backup og meta

ช็อกโกแลตซีสต์ อันตรายของผู้หญิงที่ไม่ควรมองข้าม

ช็อกโกแลตซีสต์ อันตรายของผู้หญิงที่ไม่ควรมองข้าม

ช็อกโกแลตซีสต์ (Chocolate Cyst) คือถุงน้ำในรังไข่ที่ภายในประกอบไปด้วยเลือดและเนื้อเยื่อต่าง ๆ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการปวดและอาจส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ รวมไปถึงอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งรังไข่ได้ในอนาคต ดังนั้น หากสังเกตพบอาการผิดปกติ เช่น ปวดท้องประจำเดือนมากผิดปกติ ท้องเสีย มีเลือดออกกะปริบกะปรอย ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาในทันที

[embed-health-tool-bmi]

ทำความรู้จักกับ ช็อกโกแลตซีสต์ 

ช็อกโกแลตซีสต์ เป็นถุงน้ำในรังไข่ที่เต็มไปด้วยเลือดเก่า ซีสต์เหล่านี้แพทย์มักจะเรียกว่า เอนโดเมทริโอมา (Endometrioma) ซึ่งมันไม่ใช่มะเร็ง แต่แพทย์มักจะให้ความหมายว่า เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ หรือเรียกว่า เอนโดเมทริโอซิส (Endometriosis) ผู้ที่มีเยื่อโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เกิดขึ้นในผู้หญิงประมาณ 20-40% จะสามารถพัฒนาเป็นช็อกโกแลตซีสต์ได้

ช็อกโกแลตซีสต์ มักก่อตัวลึกภายในรังไข่ จะมีสีน้ำตาล ลักษณะคล้ายดินน้ำมันและมองดูแล้วจะคล้ายกับช็อกโกแลตที่ละลายแล้ว สีน้ำตาลนั้นมาจากเลือดประจำเดือนและเนื้อเยื่อที่เติมเข้าในโพรงของถุงน้ำ ช็อกโกแลตซีสต์อาจมีผลต่อรังไข่ข้างเดียวหรือทั้ง 2 ข้างก็ได้ และสามารถเกิดขึ้นได้หลายๆ ครั้ง

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เป็นความผิดปกติทั่วไปที่เยื่อบุของมดลูก หรือที่เรียกว่าเยื่อบุโพรงมดลูกเติบโตนอกมดลูก และสู่รังไข่ ท่อรังไข่ และพื้นที่อื่น ๆ ของระบบสืบพันธุ์ การมีเยื่อบุมากเกินไปทำให้เกิดอาการปวดอย่างรุนแรงและบางครั้งก็มีบุตรยากช็อกโกแลตซีสต์เป็นกลุ่มย่อยของเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ นอกจากนั้นแล้วมันยังสามารถเปลี่ยนแปลงสถานะให้กลายเป็นโรคที่รุนแรงอื่นๆ ได้อีกด้วย

สาเหตุของช็อกโกแลตซีสต์

ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกทำให้เกิดซีสต์ช็อกโกแลต เนื้อเยื่อเยื่อบุโพรงมดลูก และเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ทำให้เนื้อเยื่อนี้เติบโตนอกมดลูก เนื้อเยื่อบุโพรงมดลูกสามารถติดกับรังไข่ ท่อนำไข่ และอวัยวะใกล้เคียง เช่น กระเพาะปัสสาวะ สิ่งนี้สามารถทำให้เกิดความเจ็บปวดแบบหนังหน่วงเป็นระยะเวลานาน นอกจากนั้นมันยังสามารถส่งผลต่ออวัยวะอื่นๆ ที่ใกล้เคียงได้อีกด้วย

แพทย์แบ่งเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ออกเป็นระยะๆ ตามเนื้อเยื่อของเยื่อบุโพรงมดลูก เมื่อแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย ขั้นตอนที่ 3 และ 4 นั้นรุนแรงที่สุด และมีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดเอนโดเมทริโอมา (Endometrioma) หากคนที่มีเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ไม่ได้รับการรักษาก็อาจจะรุนแรงมากขึ้น และซีสต์ช็อกโกแลตก็อาจพัฒนาขึ้นได้เช่นกัน

ช็อกโกแลตซีสต์เป็นถุงน้ำที่มีเลือดเก่า มันจะอยู่แนบกับรังไข่และอาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของรังไข่ ในบางกรณีช็อกโกแลตซีสต์สามารถหยุดการทำงานของรังไข่และป้องกันการตั้งครรภ์

แพทย์ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า อะไรเป็นสาเหตุของเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ การวิจัยส่วนใหญ่ชี้ให้เห็นว่า ฮอร์โมนมีบทบาทสำคัญ แม้ว่านักวิจัยจะไม่แน่ใจว่าทำไมฮอร์โมนถึงทำให้เกิดเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ได้ในบางคนเท่านั้น

สำหรับปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ และช็อกโกแลตซีสต์ ได้แก่

  • พันธุศาสตร์ ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ก็มีแนวโน้มที่จะได้รับพันธุกรรมนี้
  • ย้อนประจำเดือนไหลย้อนกลับ สิ่งนี้จะเกิดขึ้นเมื่อเลือดไหลย้อนกลับไปในทิศทางตรงกันข้ามกับทางเดินขึ้นท่อนำไข่ แทนที่จะออกจากช่องคลอด
  • ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ปัญหาระบบภูมิคุ้มกันบางอย่างโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความผิดปกติของภูมิต้านทานผิดปกติอาจทำให้เกิดเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิด
  • การบาดเจ็บ ความเสียหายต่อมดลูกหรือโครงสร้างโดยรอบ มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิด การบาดเจ็บเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้ เช่น ในระหว่างการผ่าตัดคลอด

ช็อกโกแลตซีสต์  อันตรายหรือไม่

ช็อกโกแลตซีสต์ สามารถทำให้เกิดส่งต่างๆ ดังนี้

  • ทำให้เกิดอาการปวดกระดูกเชิงกรานเรื้อรัง
  • เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งรังไข่
  • ทำให้การตั้งครรภ์ยากขึ้น
  • หยุดรังไข่ของคุณไม่ให้ทำงานเหมือนที่ควร

การรักษาช็อกโกแลตซีสต์

สำหรับวิธีการรักษาแพทย์จะต้องพิจารณาอายุ และความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นกับคุณ โดยจะสอบถามว่าคุณนั้นมีแผนที่จะมีลูกในอนาคตหรือไม่ การเลือกแผนรักษา มีดังนี้

  • รอคอยอย่างระมัดระวัง หากคุณไม่เจ็บปวดและถุงน้ำขนาดเล็ก แพทย์อาจแนะนำให้คุณรอประมาณ 6-8 สัปดาห์เพื่อดูว่ามันจะหายไปเองหรือไม่ แพทย์จะใช้การทดสอบด้วยการทำอัลตร้าซาวด์ เพื่อให้แน่ใจว่าสิ่งนี้จะเกิดขึ้นหรือไม่
  • ใช้ยา แพทย์ของคุณอาจให้ยาเพื่อช่วยลดขนาดถุง กลุ่มยาที่แพทย์เรียกว่า ยาสังเคราะห์ประเภทฮอร์โมนโกนาโดโทรปิน รีลิสซิง(Gonadotropin-releasing hormone agonist /GnRH agonists) ซึ่งทำให้ร่างกายของคุณหมดระดูชั่วคราว รังไข่ของคุณหยุดทำฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งสามารถช่วยบรรเทาอาการใดๆ ที่คุณมี ซึ่ง GnRH agonists สามารถทำให้เกิดผลข้างเคียงเช่นเดียวกับวัยหมดประจำเดือน เช่น อาการร้อนวูบวาบ การสูญเสียความหนาแน่นของกระดูก และแรงขับทางเพศน้อยลง คุณไม่ควรรับยานี้หากคุณกำลังตั้งครรภ์
  • ศัลยกรรม แพทย์ของคุณอาจพูดคุยกับคุณเกี่ยวกับการผ่าตัด หากคุณมีอาการปวดอย่างรุนแรง และยาก็ไม่สามารถบรรเทาอาการใดๆ ได้แล้ว ทั้งถุงของคุณมีขนาดใหญ่กว่า 5 นิ้ว แพทย์อาจเลือกตัวเลือกนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้ถุงบิดหรือเปิดค้าง ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหารุนแรงขึ้น

บางครั้งแพทย์อาจสามารถระบายของเหลวในถุง แต่ในกรณีอื่นคุณอาจต้องนำถุงน้ำออกมาทั้งหมด วิธีนี้อาจช่วยบรรเทาอาการปวดของคุณ และเป็นการป้องกันไม่ให้ซีสต์เติบโต

ถ้าหากคุณแน่ใจว่า คุณไม่ต้องการตั้งครรภ์แพทย์ของคุณสามารถกำจัดรังไข่ออกให้ได้ทันที ซึ่งมดลูกของคุณก็สามารถถูกนำออกมาได้เช่นกัน แต่แพทย์จะทำตามขั้นตอนที่คุณตัดสินใจเลือกเท่านั้น ซึ่งเรียกว่าการผ่าตัดมดลูก แต่ถ้าหากคุณยังต้องการตั้งครรภ์อยู่ อาจจะต้องมีการพูดคุยกับแพทย์เกี่ยวกับทางเลือกทั้งหมด เพื่อหาวิธีรักษาที่จะได้ออกมาตรงตามความต้องการของคุณจะเป็นการดีที่สุด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What Are Endometrial Cysts?. https://www.webmd.com/women/endometriosis/endometrial-cysts#1. Accessed January 24, 2019

Ovarian Endometrioma. https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/22004-ovarian-endometrioma#:~:text=Ovarian%20endometriomas%2C%20or%20“chocolate%20cysts,provider%20can%20help%20you%20manage. Accessed March 28, 2023.

Endometrioma. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK559230/. Accessed March 28, 2023.

Ovarian cysts. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/ovarian-cysts/symptoms-causes/syc-20353405. Accessed March 28, 2023.

Cysts (Overview). https://www.health.harvard.edu/a_to_z/cysts-overview-a-to-z. Accessed March 28, 2023.

เวอร์ชันปัจจุบัน

22/06/2023

เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

ท้องอืดก่อนเป็นเมน รับมือได้อย่างไร

เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ปัญหาทางเพศ ที่พบได้ในผู้หญิง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 22/06/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา