backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

โรคหัวใจสลาย (Broken Heart Syndrome)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย pimruethai · แก้ไขล่าสุด 20/04/2021

โรคหัวใจสลาย (Broken Heart Syndrome)

โรคหัวใจสลาย คืออะไร

โรคหัวใจสลาย คืออะไร

โรคหัวใจสลาย (Broken Heart Syndrome) เป็นอาการชั่วคราวที่เกิดขึ้นกับจิตใจ มีสาเหตุมาจากสถานการณ์เครียด ๆ เช่น การสูญเสียของคนที่เรารัก อาการเช่นนี้อาจถูกรับแรงกระตุ้นโดยอาการไม่สบายทางกาย หรือการผ่าตัด ในบางคนที่เป็นโรคหัวใจสลายนั้นมักมีอาการเจ็บหน้าอกจนตนเองเข้าใจว่ามีอาการหัวใจวาย ร่วมด้วย ส่งผลให้เกิดความตื่นตระหนกจนส่งผลกับความเครียดนำไปสู่โรคหัวใจสลายได้เช่นเดียวกัน

สำหรับโรคหัวใจสลายนั้นหน้าที่การสูบฉีดเลือดที่ด้านหนึ่งของหัวใจจะหยุดการทำงานชั่วคราว ในขณะที่หน้าที่อื่นของหัวใจจะยังคงทำงานตามปกติ หรืออาจจะมีอาการหดตัวมากขึ้น เนื่องจากเป็นปฏิกิริยาความเชื่อมดยงของหัวใจที่มีต่อฮอร์โมนความเครียดซึ่งแพทย์อาจจะเรียกอาการนี้อีกชื่อหนึ่งว่าโรคหัวใจขาดเลือดกระทันหัน ผู้ป่วยกรณีใดที่อยู่ในกลุ่มอาการที่หัวใจห้องล่างส่วนปลายโป่งพอง หรือโรคหัวใจจากความเครียด อาการของโรคหัวใจสลายนี้สามารถรักษาได้ และจะกลับมาดีขึ้นภายในเวลาไม่กี่วัน ไม่กี่สัปดาห์

โรคหัวใจสลาย พบได้บ่อยแค่ไหน

โรคหัวใจสลายเป็นอาการที่ไม่ค่อยพบบ่อยนัก และมีผลกับคนแค่ 2% ที่เป็นโรคหัวใจ คนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคหัวใจจากความเครียดเป็นผู้หญิงที่อายุ 50 หรืออายุมากกว่า 50 ปี ขึ้นไป

อาการ

อาการของโรคหัวใจสลาย เป็นอย่างไร

อาการทั่วไปของโรคหัวใจสลาย ได้แก่

  • เจ็บหน้าอก
  • หายใจสั้น ๆ
  • หากคุณมีอาการเจ็บหน้าอกต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาจจะเป็นสัญญาณของโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันได้ ดังนั้นจึงควรติดต่อแพทย์ในทันทีหากคุณมีอาการเจ็บหน้าอก นอกจากนี้ยังมีอาจจะมีอาการอื่น ๆ นอกเหนือจากข้างต้นที่กล่าวมา หากคุณมีความกังวลเกี่ยวกับอาการต่าง ๆ โปรดปรึกษาแพทย์ หรือรับการตรวจสอบอย่างละเอียดจากแพทย์อีกครั้งได้

    ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด

    หากคุณมีอาการอย่างที่กล่าวตามข้างต้น หรือมีคำถามใด ๆ โปรดขอเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ เนื่องจากร่างกายของแต่ละคนจะมีปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นต่างกันตามสภาวะสุขภาพ แต่หากคุณเจ็บหน้าอกอย่างรุนแรงที่ส่งผลต่อการหายใจร่วม หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ หลังจากเผชิญกับเหตุการณ์ที่ตึงเครียด อาจต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลฉุกเฉินในทันที

    สาเหตุ

    สาเหตุของ โรคหัวใจสลาย

    สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหัวใจสลายยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่า ฮอร์โมนความเครียด เช่น อะดรีนาลีน จะสามารถทำอันตรายต่อหัวใจสำหรับบางคนได้หรือไม่ หรือเป็นการหดตัวชั่วคราวของหลอดเลือดแดงขนาดใหญ่ และหลอดเลือดแดงขนาดเล็กที่หัวใจ ร่วมด้วย แต่ถึงอย่างไรสิ่งที่เป็นปัจจัยเข้าไปกระตุ้นให้เกิดอาการหัวใจสลายนั้นมี ดังนี้

    • ข่าวการตายที่ไม่ได้คาดหมายของคนที่คุณรัก
    • การวินิจฉัยทางการแพทย์ที่น่ากลัว
    • ความรุนแรงในครอบครัว
    • การสูญเสีย หรือการได้รับสิ่งของมีค่าจำนวนมาก
    • การโต้เถียงกันอย่างรุนแรง
    • เซอร์ไพรส์ปาร์ตี้
    • การต้องปรากฏตัวสู่สาธารณชน
    • การสูญเสียงาน
    • การหย่าร้าง
    • ความเครียดทางกายภาพ เช่น โรคหอบหืด อุบัติเหตุทางรถยนต์ และ การผ่าตัดใหญ่
    • ยาที่อาจจะมีผลต่อโรคหัวใจสลาย เช่น อิพิเนฟริน (Epinephrine) ดูล็อกซีทีน (Duloxetine) เวนลาฟาซีน (Venlafaxine) เลโวไทรอกซิน (Levothyroxine)

    ปัจจัยเสี่ยง

    ปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงในการเกิด โรคหัวใจสลาย

    มีปัจจัยความเสี่ยงสำหรับคนที่เป็นโรคหัวใจสลาย เช่น

  • เพศ ผู้หญิงจะมีโอกาสเป็นอาการนี้ได้มากกว่าชาย
  • อายุ คนที่เป็นโรคหัวใจสลายส่วนใหญ่จะอายุมากกว่า 50 ปี
  • ประวัติการเป็นโรคเกี่ยวกับระบบประสาท คนที่มีโรคเกี่ยวกับระบบประสาทผิดปกติเช่นการบาดเจ็บที่ศีรษะ อาการชัก (โรคลมชัก) จะมีความเสี่ยงสูงกว่าที่จะเป็นโรคหัวใจสลาย
  • ความผิดปกติทางจิตเวช ผู้ที่เคยมีประวัติความผิดปกติทางจิตใจอยู่แต่เดิม เช่น มีความวิตกกังวล โรคซึมเศร้า จะมีโอกาสเป็นโรคหัวใจสลายเพิ่มขึ้น
  • การวินิจฉัยและการรักษาโรค

    ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์ทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

    การวินิจฉัยโรคหัวใจสลาย

    นอกจากการตรวจสอบสุขภาพพื้นฐาน แพทย์จะต้องการทราบเกี่ยวกับประวัติทางการแพทย์ โดยเฉพาะหากคุณเคยเป็นโรคหัวใจ คนที่มีปัญหาโรคหัวใจสลายมาก่อน ยิ่งไปกว่านั้นแพทย์จะต้องการทราบว่าคุณมีความเครียดอะไรบางอย่างในช่วงนี้ด้วยเช่นกัน เพื่อรู้ถึงสาเหตุ หรือตัวกระตุ้นที่แน่ชัด พร้อมกับมีการนำการตรวจด้วยเทคนิคการแพทย์ ดังต่อไปนี้ เข้ามามีส่วนร่วมอีกด้วย

    • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

    ในการตรวจร่างกายโดยไม่ล่วงล้ำเข้าสู่ร่างกาย นักเทคนิคการแพทย์จะวางสายไฟที่หน้าอกคุณและวัดการกระตุ้นของคลื่นไฟฟ้าที่จะทำให้หัวใจคุณเต้น การตรวจคลื่นหัวใจจะบันทึกสัญญาณไฟฟ้าและช่วยให้แพทย์สามารถตรวจสอบความผิดปกติของจังหวะการเต้นของหัวใจและโครงสร้างของหัวใจได้

    • การตรวจหัวใจด้วยคลื่นความถี่สูง

    แพทย์จะส่งให้ทำการตรวจหัวใจด้วยคลื่นความถี่สูง เพื่อตรวจสอบว่าหัวใจของคุณพองโต และอยู่ในรูปร่างที่ผิดปกติหรือเปล่า มีสัญญาณของโรคหัวใจสลายหรือไม่ โดยจะแสดงถึงรูปของโครงสร้าง และหน้าที่หัวใจของคุณ คลื่นอัลตร้าซาวนด์นี้จะบันทึกสัญญาณความถี่ไปแสดงผลหน้าจอ เพื่อให้แพทย์ได้ทราบ

    • การตรวจเลือด

    คนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคหัวใจสลายจะมีเอ็นไซม์บางประเภทเพิ่มขึ้นในเลือดของพวกเขา แพทย์จะสั่งให้ตรวจเลือดเพื่อเช็คเอนไซม์เหล่านี้เพื่อช่วยในการวินิจฉันโรคหัวใจสลายได้เพิ่มเติม

  • การตรวจหัวใจด้วยเครื่องตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
  • สำหรับการตรวจสอบวิธีนี้ คุณจะนอนบนโต๊ะข้างในเครื่องมือที่คล้ายท่อยาว ๆ ที่มีสนามแม่เหล็ก สนามแม่เหล็กเหล่านี้จะสร้างภาพรายละเอียดที่ช่วยให้แพทย์ประเมินอาการที่เกิดขึ้นกับหัวใจของคุณ

    • การฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ

    ระหว่างการฉีดสีหลอดเลือดหัวใจประเภทของสีที่ใช้จะเห็นโดยเครื่อง X-ray โดยฉีดสีเข้าไปในหลอดเลือดหัวใจ แล้วให้เครื่อง x-ray ถ่ายรูปเป็นซีรีส์ (การฉีดสีเข้าหลอดเลือด) เพื่อให้แพทย์เห็นภาพโดยละเอียดของสิ่งที่อยู่ในหลอดเลือดของคุณ เพราะโรคหัวใจสลายอาจจะมีสัญญาณ และอาการคล้ายกับโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน

    การรักษาโรคหัวใจสลาย

    ไม่มีวิธีการรักษาโดยมาตรฐานสำหรับโรคหัวใจสลาย เนื่องจากต้องรักษาตามแต่ละอาการ และภาวะสุขภาพของผู้ป่วยแต่ละบุคคล โดยส่วนใหญ่จะต้องอยู่ในโรงพยาบาลจนกว่าจะฟื้นตัวดีขึ้น เมื่อชัดเจนว่าสาเหตุของอาการของคุณคือโรคหัวใจสลาย แพทย์จะสั่งยาให้คุณทานในขณะที่คุณอยู่โรงพยาล เช่น ยาลดความดันโลหิตกลุ่มแองจิโอเทนซิน-คอนเวอร์ติง เอนไซม์ (Angiotensin-Converting Enzyme) เบต้า บล็อกเกอร์ (beta-blocker) หรือ ยาขับปัสสาวะ เพราะยาเหล่านี้จะช่วยลดการทำงานของหัวใจในขณะที่ช่วยให้คุณฟื้นตัว และช่วยป้องกันการเป็นหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในอนาคต

    ผู้ป่วยมักจะฟื้นตัวภายใน 1 เดือน แต่อาจยังมีการให้รับประทานยาร่วมอยู่ จนกว่าจะได้รับอนุญาตจากแพทย์ให้หยุดยา อีกทั้งกระบวนการที่ใช้ในการรักษาโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน เช่น การขยายหลอดเลือดหัวใจตีบด้วยการทำบอลลูน และการใส่ขดลวด หรือแม้แต่การผ่าตัดไม่มีประโยชน์ในการรักษาโรคหัวใจสลาย กระบวนการเหล่านี้ใช้ในการรักษาหลอดเลือดที่อุดตัน ซึ่งไม่เป็นสาเหตุของโรคหัวใจสลาย แต่การฉีดสีหลอดเลือดหัวใจสามารถใช้ในการวินิจฉัยสาเหตุของการเจ็บหน้าอกได้

    การเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

    การเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองต่อไปนี้อาจจะช่วยให้คุณจัดการกับโรคหัวใจสลายได้

    มีโอกาสเพียงเล็กน้อยที่โรคหัวใจสลาย อาจจะเกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์แรก แต่ไม่มีการรักษาใดที่จะป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นซ้ำได้ แพทย์ส่วนมากจะป้องกันการรักษาระยะยาวด้วยเบต้าบล็อกเกอร์ หรือการใช้ยาที่คล้ายคลึงกันที่ช่วยบล็อคจากผลกระทบที่เป็นอันตรายของฮอร์โมนความเครียดที่เกิดขึ้นกับหัวใจ การตระหนักรู้ และจัดการกับความเครียดในชีวิตคุณเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยในการป้องกันโรคหัวใจสลาย แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานมาพิสูจน์สิ่งเหล่านี้

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย pimruethai · แก้ไขล่าสุด 20/04/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา