backup og meta

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอาการท้องผูก ที่คุณควรรู้ไว้

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอาการท้องผูก ที่คุณควรรู้ไว้

อาการท้องผูกเป็นภาวะที่มีการขับถ่ายน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ทุกคนต่างเคยมีอาการท้องผูกกันบ้าง หรือบางคนอาจจะท้องผูกจนเป็นปกติ แต่ยังมี ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอาการท้องผูก บางอย่าง ที่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยทราบหรือเข้าใจผิด  ดังนั้น Hello คุณหมอ จึงมีบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้มาฝากกัน เพื่อช่วยไขข้อข้องใจ ให้คำแนะนำแก่คนทั่วไป และแก้ปัญหาเกี่ยวกับอาการท้องผูกเบื้องต้นได้ดียิ่งขึ้น

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอาการท้องผูก

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอาการท้องผูก ที่คุณอาจจะยังมีความเข้าใจผิดกันอยู่บ้าง โดยข้อเท็จจริงต่างๆ มีดังนี้

  • เราไม่จำเป็นต้องขับถ่ายทุกวัน แต่ควรต้องขับถ่ายไม่ให้น้อยกว่า 3 ครั้ง/สัปดาห์ ไม่อย่างนั้นจะถือเป็นอาการท้องผูก
  • มีคนจำนวนมากที่เชื่อว่า หากอุจจาระตกค้างอยู่ในร่างกายเป็นเวลานานเกินไป จะทำให้เกิดสารพิษต่างๆ สิ่งนี้เป็นเพียงสิ่งที่เล่าต่อกันมา ยังไม่มีการศึกษาหรือการทดลอง ที่สนับสนุนการกล่าวอ้างนี้ ดังนั้นการล้างลำไส้ การใช้ยาถ่ายหรือยาระบาย ไม่อาจป้องกันโรคมะเร็ง และโรคอื่นๆที่เกิดจากอาการท้องผูกได้
  • ภาวะทางอารมณ์ สามารถทำให้เกิดอาการท้องผูกได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อยู่ในภาวะซึมเศร้า หรือมีความเครียดสูง

ปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการท้องผูก

สำหรับการเกิดอาการท้องผูก ยังไม่สามารถระบุสาเหตุได้อย่างแน่ชัด แต่ก็มีหลายปัจจัยด้วยกัน ที่ทำให้เกิดอาการท้องผูก ซึ่งปัจจัยต่างๆ มีดังนี้

  • ทานไฟเบอร์ในปริมาณที่ยังไม่เพียงพอ
  • มีการเปลี่ยนกิจวัตรประจำวัน การใช้ชีวิต หรือเปลี่ยนพฤติกรรมทานอาหารเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ ลดปริมาณอาหารที่มีแป้งสูง และเพิ่มอาหารที่มีกากใย เช่น ผักและผลไม้ เพื่อช่วยให้การขับถ่ายให้คล่องมากขึ้น
  • ไม่มีการกระตุ้นให้รู้สึกอยากถ่ายอุจจาระ หรือภาวะเร่งรีบ กังวลใจ
  • ผลข้างเคียงของยาบางชนิด เช่น ยาแก้ปวด ยาต้านอาการซึมเศร้า และยาที่ใช้รักษาความดันโลหิตสูง
  • การดื่มน้ำในปริมาณที่ไม่เพียงพอ เพราะน้ำเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของร่างกาย ในการช่วยขับถ่ายของเสียให้สะดวกยิ่งขึ้น

ท้องผูกขนาดไหน ถึงควรไปพบแพทย์

ผู้ที่กังวลว่า อาการท้องผูกนานขนาดไหน ถึงควรจะไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษา ควรลองสังเกตอาการเหล่านี้ของตัวเองดู

  • อาการรุนแรงและนานเกิน 3 สัปดาห์ จนรู้สึกอึดอัด อาหารไม่ย่อย และขับถ่ายไม่ได้เลย
  • ลองสังเกตอาการที่เปลี่ยนแปลงล่าสุด และที่สำคัญพฤติกรรมของลำไส้ เช่น มีอาการท้องผูกสลับกับท้องเสีย
  • มีอาการปวดรุนแรงในทวารหนัก เมื่อมีการเคลื่อนตัวของลำไส้
  • มีอาการอื่นๆ นอกเหนือจากอาการท้องผูกเข้ามาร่วมด้วย เช่น ความเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ไม่สามารถอดทนต่อสภาพอากาศที่หนาวเย็นได้

ภาวะที่เกิดขึ้นนี้อาจมีสาเหตุมาจากการทำงานของต่อมไทรอยด์ ซึ่งต่อมไทยรอยด์อาจมีการทำงานต่ำ นอกจากอาการที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว หากมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้นเมื่อมีอาการท้องผูก แนะนำว่าควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน เพราะร่างกายอาจจะกำลังส่งสัญญาเตือนถึงโรคร้ายแรงบางอย่าง เช่น โรคมะเร็งลำไส้

  • มีเลือดออกทางทวารหนัก
  • ปวดก้นและเป็นริดสีดวงทวาร
  • มีอาการปวดอย่างรุนแรงในพื้นที่บริเวณทวารหนัก ในระหว่างการถ่ายอุจาระ
  • อาเจียนซ้ำๆ เมื่อมีอาการท้องผูกและปวดท้อง
  • มีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง และมีไข้ขึ้นด้วย

ดังนั้นการดื่มน้ำปริมาณมากๆ ช่วยบรรเทาอาการท้องผูกได้ เพราะน้ำจะช่วยในการช่วยกระตุ้นการขับถ่ายของเสีย อย่างไรก็ตาม หากมีอาการท้องผูกเรื้อรัง ควรไปพบหมอเพื่อรับการรักษา และห้ามรับประทานยาถ่าย เพื่อรักษาอาการท้องผูกด้วยตัวเอง เนื่องจากการรับประทานยาถ่ายมากเกินไป อาจทำให้อาการแย่ลงได้

สำหรับผู้ที่มีอาการท้องผูกนานๆ ควรไปปรึกษาแพทย์ เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างถูกต้อง และยังเป็นการป้องกันโรคอื่นๆ เช่น ริดสีดวงทวารหนัก ที่อาจจะส่งผลต่อสุขภาพระยะยาวตามมาอีกได้

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

19 Constipation Myths and Facts. http://www.webmd.com/digestive-disorders/ss/slideshow-constipation-facts-10 Assessed September 19, 2019

Constipation. https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/stomach-liver-and-gastrointestinal-tract/constipation. Assessed September 19, 2019

Constipation (Adults). https://www.emedicinehealth.com/constipation_in_adults/article_em.htm#constipation_in_adults_quick_overview. Assessed September 19, 2019

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Sukollaban Khamfan


บทความที่เกี่ยวข้อง

ท้องผูกหนักจนท้องป่องไม่หายซะที ใช้ ยาระบาย ช่วยจะดีมั้ยนะ

ลูกท้องผูก อาการ สาเหตุ วิธีบรรเทาอาการ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา