backup og meta

น้อยหน่า ประโยชน์ และข้อควรระวังในการบริโภค

น้อยหน่า ประโยชน์ และข้อควรระวังในการบริโภค

น้อยหน่า เป็นผลไม้ที่เจริญเติบโตได้ดีในแถบประเทศเขตร้อน ในประเทศไทยมักพบน้อยหน่าในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยเฉพาะจังหวัดนครราชสีมา เป็นแหล่งปลูกน้อยหน่าที่มีชื่อเสียง แบ่งเป็นพันธุ์เนื้อและพันธุ์หนัง ผลน้อยหน่ามีลักษณะเป็นทรงกลม ผิวขรุขระ เปลือกสีเขียว เป็นตา ๆ ส่วนเนื้อข้างในเป็นสีขาวให้รสหวานเมื่อสุก ขณะที่เมล็ดเป็นสีดำ น้อยหน่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพเพราะประกอบไปด้วยสารอาหาร วิตามิน แร่ธาตุ เช่น ไฟเบอร์ วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 แมกนีเซียม โดยมีผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนว่า การบริโภคน้อยหน่าอาจมีประโยชน์ต่อร่างกายในหลาย ๆ ด้าน เช่น ช่วยบำรุงสายตา ต้านมะเร็งเม็ดเลือดขาว ป้องกันโรคท้องผูก

[embed-health-tool-bmi]

คุณค่าทางโภชนาการของ น้อยหน่า

น้อยหน่า 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 101 กิโลแคลอรี่ และประกอบไปด้วยสารอาหารต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ดังนี้

  • คาร์โบไฮเดรต 25.2 กรัม
  • โปรตีน 1.7 กรัม
  • ไขมัน 0.6 กรัม
  • โพแทสเซียม 382 มิลลิกรัม
  • แคลเซียม 30 มิลลิกรัม
  • ฟอสฟอรัส 21 มิลลิกรัม
  • วิตามินซี 19.2 มิลลิกรัม
  • แมกนีเซียม 18 มิลลิกรัม
  • โซเดียม 4 มิลลิกรัม

นอกจากนี้ ในน้อยหน่ายังพบสารอาหารอื่น ๆ อีกหลายชนิด เช่น เหล็ก วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินบี 5 วิตามินบี 6

ประโยชน์ต่อสุขภาพของ น้อยหน่า

น้อยหน่า มีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย โดยมีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนประโยชน์ของน้อยหน่า ดังนี้

  1. อาจช่วยต้านมะเร็งบางชนิดได้

น้อยหน่าอุดมไปด้วยสารกลุ่มฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) อย่างแคทีชิน (Catechin) และเอพิแคทีชิน (Epicatechin) ซึ่งมีคุณสมบัติในการยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็ง การรับประทานน้อยหน่าจึงอาจช่วยต้านมะเร็งได้

ในงานวิจัยหนึ่งว่าด้วยคุณสมบัติต้านมะเร็งต่อเซลล์มะเร็งปอดของแคทีชิน ตีพิมพ์ในวารสาร Applied Sciences ปี พ.ศ. 2563 นักวิจัยสรุปว่า แคทีชินอาจมีประสิทธิภาพหยุดยั้งการเพิ่มจำนวนของเซลล์มะเร็งปอด โดยยับยั้งการทำงานของโปรตีนไซคลิน อี 1 (Cyclin E1) และปฏิกิริยาฟอสฟอรีเลชันของโปรตีนไคเนส (Protein Kinase) ซึ่งควบคุมการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง

อย่างไรก็ตาม ยังคงเป็นการทดลองในห้องปฏิบัติการ ควรมีการทดลองเพิ่มเติม เพื่อพิสูจน์ว่าแคทีชินสามารถใช้รักษามะเร็งปอดในมนุษย์ได้

  1. อาจส่งผลดีต่อภาวะสุขภาพจิต

น้อยหน่าอุดมไปด้วยแมกนีเซียมและวิตามินบี 6 ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งในการสังเคราะห์สารสื่อประสาทอย่างโดพามีน (Dopamine) หรือสารแห่งความสุข และเซโรโทนิน (Serotonin) หรือสารต้านความซึมเศร้า ซึ่งหากในร่างกายมีสารดังกล่าวในปริมาณน้อยกว่าที่ควร อาจส่งผลให้เกิดความเครียด หรือเป็นโรควิตกกังวลได้ การบริโภคน้อยหน่า จึงอาจช่วยป้องกันความเครียดหรือภาวะซึมเศร้าได้

งานวิจัยชิ้นหนึ่ง เกี่ยวกับประสิทธิภาพของแมกนีเซียมและวิตามินบี 6 ในรูปแบบอาหารเสริมต่อสภาพจิตใจและคุณภาพชีวิตของผู้ใหญ่ที่มีความเครียด เผยแพร่ในวารสาร Stress Health พ.ศ. 2564 นักวิจัยแบ่งอาสาสมัครซึ่งเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงแต่มีภาวะเครียดและเครียดอย่างรุนแรงออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกให้รับประทานแมกนีเซียม 300 กรัม/วัน ส่วนอีกกลุ่มให้รับประทานแมกนีเซียม 300 กรัม/วัน กับวิตามินบี 6 อีก 30 กรัม/วัน เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์เท่า ๆ กัน แล้วเปรียบเทียบความแตกต่าง พบว่า ในกลุ่มอาสาสมัครที่มีการบริโภคแมกนีเซียมร่วมกับวิตามินบี 6 ช่วยลดความเครียดได้มากกว่าการบริโภคแมกนีเซียมเพียงอย่างเดียว งานวิจัยสรุปว่า การบริโภคแมกนีเซียมเพียงอย่างเดียว หรือบริโภคร่วมกับวิตามินบี 6 ทุกวัน ล้วนมีประโยชน์ต่อการช่วยลดความเครียดอย่างมีนัยสำคัญ

นอกจากนั้น งานวิจัยอีกชิ้นหนึ่ง ว่าด้วยบทบาทของสารโดพามีนในการควบคุมพฤติกรรมที่เข้าข่ายอาการวิตกกังวล ตีพิมพ์ในวารสาร Archives of Iranian Medicine ปี พ.ศ. 2558 รายงานว่า หากสารสื่อประสาทต่าง ๆ ในร่างกายทำงานผิดปกติ อาจนำไปสู่ภาวะเครียดหรือวิตกกังวลได้ และมีหลักฐานจำนวนหนึ่งสนับสนุนว่า สารโดพามีนอาจมีบทบาทสำคัญต่อสมองส่วนต่าง ๆ ในการจัดการอาการของโรคซึมเศร้า

  1. อาจช่วยบำรุงสายตาได้

น้อยหน่าอุดมไปด้วยสารลูทีน (Lutein) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระในกลุ่มแคโรทีนอยด์ (Carotenoid) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยบำรุงสายตา การบริโภคน้อยหน่าจึงอาจช่วยเสริมสร้างสุขภาพดวงตาให้ดีขึ้น

การศึกษาชิ้นหนึ่ง ว่าด้วยประโยชน์ของลูทีนต่อการบำรุงสายตาในผู้ป่วยโรคต้อกระจก ตีพิมพ์ในวารสาร Nutrition ปี พ.ศ. 2546 นักวิจัยทดลองให้อาสาสมัครที่เป็นโรคต้อกระจกจำนวน 17 ราย รับประทานอาหารเสริมที่มีส่วนประกอบของลูทีน และยาหลอก เป็นเวลา 3 ปี แล้ววัดผลเปรียบเทียบกัน พบว่า อาสาสมัครกลุ่มที่บริโภคอาหารเสริมลูทีนมีการมองเห็นและอาการตาแพ้แสงดีขึ้นกว่ากลุ่มที่บริโภคยาหลอก

ดังนั้น สรุปได้ว่า การบริโภคลูทีน อาจช่วยบรรเทาอาการต้อกระจก และยังมีส่วนช่วยรักษาสุขภาพดวงตาอีกด้วย

  1. อาจส่งเสริมการทำงานของระบบย่อยอาหาร

น้อยหน่าอุดมไปด้วยใยอาหารที่ช่วยกระตุ้นการขับถ่ายและการทำงานของลำไส้ ซึ่งส่งผลให้มีอาการท้องผูกลดลง ทั้งนี้ น้อยหน่า 1 ถ้วย มีใยอาหารประมาณ 5 กรัม หรือมากกว่าปริมาณที่ควรได้รับในแต่ละวันราว 17 เปอร์เซ็นต์ การบริโภคน้อยหน่า จึงอาจช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบย่อยอาหาร

งานวิจัยชิ้นหนึ่ง เกี่ยวกับประโยชน์ของใยอาหารต่อสุขภาพ ตีพิมพ์ในวารสาร Nutrients ปี พ.ศ. 2565 โดยนักวิจัยได้ศึกษาวรรณกรรมทางการแพทย์หลายชิ้นที่รายงานเกี่ยวกับประโยชน์ของใยอาหาร พบว่า ประโยชน์ของใยอาหารเป็นที่รู้จักมากที่สุด ในแง่ของการช่วยส่งเสริมการทำงานของลำไส้ รวมถึงการป้องกันอาการท้องผูก โดยวรรณกรรมทางการแพทย์หลาย ๆ ชิ้นสนับสนุนว่า ใยอาหารอาจมีคุณสมบัติในการป้องกันอาการท้องผูกเรื้อรัง รวมถึงอาการท้องผูกเนื่องมาจากโรคลำไส้แปรปรวน

ข้อควรระวังในการบริโภค น้อยหน่า

แม้ว่าน้อยหน่าจะเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่การบริโภคน้อยหน่าอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่อร่างกายได้ เนื่องจาก

น้อยหน่า มีสารที่เรียกว่า แอนโนนาซิน (Annonacin) ซึ่งอาจเป็นพิษต่อสมอง และระบบประสาทได้ โดยพบมากที่สุดตามเมล็ดและเปลือกน้อยหน่า ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัย ควรล้างทำความสะอาดเปลือกน้อยหน่าทุกครั้ง และควรบริโภคเฉพาะเนื้อน้อยหน่า และระมัดระวังการเผลอกลืนเมล็ดน้อยหน่าเข้าสู่ร่างกาย

สตรีมีครรภ์และหญิงให้นมบุตร สามารถบริโภคน้อยหน่าได้อย่างปลอดภัย อย่างไรก็ตาม ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคในปริมาณมาก และควรบริโภคผักและผลไม้ให้หลากหลายเพื่อบำรุงร่างกายและได้รับปริมาณสารอาหารครบถ้วน

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

The Health Benefits of Dietary Fibre. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7589116/#:~:text=Of%20all%20the%20beneficial%20effects,based%20on%20the%20available%20evidence. Accessed June 7, 2022

Custard-apple, (bullock’s-heart), raw. https://fdc.nal.usda.gov/fdc-app.html#/food-details/171725/nutrients. Accessed June 7, 2022

Annona cherimola Seed Extract Activates Extrinsic and Intrinsic Apoptotic Pathways in Leukemic Cells. https://www.mdpi.com/2072-6651/11/9/506. Accessed June 7, 2022

B Vitamins and the Brain: Mechanisms, Dose and Efficacy—A Review. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4772032/. Accessed June 7, 2022

The Modulatory Role of Dopamine in Anxiety-like Behavior. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/26317601/. Accessed June 7, 2022

Lutein, but not alpha-tocopherol, supplementation improves visual function in patients with age-related cataracts: a 2-y double-blind, placebo-controlled pilot study.  https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/12507634/. Accessed June 7, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

15/06/2022

เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

ฝรั่ง คุณค่าทางโภชนาการ และประโยชน์ต่อสุขภาพ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น · แก้ไขล่าสุด 15/06/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา