backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ลิ้นหัวใจไมตรัลรั่ว (Mitral regurgitation)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 30/08/2021

ลิ้นหัวใจไมตรัลรั่ว (Mitral regurgitation)

ลิ้นหัวใจไมตรัลรั่ว (Mitral regurgitation) เป็นโรคลิ้นหัวใจรั่วชนิดหนึ่ง ที่อาจส่งผลให้ระบบไหลเวียนเลือดส่งเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่าง ๆ ได้น้อยลง จนทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา เช่น หัวใจล้มเหลว ความดันโลหิตสูงในปอด

คำจำกัดความ

ลิ้นหัวใจไมตรัลรั่ว คืออะไร

ลิ้นหัวใจไมตรัลรั่ว (Mitral regurgitation) เป็นภาวะที่ลิ้นหัวใจส่วนลิ้นหัวใจระหว่างห้องซ้ายบนและห้องซ้ายล่างปิดไม่สนิท ทำให้มีเลือดบางส่วนไหลย้อนกลับเข้าไปในหัวใจอีกครั้ง และส่งผลให้เลือดไม่สามารถไหลเข้าไปหล่อเลี้ยงในส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้เพียงพอ ปัญหาลิ้นหัวใจรั่วนี้อาจทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น ระดับความดันโลหิตสูงขึ้น ในรายที่รุนแรง อาจเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้

ลิ้นหัวใจไมตรัลรั่วพบได้บ่อยแค่ไหน

จากข้อมูลของสถาบันสุขภาพแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (NIH) พบว่า โรคลิ้นหัวใจไมตรัลรั่ว คือโรคลิ้นหัวใจชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด และส่งผลกระทบกับประชากรกว่า 2% ทั่วโลก

โรคลิ้นหัวใจไมตรัลรั่ว สามารถพบได้ในช่วงวัยกลางคน และผู้ที่มีประวัติป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจ เนื่องจากอาจทำให้หัวใจทำงานผิดปกติ และลิ้นหัวใจได้รับผลกระทบร่วมด้วย

อาการ

อาการของ โรคลิ้นหัวใจไมตรัลรั่ว

อาการของ ลิ้นหัวใจไมตรัวรั่ว ขึ้นกับความรุนแรงของโรค ซึ่งในระยะเริ่มแรก อาจไม่แสดงอาการใด ๆ แต่เมื่อโรคมีความรุนแรงขึ้น ก็อาจมีอาการดังต่อไปนี้

  • ใจสั่น หัวใจเต้นรัว
  • เสียงหัวใจ หรือจังหวะหัวใจเต้นผิดปกติ
  • เจ็บหน้าอก
  • วิงเวียนศีรษะ
  • รู้สึกเหนื่อยล้า
  • หายใจลำบาก
  • ข้อเท้า และเท้าบวม
  • สาเหตุ

    สาเหตุของโรคลิ้นหัวใจไมตรัลรั่ว

    สาเหตุที่ทำให้ โรคลิ้นหัวใจไมตรัลรั่ว อาจเกิดจาก

    • เนื้อเยื่อลิ้นหัวใจได้รับความเสียหาย
    • ไข้รูมาติก
    • เยื่อบุหัวใจอักเสบ
    • ภาวะหัวใจวาย
    • ความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ
    • อุบัติเหตุรุนแรง
    • มีประวัติการผ่าตัดเกี่ยวกับหัวใจ

    ปัจจัยเสี่ยง

    ปัจจัยเสี่ยงของ โรคลิ้นหัวใจไมตรัลรั่ว

    หากบุคลในครอบครัวมีประวัติเกี่ยวข้องกับโรคลิ้นหัวใจ ก็อาจเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เป็นโรคลิ้นหัวใจ และสามารถพัฒนาเป็นโรคลิ้นหัวใจไมตรัลรั่วได้ในอนาคต

    นอกจากนี้ ยาบางชนิดก็อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคลิ้นหัวใจไมตรัลรั่วได้ เช่น

  • ยาเออร์โกทามีน (Ergotamine)
  • เฟนฟลูรามีน (Fenfluramine)
  • เดกซ์เฟนฟลูรามีน (Dexfenfluramine)
  • การวินิจฉัยและการรักษา

    ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

    การวินิจฉัยลิ้นหัวใจไมตรัลรั่ว

    การวินิจฉัยในโรคลิ้นหัวใจไมตรัลรั่ว ที่คุณหมอนิยมใช้ มีดังนี้

    • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เพื่อช่วยให้เห็นความผิดปกติของโครงสร้างของหัวใจ ลิ้นหัวใจ และการไหลเวียนของเลือด อีกทั้งยังดูว่าหัวใจทำงานได้ดีเพียงใด
    • เอกซเรย์ทรวงอก เพื่อช่วยให้คุณหมอมองเห็นว่าบริเวณลิ้นหัวใจส่วนไมตรัลมีช่องว่างหรือรูรั่วหรือไม่
    • การสวนหัวใจ คุณหมอจะนำสายสวนที่มีความยืดหยุ่นสอดเข้าไปในเส้นเลือดผ่านทางแขน หรือขาหนีบ ก่อนจะฉีดสีย้อมลงไปตามสายสวน และเอกซเรย์ไปพร้อมกัน เพื่อแสดงภาพว่าส่วนใดในหัวใจที่ทำงานผิดปกติ
    • ตรวจหัวใจด้วยคลื่นสนามแม่เหล็ก (MRI) เป็นการทดสอบเพื่อสร้างรายละเอียดของหัวใจให้เห็นชัดมากยิ่งขึ้น และประเมินอาการเบื้องต้นว่าอยู่ในระดับรุนแรงที่ต้องเร่งรักษาทันทีด้วยการผ่าตัดหรือไม่

    การรักษาลิ้นหัวใจไมตรัลรั่ว

    เมื่อผลการวินิจฉัยออกมาแล้วว่าเป็น โรคลิ้นหัวใจไมตรัลรั่ว คุณหมออาจรักษาตามอาการ และให้ยาตามความเหมาะสม เช่น ยารักษาความความดันโลหิตสูง ยาป้องกันการเกิดลิ่มเลือด ยาขับปัสสาวะ

    แต่หากเป็นกรณีที่ลิ้นหัวใจได้รับความเสียหายรุนแรง การรักษาด้วยวิธีดังต่อไปนี้ อาจมีประสิทธิภาพที่ให้ผลลัพธ์ได้ดีกว่า

    • การผ่าตัดแบบเปิดในบริเวณของลิ้นหัวใจที่ได้รับความเสียหาย โดยอาจใช้เทคโนโลยีการส่องกล้อง เผยภาพ 3 มิติ บนหน้าจออย่างละเอียดร่วมระหว่างผ่าตัด
    • ปิดรูรั่วของไมตรัล ด้วยการผ่าตัดในลักษณะตัววี และเย็บปิดรูรั่วให้เชื่อมกัน
    • เปลี่ยนลิ้นหัวใจ หากคุณหมอพิจารณาแล้วว่าการผ่าตัดรักษาด้วย 2 วิธีข้างต้นไม่ได้ผล อาจจำเป็นต้องทำการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจใหม่

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

    การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์หรือการเยียวยาตนเองเพื่อป้องกันและรักษา โรคลิ้นหัวใจไมตรัลรั่ว

    เพื่อไม่ให้ลิ้นหัวใจ หรือสุขภาพหัวใจได้รับความเสียหายจากโรคต่าง ๆ การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ด้วยวิธีดังต่อไปนี้ อาจช่วยให้ห่างไกลจากลิ้นหัวใจไมตรัลรั่วได้

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 30/08/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา