สุขภาพจิตผู้สูงวัย

เมื่อสุขภาพจิตดี สุขภาพกายก็จะดีตามไปด้วย นี่เองที่ทำให้การดูแล สุขภาพจิต เป็นเรื่องที่คุณไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะในผู้สูงวัย ที่สุขภาพจิตเสื่อมถอยตามวัย หากคุณอยากรู้ว่าควรดูแล สุขภาพจิตผู้สูงวัย อย่างไร ให้มีสุขภาพดีอยู่เสมอ เรามีคำตอบมาให้แล้ว

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพจิตผู้สูงวัย

อย่าเลื่อนผ่าน! ปัญหาสุขภาพจิตผู้สูงอายุ สร้างปัญหาให้กันคนที่คุณรัก

ปัญหาสุขภาพจิตผู้สูงอายุ เป็นเรื่องที่ควรใส่ใจเพราะเมื่อร่างกายแก่ตัวลงโรคภัยก็ย่อมถามหาเรื่องสุขภาพจิตก็เช่นเดียวกัน เพราะปัญหาสุขภาพจิตอาจส่งผลต่อปัญหาสุขภาพร่างกายในอานาคตได้ เพื่อสุขภาพของคนที่เรารัก วันนี้ Hello คุณหมอจึงปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ มาแนะนำให้ทุกคนได้รู้จักกันค่ะ ปัญหาสุขภาพจิตผู้สูงอายุ มีอะไรบ้าง ปัญหาสุขภาพจิตผู้สูงอายุเป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ ซึ่งอาจเป็นผลมาจากความรู้สึกโดดเดี่ยว ความผิดปกติทางอารมณ์และความวิตกกังวล ภาวะสมองเสื่อมและโรคจิต และผู้สูงอายุบางคนอาจเกิดอาการนอนไม่หลับ ความผิดปกติทางพฤติกรรม ภาวะสมองเสื่อม เกิดความสับสน เป็นผลมาจากความผิดปกติทางกายภาพหรือการผ่าตัด ปัญหาสุขภาพจิตผู้สูงอายุที่พบบ่อย ดังนี้ โรคซึมเศร้า โรคซึมเศร้าแตกต่างจากอารมณ์เศร้า เพราะเป็นโรคร้ายแรงที่อาจส่งผลต่อความรู้สึก ความคิด กิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น การนอนหลับ การกิน การทำงาน โรคซึมเศร้าไม่ได้เป็นโรคประจำตัวของผู้สูงอายุแต่พบได้บ่อยเนื่องจากอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงในชีวิตและทำให้ผู้สูงอายุมีความรู้สึกไม่สบายใจ เครียดและเศร้า เช่น การเสียชีวิตของคนในครอบครัว การเกษียณอายุจากงาน ขาดรายได้ อาการเจ็บป่วยร้ายแรง ปัญหาเหล่านี้อาจส่งผลให้เกิดอาการเศร้าหรือวิตกกังวล แต่หลังจากการปรับตัวอาการจะดีขึ้นตามลำดับ โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive-Compulsive Disorder : OCD) โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive-Compulsive Disorder : OCD) เป็นโรคความเจ็บป่วยทางจิตที่ทำให้เกิดความคิดหรือความรู้สึกที่ไม่ต้องการซ้ำ ๆ หรือถูกกระตุ้นให้ทำอะไรซ้ำ ๆ ในบางคนอาจเกิดความหลงไหลและมีแรงผลักดันให้ทำ เช่น คุณล้างเมือซ้ำแล้วซ้ำอีกหลังจากการสัมผัสสิ่งที่ต่าง ๆ แม้ความคิดของคุณไม่ต้องการที่จะทำแต่ก็ไม่สามรรถหยุดการกระทำนั้นได้ สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคย้ำคิดย้ำทำอาจมาจากความเครียดที่ส่งผลให้อาการแย่ลงได้ หรืออาจมาจากสาเหตุอื่น ๆ […]

สำรวจ สุขภาพจิตผู้สูงวัย

สุขภาพจิตผู้สูงวัย

วิกฤตวัยกลางคนในผู้หญิง เรื่องจริง หรือแค่คิดไปเอง

ในช่วงวัยรุ่น เราอาจจะคาดหวังอนาคตไว้มากมาย ตั้งแต่การทำงาน ไปจนถึงการสร้างครอบครัว บางคนอาจจะประสบความสำเร็จตามที่คาดหวังไว้ แต่บางคนอาจจะไม่ใช่แบบนั้น เรียกได้ว่า วิกฤตวัยกลางคนในผู้หญิง นี้เป็นปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งที่ผู้หญิงวัยกลางคนอาจจะต้องพบเจอ แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเรากำลังประสบกับปัญหาเหล่านั้น อยู่หรือเปล่า มาร่วมหาคำตอบได้ในบทความนี้ของ Hello คุณหมอ กันค่ะ วิกฤตวัยกลางคน คืออะไร วิกฤตวัยกลางคน (Midlife Crisis) ใช้เรียกช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงในช่วงชีวิตวัยกลางคน (ช่วงอายุ 35 ถึง 55 ปี)  โดยมีลักษณะที่เด่นชัดที่สุดคือ ความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลง มีความสับสนทางอารมณ์ ความคิด ความรู้สึก โดยคนเรานั้นอาจจะมีลักษณะของวิกฤตวัยกลางคนแตกต่างกันไป แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว จะเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง ทั้งทางด้านการกระทำ และทางด้านความรู้สึก ตลอดไปจนถึงทางด้านมุมมองชีวิต ในบางครั้งวิกฤตวัยกลางคนนี้อาจใช้เวลานานหลายปี คนส่วนใหญ่จะรู้สึกถึงความสับสนทางอารมณ์อย่างรุนแรง ในช่วงวัย 40 ขึ้นไป วิกฤตวัยกลางคนนี้อาจจะประกอบไปด้วยหลายๆ ปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาที่ไม่ได้รับการแก้ไขตั้งแต่สมัยก่อน ความไม่พึงพอใจใชชีวิตความเป็นอยู่ในปัจจุบัน การสูญเสียโอกาส หรืออาจจะเป็นความหวาดกลัวต่ออนาคตที่ไม่แน่นอน และการแก่ตัวลง ในช่วงวัยรุ่น เราอาจจะมีความคาดหวังต่อชีวิตหลายๆ อย่าง แต่เมื่อมีอายุมากขึ้น ใช่ว่าทุกคนที่จะทำตามความฝันนั้นได้เสียทั้งหมด เมื่อเรามาถึงช่วงอายุ 40 ปี หลายคนจะเริ่มตระหนักว่าได้เดินทางมานานกว่าครึ่งชีวิต […]


สุขภาพจิตผู้สูงวัย

วิกฤตวัยกลางคน ภาวะที่อาจทำให้ชีวิต ผู้ชาย ต้องเสียศูนย์และสูญเสีย!!

การเปลี่ยนผ่านจากช่วงวัยหนุ่มสู่วัยที่เริ่มสูงอายุมากขึ้น เป็นช่วงวัยที่อาจทำให้ผู้ชายจำนวนไม่น้อยเกิดภาวะที่เรียกกันว่า วิกฤตวัยกลางคน ซึ่งแม้สิ่งนี้จะไม่ใช่ “โรค” แต่ก็สามารถส่งผลเสียต่อทั้งการใช้ชีวิตและสุขภาพได้ โดยเฉพาะใน ผู้ชาย เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรเพิกเฉยเป็นอย่างยิ่ง วิกฤตวัยกลางคนคืออะไร คำว่า “วิกฤตวัยกลางคน (Midlife Crisis)” เริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อปี 1965 โดย อีเลียต ฌาคส์ นักจิตวิเคราะห์ชาวแคนาดา โดยมักนำมาใช้เพื่อระบุถึงช่วงเวลาในชีวิตของคนเรา ขณะเปลี่ยนผ่านจากวัยหนุ่มสาวเข้าสู่วัยสูงอายุ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีเหตุการณ์สำคัญหลายอย่างเกิดขึ้นในชีวิต ซึ่งบอกเราว่าเวลากำลังจะผ่านเราไปแล้ว และกระตุ้นให้เราต้องประเมินสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตของเราใหม่ และอาจเกิดผลกระทบทางอารมณ์หลายอย่าง ที่หากไม่สามารถรับมือได้ก็จะเกิดเป็น “วิกฤต” ที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในแบบปัจจุบันทันด่วน อย่างไรก็ตาม ดร.แดน โจนส์ ผู้อำนวยการศูนย์ให้คำปรึกษาและบริการด้านสุขภาพจิต ของมหาวิทยาลัย Appalachian Stateในเมืองบูน รัฐนอร์ธแคโรไลน่า ในสหรัฐอเมริกา ชี้ว่า วิกฤตวัยกลางคนไม่ใช่ภาวะโรคอย่างเป็นทางการ และวัยที่สามารถเกิดวิกฤตวัยกลางคนก็กว้างมาก โดยทั่วไปอยู่ในช่วงวัยตั้งแต่ 35-55 ปี แต่ก็อาจเกิดกับผู้ชายในวัยหกสิบก็เป็นได้ โดยทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ต่างก็สามารถเจอกับช่วงเปลี่ยนผ่านของชีวิต หรือช่วงวัยวิกฤตได้เช่นเดียวกัน แต่การแสดงออกจะแตกต่างกัน หรือแม้แต่ในผู้ชายด้วยกันเอง ก็อาจมีการแสดงออกที่ต่างกันไปได้ ทำไม “วัยกลางคน” จึงเกิด “วิกฤต”? ในช่วงวัย 35-55 ปี ผู้ชายมักพบกับแรงกดดันหลายอย่างในชีวิต การเลี้ยงดูครอบครัว […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน