หูดกับตาปลา เป็นความผิดปกติของผิวหนังที่มีความตุ่มคล้ายคลึงกัน จนทำให้หลายคนอาจสับสนว่าเป็นโรคชนิดเดียวกัน อย่างไรก็ตาม หูดกับตาปลาอาจมีสาเหตุ อาการ และบริเวณที่พบแตกต่างกัน การศึกษาเกี่ยวกับความแตกต่างของหูดกับตาปลาอาจช่วยให้สามารถทำการรักษาและป้องกันโรคผิวหนังเหล่านี้ได้
[embed-health-tool-bmi]
หูดคืออะไร
หูด เป็นผิวหนังเล็กๆ ที่เกิดความผิดปกติแล้วงอกออกมาที่บริเวณผิวหนัง หูดเป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกๆ ส่วนของร่างกาย แต่ว่าส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดขึ้นที่บริเวณเท้า มือ และนิ้ว ซึ่งหูดนั้นเกิดขึ้นจากไวรัส HPV (Human Papillomavirus) ซึ่งเป็นไวรัสที่สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ โดยผ่านทางการสัมผัสทั้งทางตรงและทางอ้อม หลังจากได้รับเชื้อแล้วมักจะไม่เกิดอาการโดยทันที ผู้ป่วยบางรายใช้เวลานานถึง 6 เดือนหลังจากได้รับเชื้อจึงจะมีอาการ แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่สัมผัสเชื้อแล้วจะมีอาการ สำหรับบางคนที่มีระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงมาก ๆ เมื่อได้รับเชื้อแล้วอาจจะไม่มีอาการอะไรเลยก็ได้
ตาปลาคืออะไร
ตาปลา เป็นชั้นผิวหนังหนาๆ ที่เกิดจาก การเสียดสีและแรงกดทับที่เกิดบ่อยๆ ดังนั้นจึงทำให้ส่วนใหญ่แล้วตาปลาจะเกิดขึ้นที่บริเวณเท้า เพราะเกิดแรงเสียดสีจากการใส่รองเท้า การเดิน การวิ่ง และแรงกดทับที่เกิดจากการนั่ง จึงทำให่ส่วนใหญ่แล้วตาปลามักจะเกิดขึ้นที่บริเวณเท้า ซึ่งรองเท้านั้นมีส่วนสำคัญเป็นอย่างมากในการเกิดตาปลา หากใส่รองเท้าแน่นไปก็จะเกิดแรงกดทับ หากใส่รองเท้าหลวมไปก็จะเกิดแรงเสียดสีได้ ดังนั้นการเลือกรองเท้า ควรเลือกให้เหมาะสมกับรูปเท้าและเลือกขนาดที่พอดีเท้า
หูดกับตาปลา เหมือนและต่างกันอย่างไร
ความเหมือน
- หูดและตาปลานั้นมีความเหมือนกันตรงที่
- มีขนาดเล็ก ผิวหนังมีความแข็งและด้าน
- ส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่บริเวณเท้า
- มีอาการเจ็บมีโดนหรือเกิดการสัมผัส
ความแตกต่าง
- จุดที่เกิดบนร่างกาย หูดสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกๆ ส่วนของร่างกาย ส่วนตาปลาสามารถเกิดขึ้นได้เฉพาะบริเวณเท้าเท่านั้น
- ลักษณะ หูดมีลักษณะเป็นหลุมลงไปที่บริเวณผิวหนังและจะมีเส้นสีดำลึกลงไปที่ชั้นใต้ผิวหนัง ส่วนตาปลาจะมีลักษณะนูนขึ้นมาจากชั้นผิวหนัง เป็นขุยๆ และมีความแห้งกร้าน
- สาเหตุการเกิด หูดเกิดจากไวรัส ตาปลาเกิดจากแรงเสียดสีและการกดทับ
วิธีป้องกันการเกิดหูดกับตาปลา
หูดเป็นโรคที่สามารถติดต่อกันได้ ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับเชื้อไวรัส หรือหลีกเลี่ยงการสัมผัสหูดจากคนอื่นๆ นอกจากการสัมผัสโดยตรงแล้ว ควรหลีกเลี่ยงการใช้ของบางอย่างร่วมกัน เช่น กรรไกรตัดเล็บ ตะไบเล็บ หากมีหูดควรหลีกเลี่ยงการแกะ กัดบริเวณที่เป็นหูดเพราะจะยิ่งทำให้เชื้อแพร่กระจายไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย
ส่วนวิธีการป้องกันตาปลานั้น สามารถทำได้เพียงแค่เลือกรองเท้าให้เหมาะสมกับขนาดและรูปเท้า วิธีการเช็ก คือ เมื่อใส่รองเท้าแล้วยังสามารถขยับหัวแม่เท้าได้แสดงว่ารองเท้านั้นมีขนาดที่เหมาะสมกับเท้า เพียงการเลือกรองเท้าให้เหมาะสม เท่านี้ก็ช่วยลดการเกิดแรงเสียดสี ซึ่งเป็นสาเหตุของตาปลาได้แล้ว