กระดูกงอกทับเอ็นข้อไหล่ (Impingement Syndrome) เกิดจากเส้นเอ็นเบอร์ซา (Bursa) เกิดการเสียดสีทับกันกับกระดูกหัวไหล่ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปวดไหล่ โดยส่วนใหญ่พบในผู้ที่ใช้งานหัวไหล่ซ้ำ ๆ เช่น การวาดภาพ กีฬายกน้ำหนัก กีฬาว่ายน้ำ กีฬาเทนนิส
คำจำกัดความ
กระดูกงอกทับเอ็นข้อไหล่ (Impingement Syndrome) คืออะไร
กระดูกงอกทับเอ็นข้อไหล่ (Impingement Syndrome) เกิดจากเส้นเอ็นเบอร์ซา (Bursa) เกิดการเสียดสีทับกันกับกระดูกหัวไหล่ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปวดไหล่ โดยส่วนใหญ่พบในผู้ที่ใช้งานหัวไหล่ซ้ำ ๆ เช่น การวาดภาพ กีฬายกน้ำหนัก กีฬาว่ายน้ำ กีฬาเทนนิส
อย่างไรก็ตาม อาการกระดูกงอกทับเอ็นข้อไหล่ มักส่งผลกระทบต่อกิจกรรมในชีวิตประจำวัน หากปล่อยไว้ระยะเวลานานโดยไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมอาจทำให้เกิดการอักเสบและฉีกขาดได้
พบได้บ่อยเพียงใด
กระดูกงอกทับเอ็นข้อไหล่ พบได้บ่อยในนักกีฬา โดยเฉพาะนักกีฬาว่ายน้ำ และนักกีฬาประเภทอื่น ๆ เช่น นักกีฬาเบสบอลหรือซอฟท์บอล
อาการ
อาการของกระดูกงอกทับเอ็นข้อไหล่
อาการหลักของกระดูกงอกทับเอ็นข้อไหล่ คืออาการปวดไหล่อย่างกะทันหันเมื่อคุณยกแขนขึ้นเหนือศีรษะ ได้แก่
- รู้สึกปวดแขนตลอด (อาการปวดไม่รุนแรงแต่รู้สึกปวดตลอด)
- มีอาการปวดบริเวณช่วงด้านหน้าไหล่และด้านข้างของแขน
- รู้สึกปวดบริเวณไหล่รุนแรงในเวลากลางคืน
- แขนและไหล่มีอาการอ่อนแรง
ควรไปพบหมอเมื่อใด
หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ
สาเหตุ
สาเหตุของกระดูกงอกทับเอ็นข้อไหล่
สาเหตุของอาการปวดไหล่เกิดจากเอ็นข้อไหล่เกิดการชนกันกับกระดูกบนของข้อไหล่ เมื่อปล่อยไว้ระยะเวลานาน ๆ โดยไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม อาจทำให้อาการปวดรุนแรงมากขึ้น อาจร้ายแรงถึงขั้นเส้นเอ็นฉีกขาด
ปัจจัยเสี่ยงของกระดูกงอกทับเอ็นข้อไหล่
ผู้ที่เคลื่อนไหวใช้กิจกรรมบริเวณหัวไหล่หรือเหนือศีรษะขึ้นไป รวมถึงกิจกรรมที่เคลื่อนไหวบริเวณแขนและหัวไหล่ซ้ำ ๆ โดยกิจกรรมส่วนใหญ่ มีผลต่อกระดูกทับเอ็นกล้ามไหล่ ดังนี้
- ว่ายน้ำ
- เล่นเทนนิส
- เล่นเบสบอส
- งานก่อสร้าง
- ยกหรือย้ายของหนัก ๆ เช่น ยกกล่อง
- กิจกรรมที่ใช้การยกไหล่ซ้ำ ๆ เช่น วาดภาพ
การวินิจฉัยและการรักษา
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยกระดูกงอกทับเอ็นข้อไหล่
ในเบื้องต้นแพทย์จะสอบถามประวัติและอาการของผู้ป่วย รวมถึงการตรวจร่างกาย เช่น การตรวจเอ็กซ์เรย์ เพื่อหาอาการข้ออักเสบ และการเปลี่ยนแปลงของกระดูก
หากแพทย์พบว่าผู้ป่วยมีอาการเจ็บปวดที่รุนแรง ทำให้ไม่สามารถวินิจฉัยโรคได้ อาจทำการตรวจด้วยเครื่องสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging : MRI) เพื่อดูรายละเอียดของภาพให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
การรักษากระดูกงอกทับเอ็นข้อไหล่
วิธีการรักษากระดูกงอกทับเอ็นข้อไหล่ขึ้นอยู่กับอาการของแต่ละบุคคล โดยส่วนใหญ่มีวิธีการรักษา ดังต่อไปนี้
- การดูแลตัวเองที่บ้าน
การพักผ่อนเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากสำหรับผู้ป่วยกระดูกงอกทับเอ็นข้อไหล่ ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนัก ๆ หรือกิจกรรมที่อาจทำให้อาการเจ็บปวดแย่ลง นอกจากนี้ การประคบน้ำแข็งบนหัวไหล่ครั้งละ 10-15 นาที วันละ 2-3 ครั้ง จะช่วยบรรเทาอาการปวดและลดอาการบวมลงได้
- กายภาพบำบัด
กายภาพบำบัดด้วยการออกกำลังกายอย่างอ่อนโยนเน้นสร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อไหล่แขนและหน้าอก และระมัดระวังอย่าให้ออกกำลังกายหักโหมจนเกินไป
- รับประทานยา
แพทย์อาจแนะนำกลุ่มยาต้านการอาการปวดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น ยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) เพื่อช่วยบรรเทาอาการบวมและอาการปวด หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรงแพทย์อาจฉีดยาสเตียรอยด์เพื่อลดอาการบวมและอาการปวด
- รักษาโดยการผ่าตัด
หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรงมาก แพทย์อาจทำการผ่าตัดเพื่อขยายเนื้อที่รอบ ๆ เพื่อให้เคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ (เอ็นข้อไหล่ไม่โดนเบียดกับกระดูกหัวไหล่) นอกจากนี้ยังมีการผ่าตัดแบบสอดกล้อง เพื่อให้แผลผ่าตัดมีขนาดที่เล็กกว่า
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรักษากระดูกงอกทับเอ็นข้อไหล่
การพักผ่อนเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับผู้ป่วยกระดูกงอกทับเอ็นข้อไหล่ หากผู้ป่วยเป็นนักกีฬาควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมหนัก ๆ และออกกำลังกายแบบเบา ๆ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้เอ็นข้อไหล่และกล้ามเนื้อ โดยมีวิธีการออกกำลังกาย ดังนี้
- ยืนตรงวางแขนแนบลำตัวและหันฝ่ามือไปข้างหน้า บีบหัวไหล่เข้าหากันค้างไว้ห้าถึงสิบวินาทีทำซ้ำ 2-3 ครั้ง
- ยืดแขนตรงไปข้างหน้า หลังจากนั้นขยับไหล่ไปด้านหลังให้มากที่สุดโดยไม่ต้องขยับคอหรือหลังหรืองอแขน
- นอนตะแคงข้างที่ไม่มีอาการเจ็บปวด และงอแขนท่อนบนทำมุม 90 องศา ให้ข้อศอกอยู่ที่สะโพกแล้วหมุนแขนท่อนล่างขึ้นไปที่เพดาน ทำซ้ำ 10-20 ครั้ง
- ยืนตรงช่องประตูโดยให้แขนของคุณอยู่ต่ำกว่าระดับไหล่เล็กน้อย หันร่างกายส่วนบนของคุณออกจากแขนข้างนั้นจนกว่าคุณจะรู้สึกว่ายืดออกเล็กน้อยแล้วค้างไว้