จุดสีขาวบนใบหน้า บางครั้งอาจเกิดจากสิวอักเสบ หลุมสิว แต่นอกจากสาเหตุเหล่านี้ยังอาจเกิดจากปัญหาผิวอื่น ๆ เช่น กลากน้ำนม เกลื้อน โรคด่าวขาว โรคกระขาว ซึ่งอาจทำให้ใบหน้าไม่เรียบเนียน มีรอยแผล และส่งผลต่อความมั่นใจ ดังนั้น การรู้ถึงสาเหตุของการเกิดจุดสีขาวบนใบหน้า อาจช่วยให้รักษาปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างตรงจุดมากขึ้น
[embed-health-tool-bmr]
จุดสีขาวบนใบหน้า ที่ควรรักษา
ผิวหน้าของแต่ละคนอาจประสบปัญหาที่แตกต่างกันออกไปตามสภาพผิว ซึ่งจุดสีขาวบนใบหน้าที่เกิดขึ้นนั้นอาจไม่ได้มีสาเหตุมาจากสิวเพียงอย่างเดียว แต่อาจเกิดจากปัญหาผิวอื่น ๆ ดังนี้
1. กลากน้ำนม
กลากน้ำนม (Pityriasis Alba) เกิดจากความผิดปกติทางผิวหนัง โดยส้วนใหญ่มักส่งผลกระทบต่อเด็กอายุระหว่าง 6-12 ปี แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย กลากน้ำนมอาจส่งผลให้บริเวณผิวหนังมีสีชมพูอ่อน ๆ หรือแดง เป็นรูปทรงวงกลมหรือวงรี แห้ง มีขนาดตั้งแต่ 0.6-2.5 เซนติเมตร ส่วนใหญ่มักขึ้นบริเวณใบหน้า ต้นแขน คอ หน้าอก หลัง
วิธีรักษากลากน้ำนม
อาการที่เกิดขึ้นอาจจางหายไปเองภายในไม่กี่เดือน แต่ในบางคนอาจทิ้งร่องรอยไว้เล็กน้อยนานหลายปี การรักษาอาจขึ้นอยู่กับอาการที่เกิดขึ้น โดยส่วนใหญ้คุณหมออาจสั่งจ่ายยาสเตรียรอยด์ที่ประกอบด้วยสารไฮโดรคอร์ติโซน (Hydrocortisone) หรืออาจแนะนำมให้เลือกใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่ช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นและลดความแสบร้อนโดยเฉพาะบริเวณใบหน้า
2. สิวหิน หรือมิเลีย
สิวหิน หรือสิวข้าวสาร คือ ก้อนซีสต์มิเลีย (Milia) ขนาดเล็กที่อยู่ภายใต้ผิวหนัง ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการใช้ครีมที่มีประสิทธิภาพรุนแรง และการเผชิญแสงแดดโดยไม่มีอุปกรณ์ป้องกัน นอกจากนี้ก้อนซีสต์มิเลียยังอาจเกิดจากการสะสมของเคราติน (Keratin) หรือโปรตีนของชั้นผิวหนังที่ถูกสะสมไว้ จึงทำให้ปรากฏออกมาเป็นลักษณะตุ่มนูนสีขาวอยู่บนผิวหน้า โดยสิวหินจะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 มิลลิเมตร พบได้มากที่ในเด็กทารกแรกเกิด แต่ขณะเดียวกันก็อาจเกิดขึ้นได้กับผู้ใหญ่ในบางคนโดยมักปรากฎอยู่ตามส่วนต่าง ๆ บนใบหน้า เช่น เปลือกตา แก้ม จมูก ในบางรายก็อาจเกิดขึ้นบริเวณลำตัว และอวัยวะเพศได้เช่นเดียวกัน
วิธีรักษาสิวหิน
โดยปกติแล้วสิวหินมักไม่ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวดเหมือนการเกิดสิว แต่อาจมีการระคายเคืองเล็กน้อยหากใบหน้าหรือบริเวณที่มีสิวหินสัมผัสกับวัตถุที่มีพื้นผิวหยาบ เช่น ผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน เสื้อผ้า นอกจากนี้ สิวหินอาจจางหายไปได้เองภายในระยะเวลาไม่กี่สัปดาห์ แต่หากกรณีที่เกินขึ้นนานกว่า 2-3 เดือน อาจเข้าพบคุณหมอ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกวิธี โดยวิธีการรักษาอาจมีดังนี้
- การใช้เข็มที่เป็นอุปกรณ์จากทางการแพทย์เท่านั้น เจาะไปยังสิวหินเพื่อนำเคราตินที่ฝังตัวอยู่ออก
- ทายากลุ่มผลิตภัณฑ์เรตินอยด์ (Retinoid) เพื่อผลัดเซลล์ผิว
- ไมโครเดอร์มาเบรชั่น (Microdermabrasion) เป็นการกรอผิว หรือขัดผิวหนังชั้นบนสุดออก เพื่อให้ผิวหนังใหม่เผยออกมา
- การลอกด้วยสารเคมีบางชนิด เพื่อผลัดเซลล์ผิว และกำจัดก้อนซีสต์มิเลีย
- การบำบัดด้วยความเย็น หรือไนโตรเจนเหลว
- เลเซอร์เพื่อเอาก้อนสิวหินออก
3. โรคเกลื้อน
เกลื้อน (Pityriasis Versicolor) เกิดจากการติดเชื้อรามาลาสซีเซีย (Malassezia) ที่เจริญเติบโตมากเกินไป จนส่งผลต่อการสร้างเม็ดสีของผิวหนัง ซึ่งสังเกตได้จากรอยด่างบนผิวหนัง รวมถึงอาจมีอาการคัน ผิวตกสะเก็ดร่วมด้วย หากสังเกตเห็นว่ารอยด่างมีขยายใหญ่กว่าเดิม หรืออาการไม่ดีขึ้นหลังจากใช้ยารักษา ควรเข้ารับการรักษาจากคุณหมอทันที
วิธีรักษาเกลื้อน
เมื่อสังเกตเห็นว่าใบหน้าหรือผิวหนังเริ่มมีร่องรอยสีขาวคล้ายเกลื้อน อาจซื้อยามาทา และเข้าขอรับคำปรึกษาจากคุณหมอ ซึ่งคุณหมออาจสั่งจ่ายยาทาต้านเชื้อรา พร้อมกับการใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหนังป้องกันเชื้อราเพื่อชะลอการเจริญเติบโตของยีสต์ร่วมด้วย แม้จะรักษาโรคเกลื้อนหายดีแล้ว แต่ก็อาจเกิดโรคซ้ำได้หากอยู่ในสภาพอากาศร้อนชื้น
4. โรคด่างขาว
โรคด่างขาว (Vitiligo) นี้มักปรากฏขึ้นเป็นหย่อม ๆ ในบริเวณผิวหนังที่มีการสูญเสียเม็ดสี (Melanin) ไป โดยส่วนใหญ่มักมีลักษณะเป็นวงกลมสีขาวในวงกว้างที่พบได้มากที่สุดบริเวณใบหน้า แขน มือ ขา ส้นเท้า และอวัยวะเพศ ที่สำคัญโรคด่างขาวอาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่แรกเกิดทางการสืบทอดพันธุกรรมของคนในครอบครัวที่มีประวัติโรคมาแต่เดิม
วิธีรักษาโรคด่างขาว
เมื่อสังเกตเห็นว่าใบหน้าหรือผิวหนังเริ่มมีร่องรอยสีขาวคล้ายเกลื้อน อาจซื้อยาฆ่าเชื้อรามาทา และเข้าขอรับคำปรึกษาจากคุณหมอ ซึ่งคุณหมออาจสั่งจ่ายยาทาต้านเชื้อรา พร้อมกับการใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหนังป้องกันเชื้อราเพื่อชะลอการเจริญเติบโตของยีสต์ร่วมด้วย แม้จะรักษาโรคเกลื้อนหายดีแล้ว แต่ก็อาจเกิดโรคซ้ำได้หากอยู่ในสภาพอากาศร้อนชื้น
5. โรคกระขาว
โรคกระขาว (Idiopathic Guttate Hypomelanosis) บนผิวหน้าและแขนด้านนอก ที่มีลักษณะเป็นจุดเล็ก ๆ สีขาวโดยมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2-5 มิลลิเมตร อาจมีสาเหตุมาจากการได้รับรังสียูวีจากแสงแดดมากเกินไป อีกทั้งร่องรอยจุดสีขาวยังอาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดฝ้าแดดได้เริ่มมีอายุมากขึ้น
วิธีรักษาโรคกระขาว
สภาพผิวของผู้คนที่ประสบปัญหาโรคกระขาวแต่ละคนนั้นอาจได้รับการรักษาที่แตกต่างกัน แต่โดยส่วนใหญ่แล้วการรักษาโรคกระขาวอาจทำได้โดยการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยเรตินอยด์ ซึ่งคุณสมบัติช่วยลดรอยจุดด่างดำ และกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์ผิว โดยควรทาเป็นประจำหรือตามคำแนะนำของคุณหมอ
นอกจากการยารักษาแล้ว อาจจำเป็นที่ต้องหาครีมกันแดดที่มาค่า SPF 30 ขึ้นไปมาทาร่วมด้วย เพื่อป้องกันผิวจากรังสียูวี ที่อาจก่อนให้เกิดโรคกระขาว หรือฝ้าแดดในอนาคต