการติดเชื้อราในกลุ่มเดอมาโทไฟท์ (Dermatophytes) ทำให้เกิดผื่นแดงและคันในบริเวณที่อับชื้น เช่น ขาหนีบ ต้นขาด้านใน บั้นท้าย อวัยวะเพศ ซึ่งสังคังเป็นโรคผิวหนังที่อาจติดต่อกันได้ผ่านการสัมผัส หรือใช้ของร่วมกับผู้ติดเชื้อ รวมถึงผู้ที่มีน้ำหนักเกิน มีเหงื่อออกมาก มีกลากหรือเกลื้อน และอาจพบได้ทั่วไปสำหรับนักกีฬา อย่างไรก็ตาม สังคังสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย

ผู้ที่เสี่ยงเป็นสังคัง

  • ผู้ที่สวมใส่เสื้อผ้าคับ ๆ จนทำให้ผิวหนังระคายเคืองเป็นประจำ
  • ผู้ที่เหงื่อออกมาก จนทำให้บริเวณขาหนีบและอวัยวะเพศอับชื้นอยู่ตลอด
  • ผู้ที่อาบน้ำเสร็จแล้ว แต่ยังชอบอยู่ในผ้าเช็ดตัวหรือเสื้อคลุมอาบน้ำ ไม่ยอมเปลี่ยนไปใส่เสื้อผ้าที่แห้งและสะอาด
  • ผู้ที่ใช้ผ้าเช็ดตัวหรือเสื้อผ้าเปียกน้ำหรือเปียกเหงื่อร่วมกับคนอื่น
  • ผู้ที่สัมผัสหรือใกล้ชิดกับคนที่เป็นสังคัง
  • ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน หรือเป็นโรคอ้วน
  • ผู้ที่ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ หรือเป็นโรคเบาหวาน

วิธีรักษาและป้องกันสังคังด้วยตัวเอง

รักษาสังคังด้วยยา

สังคังสามารถรักษาได้โดยการใช้ยาต้านเชื้อราทั้งในรูปแบบครีม แห้ง หรือสเปรย์ ที่หาซื้อได้จากร้านขายยา โดยปกติแล้วจะต้องใช้ยาประมาณ 2-3 สัปดาห์จนกว่าอาการจะดีขึ้น

สวมเสื้อผ้าที่ไม่คับเกินไป

ควรสวมใส่เสื้อผ้า รวมถึงชุดชั้นใน ชุดออกกำลังกาย และเสื้อชั้นในสำหรับเล่นกีฬา ที่มีขนาดพอดีตัว ไม่รัดแน่นเกินไป เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดสังคังได้ สำหรับผู้ชายอาจเลือกใส่กางเกงบ็อกเซอร์แทนกางเกงในก็อาจจะช่วยลดความเสี่ยงได้เช่นกัน

สวมใส่เสื้อผ้าสะอาด

ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่ซักสะอาดและตากจนแห้งสนิท โดยเฉพาะชุดชั้นใน ที่ต้องเปลี่ยนอย่างน้อยวันละชุดหรือมากกว่านั้น ควรเลือกชุดชั้นในที่ทำจากผ้าที่อากาศถ่ายเทสะดวก เช่น ผ้าฝ้าย และควรซักชุดออกกำลังกายทุกครั้งหลังใช้งาน อย่าปล่อยทิ้งไว้เพราะอาจเกิดเชื้อราหรือเชื้อโรคอื่น ๆ ได้

อย่าปล่อยให้อับชื้น

ควรรักษาความสะอาดบริเวณขาหนีบและอวัยวะเพศให้ดี เช็ดให้แห้งอยู่เสมอ อย่าปล่อยให้บริเวณนั้นอับชื้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังอาบน้ำและออกกำลังกาย และเวลาเช็ดตัว ควรเช็ดจากบนไล่ลงล่าง และเช็ดเท้าท้ายสุด เพราะหากติดเชื้อราที่เท้า เชื้อจะได้ไม่แพร่กระจายไปยังบริเวณขาหนีบจนเป็นสังคัง

อย่าแชร์ของใช้ส่วนตัวร่วมกับใคร

ข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัว โดยเฉพาะประเภทที่ต้องสัมผัสกับผิวหนังของเรา เช่น เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า แปรงหรือหวี เครื่องสำอาง เป็นสิ่งที่ไม่ควรใช้ร่วมกับใคร จะได้ไม่เสี่ยงติดเชื้อโรคต่าง ๆ รวมถึงเชื้อราที่ทำให้เป็นสังคังด้วย

อย่างไรก็ตาม หากพบว่าอาการสังคังหรือการติดเชื้อราดังกล่าวไม่ดีขึ้น หรือสังเกตตนเองได้ว่าอาการมีแนวโน้มแย่ลง โปรดเข้ารับการรักษาจากคุณหมอผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพื่อการรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสมต่อไป

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Jock itch. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/jock-itch/symptoms-causes/syc-20353807. Accessed August 11, 2020

Aaron DM. (2016). Jock itch (tinea cruris). merckmanuals.com/home/skin-disorders/fungal-skin-infections/jock-itch. Accessed August 11, 2020

Ely J, et. al. (2014). Diagnosis and management of tinea infections. aafp.org/afp/2014/1115/p702.html. Accessed August 11, 2020

Jock itch. (2018). kidshealth.org/en/teens/jock-itch.html. Accessed August 11, 2020

Mayo Clinic Staff. (2018). Jock itch. mayoclinic.org/diseases-conditions/jock-itch/home/ovc-20229519. Accessed August 11, 2020

Tinea infections (ringworm, athlete’s foot, jock itch). (2015). healthychildren.org/English/health-issues/conditions/skin/Pages/Tinea-Infections-Ringworm-Athletes-Foot-Jock-Itch.aspx. Accessed August 11, 2020

Jock Itch. https://www.webmd.com/men/causes-and-prevent-jock-itch#1. Accessed August 11, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

09/11/2022

เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคผิวหนังในหน้าร้อน ที่ควรระวัง และวิธีป้องกัน

โรคน้ำกัดเท้า หรือโรคฮ่องกงฟุต อาการ ปัจจัยเสี่ยง วิธีรักษา


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง · แก้ไขล่าสุด 09/11/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา