backup og meta

ตับอักเสบ เอ (Hepatitis A)

ตับอักเสบ เอ (Hepatitis A)

ตับอักเสบ เอ (Hepatitis A) เป็นอาการติดเชื้อทางตับที่มีโอกาสติดต่อได้สูง ก่อให้เกิดการอักเสบและส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานของตับ

คำจำกัดความ

ตับอักเสบ เอ คืออะไร

ไวรัสตับอักเสบ เอ (Hepatitis A) เป็นอาการติดเชื้อทางตับ ที่มีสาเหตุมาจากไวรัสตับอักเสบ เอ เป็นไวรัสที่มีโอกาสติดต่อสูง และเป็นหนึ่งในไวรัสตับอักเสบประเภทหนึ่งในไวรัสหลายประเภท ที่ก่อให้เกิดการอักเสบและส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานของตับ หลายคนหายจากโรคนี้ได้ใน 2 ถึง 6 เดือน โดยไม่มีปัญหาสุขภาพรุนแรงใดๆ แต่ในบางกรณีตับอักเสบ เอ สามารถนำไปสู่อาการแทรกซ้อนของโรคหัวใจล้มเหลวได้

ตับอักเสบ เอพบได้บ่อยแค่ไหน

ผู้ป่วยตับอักเสบ เอ มักจะเป็นผู้ที่ใช้ชีวิตหรือมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อ หรือเดินทางไปยังประเทศที่มีการแพร่ระบาดของไวรัสตับอักเสบ เอ เพราะเป็นโรคที่ติดต่อได้ง่าย ผ่านทางการกินดื่มอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ คุณสามารถลดความเสี่ยงของการเป็นโรคนี้ได้ โดยลดปัจจัยเสี่ยงของคุณ โปรดปรึกษากับหมอของคุณ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

อาการ

อาการของตับอักเสบ เอ

อย่างแรก คุณต้องเข้าใจว่าไม่ใช้ทุกคนที่จะมีอาการนี้ ปกติแล้ว อาการมักจะเกิดขึ้นในช่วงเดือนแรกหลังการติดเชื้อ ได้แก่

นอกจากนี้ ยังมีอาการอื่นๆ ที่คล้ายไข้หวัด ได้แก่

อาจมีอาการบางประเภทที่ไม่ได้ปรากฏอยู่ข้างบน ถ้าคุณมีความกังวลเกี่ยวกับอาการ โปรดปรึกษาหมอของคุณ

ควรไปพบหมอเมื่อใด

นัดหมายกับหมอของคุณ หากคุณมีสัญญาณหรืออาการของตับอักเสบ เอ เกิดขึ้น

หากคุณสัมผัสกับตับอักเสบ เอ การได้รับวัคซีนตับอักเสบ เอ หรือการบำบัดระบบภูมิคุ้มกันอิมมูโนโกลบูลิน (immunoglobulin therapy) ภายในสองสัปดาห์ของการสัมผัสเชื้อ อาจป้องกันคุณจากการติดเชื้อได้ สอบถามหมอเกี่ยวกับการรับวัคซีนตับอักเสบ เอ ถ้าหาก

  • คุณเพิ่งเดินทางไปต่างประเทศเมื่อไม่นานมานี้ โดยเฉพาะไปยังประเทศที่มีสุขอนามัยย่ำแย่ เพราะไวรัสตับอักเสบ เอ เป็นโรคที่มักแพร่ระบาดในประเทศที่ยังมีการดูแลสุขอนามัยไม่ดีพอ
  • คุณไปรับประทานอาหารที่ร้านอาหารซึ่งรายงานถึงการแพร่ของโรคตับอักเสบ เอ เพราะเชื้อโรคชนิดนี้ติดต่อกันได้ทางอาหาร
  • ผู้ที่มีความใกล้ชิดกับคุณ อย่างเช่น ผู้ที่อาศัยร่วมกับคุณหรือหมอผู้ให้การดูแลคุณ ที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็น ตับอักเสบ เอ
  • คุณเพิ่งมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็นโรคตับอักเสบ เอ เมื่อไม่นานมานี้

หากคุณมีสัญญาณหรืออาการอะไรก็ตามที่เหมือนอาการตามด้านบน หรือ หากคุณมีข้อสงสัย โปรดปรึกษากับหมอของคุณ ร่างกายของทุกคนแสดงออกแตกต่างกันไป มันจึงดีที่สุดเสมอในการปรึกษากับหมอของคุณ ว่าอะไรคือสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของตับอักเสบ เอ

ตับอักเสบ เอมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ เอ ไวรัสตับอักเสบ เอ สามารถแพร่กระจายได้หลายทาง เช่น

  • รับประทานอาหารที่ทำโดยผู้ติดเชื้อไวรัส
  • ดื่มน้ำที่ติดเชื้อ
  • การรับประทานอาหารที่ติดเชื้อแบบสุกๆ ดิบๆ
  • ใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ แม้ว่าผู้ติดเชื้อจะไม่มีสัญญาณหรือแสดงอาการ
  • มีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ติดเชื้อไวรัส

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงสำหรับตับอักเสบ เอ

มีปัจจัยเสี่ยงมากมายสำหรับตับอักเสบ เอ อย่างเช่น

  • เดินทางหรือทำงานในพื้นที่ที่มีอัตราเสี่ยงสูงของตับอักเสบ เอ
  • เข้าไปหรือทำงานอยู่ในศูนย์ดูแลเด็กเล็ก
  • เป็นเพศชายที่มีเพศสัมพันธ์กับเพศชายอีกคน
  • เป็นผู้ติดเชื้อ HIV
  • มีความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด เช่น โรคฮีโมฟีเลีย (hemophilia)
  • ใช้สารเสพติดที่ผิดกฏหมาย
  • ใช้ชีวิตร่วมกับผู้ที่เป็นตับอักเสบ เอ
  • มีการสัมผัสทางทวารหนักหรือช่องปากกับผู้ที่เป็นตับอักเสบ เอ

การวินิจฉัยและรักษาโรค

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ใดๆ ทุกครั้งควรปรึกษาหมอของคุณเพื่อรับทราบข้อมูลเพื่อเติม

การวินิจฉัยตับอักเสบ เอ

การตรวจเลือดเป็นวิธีที่นำมาใช้เพื่อหาตับอักเสบ เอ ในร่างกาย ตัวอย่างเลือดจากหลอดเลือดที่แขนของคุณ จะถูกส่งไปที่แล็บเพื่อตรวจหาโรค

การรักษาตับอักเสบ เอ

ไม่มีการรักษาแนวทางเฉพาะสำหรับตับอักเสบ เอ ร่างกายของคุณจะกำจัดไวรัสตับอักเสบ เอ ด้วยตัวเอง ในกรณีที่พบได้บ่อยของโรคตับอักเสบ เอ ตับจะเยียวยาตัวเองได้ภายในหกเดือน โดยไม่ทิ้งร่องรอยความเสียหายใดๆ หลายคนสามารถรักษาตัวได้เองที่บ้าน แต่ในระหว่างนี้ ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับคนอื่นๆ และพบหมอเป็นประจำ เพื่อตรวจความคืบหน้าของอาการ

คุณจำเป็นต้องได้รับการพักผ่อนที่ดีพอ เนื่องจากตับอักเสบ เอ จะทำให้คุณรู้สึกเหนื่อยมาก และควรรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหาร อย่างเช่น น้ำผลไม้หรือนม เพื่อเพิ่มพลังงานและสารอาหาร

นอกจากนี้ ผู้ที่ใกล้ชิดกับคุณและผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีน ควรได้รับซีรั่มภูมิคุ้มกันโกลบูลินจากหมอภายใน 2 สัปดาห์ของการสัมผัสโรค

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองที่ช่วยรับมือกับตับอักเสบ เอ

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองต่อไปนี้อาจช่วยคุณรับมือกับโรคตับอักเสบ เอ

  • ให้แน่ใจว่าคุณล้างมือสะอาดเสมอ หากคุณเป็นโรคตับอักเสบ หรือดูแลใครก็ตามที่เป็น โดยเฉพาะ หากคุณสัมผัสกับส่วนหนึ่งของอุจจาระ
  • แยกการใช้เครื่องใช้บริโภคอาหารหรือเครื่องดื่ม หรือเลือกใช้ภาชนะที่ใช้เสร็จแล้วทิ้งได้เลย
  • ล้างมือของคุณให้สะอาด หลังเปลี่ยนผ้าอ้อม และก่อนทำอะไรก็ตาม หากคุณทำงานในศูนย์รับเลี้ยงเด็ก ผู้ที่ทำงานในร้านอาหารควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง
  • ใช้สิ่งของป้องกันที่เหมาะสม อย่างเช่น ถุงมือและแว่นกันแดด หากคุณสัมผัสอุจจาระและของเหลวอื่นๆ จากร่างกาย ในการทำงาน
  • โทรแจ้งหมอของคุณ หากอาการตับอักเสบของคุณ ไม่หายไปภายใน 4 สัปดาห์
  • เนื่องจากผู้ป่วย ตับอักเสบ เอ หลายคน มักจะรู้สึกเหนื่อย คุณจึงจำป็นต้องพักผ่อนเยอะๆ
  • คุณอาจมีอาการคลื่นไส้และนำไปสู่ภาวะเบื่ออาหาร (Anorexia) การรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางสารอาหารจะช่วยให้ร่างกายของคุณมีพลังงานอย่างเพียงพอ อย่างเช่น น้ำผลไม้หรือนม

หากมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษากับหมอของคุณ เพื่อเข้าใจวิธีแก้ปัญหาที่ชัดเจนยิ่งขึ้นสำหรับตัวคุณเอง

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Ferri, Fred. Ferri’s Netter Patient Advisor. Philadelphia, PA: Saunders / Elsevier, 2012. Print edition. Page 309.

Hepatitis A. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/hepatitis-a/basics/causes/con-20022163. Accessed July 16, 2016.

Hepatitis A. http://www.niaid.nih.gov/topics/hepatitis/types/Pages/hepatitisA.aspx. Accessed July 16, 2016.

Hepatitis A FAQ. http://www.webmd.com/hepatitis/hepa-guide/digestive-diseases-hepatitis-a#1. Accessed July 16, 2016.

What I need to know about Hepatitis A. http://www.niddk.nih.gov/health-information/health-topics/liver-disease/hepatitis-a/Pages/ez.aspx. Accessed July 16, 2016.

เวอร์ชันปัจจุบัน

25/09/2020

เขียนโดย ปราโมทย์ วงศ์คำ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

ไวรัสตับอักเสบบี กับความเชื่อผิด ๆ ที่ควรเข้าใจใหม่ให้ถูกต้อง

คุณมีโอกาสเสี่ยง ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ได้อย่างไรบ้าง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปราโมทย์ วงศ์คำ · แก้ไขล่าสุด 25/09/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา