backup og meta

ปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองทรวงอก ที่คุณควรระวัง มีอะไรบ้าง

ปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองทรวงอก ที่คุณควรระวัง มีอะไรบ้าง

โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองทรวงอก นั้น น้อยครั้งที่จะพบว่าเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม เพราะส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นด้วยปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ รอบตัว ไม่ว่าจะเป็นด้านสภาวะโรค และพฤติกรรม วันนี้ Hello คุณหมอ จึงขออาสาพาทุกคนมาเช็ก ปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองทรวงอก เพื่อทุกคนได้ระมัดระวัง และป้องกันการเกิด โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองทรวงอก นี้ ไปพร้อม ๆ กัน

 ปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองทรวงอก

โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองทรวงอก คือ โรคที่เกิดจากหลอดเลือดแดงเอออร์ตาอ่อนแรง และกดทับผนังหลอดเลือดจนอาจทำให้บริเวณนั้นมีการโป่งพอง โดยสามารถนำพาอาการทั้งในระดับรุนแรง และไม่รุนแรงเข้ามาทำลายสุขภาพคุณได้ เช่น อาการเจ็บหน้าอก หายใจถี่ ปวดบริเวณหลังส่วนบนเฉียบพลัน อีกทั้ง โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองทรวงอก ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่คุณควรทราบ ดังนี้

  • อายุที่มากขึ้นตั้งแต่อายุ 65 ปี ขึ้นไป
  • การสูบบุหรี่ เนื่องจากการสูบบุหรี่สามารถพัฒนาให้หลอดเลือดใหญ่โป่งพองได้
  • ความดันโลหิตสูง ระดับความดันโลหิตที่สูงขึ้น อาจทำลายหลอดเลือดในร่างกาย จนอาจทำให้หลอดเลือดเกิดการโป่งพองได้
  • คราบจุลินทรีย์สะสมในหลอดเลือดแดง หากหลอดเลือดของคุณมีการสะสมของไขมัน และสารแปลกปลอมอื่น ๆ มากเกินไป บางครั้งอาจส่งผลทำให้เยื่อบุหลอดเลือดถูกทำลาย จนในที่สุดเกิดเป็น โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองทรวงอก ขึ้นนั่นเอง
  • โรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบ ส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบ ก็อาจพัฒนาก่อให้เกิดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดโป่งพองได้เช่นเดียวกัน

ถึงแม้จะมีบางกรณีที่คุณอาจหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่สามารถหมั่นดูแลตนเองให้ไกลจากความเสี่ยงของ โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองทรวงอก ได้ เช่น การออกกำลังกาย เข้ารับการตรวจสุขภาพจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นประจำ เลือกรับประทานอาหารที่ไร้ไขมัน และลดระดับคอเลสเตอรอล

ภาวะแทรกซ้อน โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองทรวงอก

หลอดเลือดที่โป่งพองอาจทำให้คุณเสี่ยงกับการแตกตัวของหลอดเลือดจนถึงขึ้นเสียชีวิตได้ แต่นอกเหนือจากอาการรุนแรงที่กล่าวมาแล้วนั้น โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองทรวงอก ยังสามารถนำพาภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เหล่านี้ มาสู่คุณได้เช่นเดียวกัน

  • เจ็บหน้าอกกะทันหัน และทวีความรุนแรงขึ้นต่อเนื่อง
  • หายใจลำบาก
  • ความดันโลหิตต่ำ
  • มีปัญหาการกลืนอาหาร
  • การสื่อสาร การเคลื่อนไหวอาจดูไร้เรี่ยวแรง และลำบากมากขึ้น ซึ่งเสี่ยงต่อการเป็นอัมพาตได้
  • ลิ่มเลือดไปอุดตันตามหลอดเลือดของส่วนต่าง ๆ

การวินิจฉัยโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองทรวงอก

ส่วนใหญ่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญมักใช้การตรวจวินิจฉัย โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองทรวงอก ด้วย 3 เทคนิคนี้ ก่อนจะทำการวิเคราะห์ผล เพื่อดำเนินการรักษาในลำดับถัดไป

1. ซีทีสแกน (CT Scan) หรือการเอกซเรย์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่อาจมีการใช้ตรวจเช็ก หรือวัดขนาดรูปร่างของหลอดเลือดโป่งพอง พร้อมทั้งมีการใช้สีย้อมเล็กน้อยเข้าไปร่วม เพื่อเผยภาพให้เห็นเด่นชัดมากขึ้น

2. ถ่ายภาพด้วยเครื่องสร้างภาพด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) แพทย์อาจใช้วินิจฉัยเพื่อจับตำแหน่งของหลอดเลือดด้วยคลื่นเสียง และฉีดสีย้อมเข้าสู่เส้นเลือด ให้คุณได้เห็นหลอดเลือดที่โป่งพองบนหน้าจอภาพ

3. การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เพื่อจับภาพหัวใจ และหลอดเลือดแดงใหญ่ในช่วงเวลานั้น เทคนิคนี้อาจทำให้คุณเห็นประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ และลิ้นหัวใจ แต่ยังอาจไม่ละเอียดมากเท่าไหร่นัก เพราะระยะแรกของ โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองทรวงอก อาจตรวจจับได้ยาก

เมื่อผลลัพธ์ออกมาว่า คุณกำลังเป็น โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองทรวงอก แพทย์อาจต้องให้ยารักษาตามอาการ และสาเหตุเบื้องต้น จากนั้นอาจจะมีการนัดหมายพูดคุยถึงการผ่าตัดรักษาซ่อมแซมหลอดเลือดนี้ ให้กลับคืนสู่ภาวะเดิมอีกครั้ง

[embed-health-tool-heart-rate]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Thoracic Aortic Aneurysm. https://www.hopkinsmedicine.org/health/conditions-and-diseases/thoracic-aortic-aneurysm. Accessed July 02, 2021

thoracic aortic aneurysm. https://vascular.org/patient-resources/vascular-conditions/thoracic-aortic-aneurysm . Accessed July 02, 2021

What is an Aortic Aneurysm?. https://www.webmd.com/heart-disease/heart-disease-aortic-aneurysm . Accessed July 02, 2021

thoracic aortic aneurysm. https://www.umcvc.org/conditions-treatments/thoracic-aortic-aneurysm . Accessed July 02, 2021

thoracic aortic aneurysm. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/thoracic-aortic-aneurysm/symptoms-causes/syc-20350188. Accessed July 02, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

08/07/2021

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคหลอดเลือดหัวใจเกิน สาเหตุ อาการ และการรักษา

7 ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ ที่คุณไม่ควรมองข้าม


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 08/07/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา