backup og meta

สีปัสสาวะ บอกโรค มาดูกันสิว่าปัสสาวะสีไหน บ่งบอกโรคอะไรบ้าง

สีปัสสาวะ บอกโรค มาดูกันสิว่าปัสสาวะสีไหน บ่งบอกโรคอะไรบ้าง

ปัสสาวะของคนเรามีเม็ดสีที่เรียกว่า “ยูโรโครม (urochrome)” ซึ่งมีสารสีเหลืองเป็นส่วนประกอบ ทำให้ปัสสาวะปกติมีสีเหลืองอ่อนไปจนถึงสีเหลือง ตามความเข้มข้นของยูโรโครมนั่นเอง แต่บางครั้ง สีปัสสาวะ ของเราก็อาจเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลักๆ เช่น  อาหาร ยา ปริมาณน้ำที่ดื่มเข้าไป

หลายคนอาจชะล่าใจและมองว่าปัสสาวะเป็นแค่ของเสียที่ร่างกายขับถ่ายออกมา แต่แท้จริงแล้ว ปัสสาวะก็เป็นสิ่งสำคัญที่เราไม่ควรละเลย เพราะสีของปัสสาวะก็สามารถบอกถึงปัญหาสุขภาพ หรือโรคภัยไข้เจ็บได้เช่นกัน

สีปัสสาวะ… บอกโรคได้

  • ปัสสาวะสีเหลืองเข้ม หรือสีส้ม

อาจเกิดจากคุณดื่มน้ำน้อยเกินไป ร่างกายจึงได้รับน้ำไม่เพียงพอกับที่ต้องการ หรือร่างกายสูญเสียน้ำมากกว่าปกติ จนเกิดเป็นภาวะขาดน้ำ หรือเป็นเพราะคุณกินอาหารเสริมวิตามินบี2 มากเกินขนาด แต่หากมีอุจจาระสีอ่อนหรือสีซีดร่วมด้วย อาจบ่งบอกว่าท่อน้ำดีหรือตับของคุณกำลังมีปัญหา ทำให้น้ำดีรั่วเข้าสู่กระแสเลือด หรือคุณอาจกำลังมีภาวะดีซ่านก็เป็นได้

  • ปัสสาวะสีแดงหรือชมพู

ปัสสาวะที่มีเฉดสีแดง ตั้งแต่สีชมพูไปจนถึงสีแดงเข้ม อาจเกิดจากผักผลไม้ที่คุณกินเข้าไป เช่น ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ แก้วมังกร บีทรูท แต่หากปัสสาวะของคุณมีสีแดงหรือชมพู ทั้งที่ไม่ได้กินผลไม้จำพวกนี้ นั่นอาจหมายถึงคุณมีปัญหาสุขภาพที่ทำให้มีเลือดปนออกมากับปัสสาวะ หรือที่เรียกว่า ภาวะปัสสาวะปนเลือด (hematuria) อาจเกิดจากต่อมลูกหมากโต นิ่วในไต เนื้องอก ในกระเพาะปัสสาวะ เนื้องอกในไต ถือเป็นภาวะอันตรายที่ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้

  • ปัสสาวะสีฟ้าหรือเขียว

โดยปกติแล้ว ปัสสาวะสีฟ้า หรือสีเขียว เป็นกรณีที่พบได้ยาก หากคุณมีปัสสาวะสีน้ำเงินหรือฟ้า อาจเป็นผลมาจากสีผสมอาหารในยาที่กินเข้าไป เช่น ยาแก้แพ้ อย่าง โปรเมทาซีน (Promethazine) หรือสีที่ใช้ในการในการทดสอบทางการแพทย์ซึ่งขับออกมาพร้อมปัสสาวะ นอกจากนี้ การติดเชื้อแบคทีเรียชนิด pseudomonas aeruginosa ที่พบได้ในสิ่งแวดล้อมทั่วไป เช่น น้ำ ขยะ พืช ก็สามารถทำให้ปัสสาวะของคุณมีสีฟ้า น้ำเงิน เขียว หรือแม้แต่สีน้ำเงินม่วงได้เช่นกัน

  • ปัสสาวะสีน้ำตาลเข้ม หรือสีเหมือนน้ำอัดลมรสโคล่า

ส่วนใหญ่เกิดจากภาวะขาดน้ำ และเป็นผลข้างเคียงจากการกินยาบางประเภท เช่น เมโทรนิดาโซล (Metronidazole) คลอโรควิน (chloroquine) แต่ก็อาจเกิดจากโรคตับที่ทำให้น้ำดีรั่วเข้าสู่กระแสเลือด หรือเกิดจากโรคที่เรียกว่า โรคโพรพีเรีย  (porphyria) ซึ่งทำให้สารเคมีตามธรรมชาติก่อตัวในกระแสเลือดจนปัสสาวะออกมามีสีน้ำตาลหรือสีสนิม

  • ปัสสาวะขุ่นหรือมีฟอง

ปัสสาวะขุ่นเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ภาวะขาดน้ำ โรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ (urinary tract infection) โรคเกี่ยวกับไต เป็นต้น การที่ปัสสาวะมีฟอง เรียกว่า ปัสสาวะมีลม หรือปัสสาวะเป็นลม (pneumaturia) ซึ่งอาจเกิดจากโรคร้ายแรง เช่น โรคโคร์หน (Crohn’s disease) โรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ จึงควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที

  • ปัสสาวะใส หรือไม่มีสี

ปัสสาวะใส ไม่มีตะกอน หรือฟอง อาจเป็นเพราะคุณดื่มน้ำมากเกินปริมาณที่ร่างกายควรได้รับต่อวัน จึงควรดื่มน้ำให้น้อยลง หรืออาจเกิดจากปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงกว่านั้น เช่น  ไตมีปัญหา โรคเบาหวาน โรคเบาจืด รวมไปถึงเป็นผลจากการกินยาขับปัสสาวะ นอกจากนี้ หากเป็นเพศหญิง ปัสสาวะใสอาจเป็นสัญญาณบอกว่าคุณกำลังตั้งครรภ์อยู่ก็เป็นได้

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Urine color. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/urine-color/symptoms-causes/syc-20367333. Accessed April 2, 2019

Is Blue Urine Normal? Urine Colors Explained. https://www.healthline.com/health/urine-color-chart#summary. Accessed April 2, 2019

Red, brown, green: Urine colors and what they might mean. https://www.health.harvard.edu/newsletter_article/red-brown-green-urine-colors-and-what-they-might-mean. Accessed April 2, 2019

เวอร์ชันปัจจุบัน

02/02/2021

เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Sukollaban Khamfan


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในผู้ชาย โรคที่หนุ่มๆ ก็ควรต้องระวังไม่แพ้สาวๆ

อาการที่บอกได้ว่าคุณกำลังมี โรคของระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง · แก้ไขล่าสุด 02/02/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา