backup og meta

4 ประโยชน์สุขภาพของ น้ำมันรำข้าว และข้อควรระวัง

4 ประโยชน์สุขภาพของ น้ำมันรำข้าว และข้อควรระวัง

น้ำมันรำข้าว เป็นน้ำมันที่ได้จากการสกัดจากส่วนนอกของเมล็ดข้าว ทำให้ได้น้ำมันที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่าง ๆ เช่น วิตามินอี สารต้านอนุมูลอิสระ อีกทั้งยังมีแคลอรี่ต่ำกว่าน้ำมันประกอบอาหารทั่วไปอย่างน้ำมันถั่วเหลืองหรือน้ำมันหมู อย่างไรก็ตาม การรับประทานน้ำมันรำข้าวอาจทำให้เกิดอาการท้องอืด ไม่สบายท้อง รวมถึงอาจก่อให้เกิดอาการแพ้ได้ ดังนั้น จึงควรรับประทานน้ำมันรำข้าวในปริมาณที่พอเหมาะ และควรหลีกเลี่ยงการรับประทานหากมีอาการแพ้

[embed-health-tool-bmr]

รู้จักกับ น้ำมันรำข้าว 

น้ำมันรำข้าว (Rice Bran Oil) คือ น้ำมันที่ถูกสกัดมาจากส่วนนอกของเมล็ดข้าว ที่เรียกว่า รำ โดยผ่านกระบวนการเฉพาะทางตามแต่ละผู้ผลิตนั้นจัดทำ ซึ่งผู้คนส่วนใหญ่มักนิยมนำน้ำมันรำข้าวมาใช้เป็นวัตถุดิบในการนำมาปรุงอาหารเพื่อสุขภาพ เพราะน้ำมันรำข้าวมีระดับแคลอรี่เพียง 120 แคลอรี่ และมีไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว 14 กรัม ที่ถือว่าเป็นไขมันที่ดี อยู่ในปริมาณที่เหมาะสมแก่การนำมาประกอบอาหารในเมนูต่าง ๆ

ตามสถาบันโภชนาการ และการกำหนดอาหาร (Academy of Nutrition and Dietetics) แนะนำว่า ควรได้รับไขมันเหล่านี้เพียงแค่ 3-10 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น เพราะในบางครั้งก็อาจกลับกลายเป็นการสร้างผลเสียแก่สุขภาพร่างกายได้แทน

ประโยชน์ของ น้ำมันรำข้าว ต่อสุขภาพ

Ritika Samaddar หัวหน้านักโภชนาการของสถาบันสุขภาพ Max Healthcare ได้กล่าวว่า น้ำมันรำข้าวอุดมไปด้วยวิตามินอีที่มีสารต้านอนุมูลอิสระจำพวก โทโคไตรอีนอล (Tocotrienols) โอไรซานอล (Oryzanol) และ สเตอรอล (Sterols) ในพืชธรรมชาติ ที่อาจสามารถให้คุณประโยชน์มากมายต่อภายในร่างกายได้ ดังต่อไปนี้

  1. มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และต้านการอักเสบ

เนื่องจากร่างกายมีเอนไซม์หลายชนิดที่อาจเข้าไปส่งผลให้เกิดการอักเสบตามจุดต่าง ๆ ของอวัยวะภายใน โดยเฉพาะบริเวณหลอดเลือด จนบางครั้งทำให้ผู้ป่วยมีอาการหลอดเลือดตีบ เม็ดเลือดแดงแข็งตัว ซึ่งนำไปสู่การเกิดโรคหัวใจในที่สุด แต่เมื่อมีการรับสารอาหารโอไรซานอล (Oryzanol) ที่อยู่ในน้ำมันรำข้าวเข้าไป อาจทำให้สารดังกล่าวข้างต้นนี้มีการไปยับยั้ง และต่อต้านปฏิกิริยาออกซิเดชัน (Oxidation) ก่อนเกิดโรคร้ายตามมาได้ในที่สุด

  1. ต้านเซลล์มะเร็ง

จากการศึกษาหนึ่งในหลอดทดลองมีการค้นพบว่าสารประกอบโทโคไตรอีนอล (Tocotrienols) จากน้ำมันรำข้าว อาจมีคุณสมบัติในการปกป้องเซลล์ในร่างกายจากรังสีไอออไนซ์ (Ionizing radiation) ที่เป็นส่วนหนึ่งในการเกิดโรคมะเร็งได้ แต่ถึงอย่างไรยังคงจำเป็นอยู่มากที่นักวิจัยต้องทำการหาข้อพิสูจน์ และข้อเท็จจริงต่อไปถึงการใช้น้ำมันรำข้าวมายับยั้งเซลล์มะเร็ง

  1. ส่งเสริมสุขภาพของหัวใจ

ในการทดลองกับอาสาสมัครผู้ที่ประสบกับโรคไขมันในเลือดสูง ทีมวิจัยนั้นได้ให้พวกเขารับประทานอาหารที่มีแคลอรี่ต่ำ และน้ำมันรำข้าวในประปริมาณ 2 ช้อนโต๊ะต่อวัน ซึ่งผลการทดสอบสรุปได้ว่า ระดับคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี มีอัตราการลดลงอย่างเห็นได้ชัด เพราะถ้าหากมีระดับสูงขึ้นนั้นอาจทำให้เป็นการเพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มน้ำหนักตัวได้ด้วยเช่นกัน

  1. ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

น้ำมันรำข้าวอาจมีส่วนช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ที่ดีขึ้น โดยเป็นการเพิ่มความต้านทานต่ออินซูลิน เพราะเนื่องจากอินซูลินเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้อาจเกิดความเสี่ยงประสบกับโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ได้

ข้อควรระวังของน้ำมันรำข้าว

ส่วนใหญ่แล้วน้ำมันรำข้าวค่อนข้างมีความปลอดภัยแก่ผู้นำมาบริโภค แต่บางกรณีนั้นก็อาจส่งผลข้างเคียงเหล่านี้ แก่ร่างกายได้เล็กน้อย

  • รู้สึกไม่สบายท้องประมาณ 2-3 สัปดาห์
  • มีก๊าซในช่องท้อง และลำไส้
  • ผื่นแดง พร้อมทั้งอาการคันบริเวณผิวหนัง

ที่สำคัญผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับอาหารทางเดินอาหาร หรือมีแผลในกระเพาะอาหาร ควรงดใช้น้ำมันรำข้าวอย่างเด็ดขาด เพราะอาจก่อให้เกิดอาการแพ้อย่างหนักได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

RICE BRAN https://www.webmd.com/vitamins/ai/ingredientmono-852/rice-bran Accessed August 21, 2020

Oil, rice bran. https://fdc.nal.usda.gov/fdc-app.html#/food-details/171013/nutrients. Accessed December 8, 2021.

Rice bran oil ameliorates hepatic insulin resistance by improving insulin signaling in fructose fed-rats. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/31275879/. Accessed December 8, 2021.

Hypoglycemic effects of a phenolic acid fraction of rice bran and ferulic acid in C57BL/KsJ-db/db mice. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17973443/. Accessed December 8, 2021.

Rice bran oil and hypocholesterolemia in rats. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/3796236/. Accessed December 8, 2021.

γ-Oryzanol suppresses COX-2 expression by inhibiting reactive oxygen species-mediated Erk1/2 and Egr-1 signaling in LPS-stimulated RAW264.7 macrophages. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/28728842/. Accessed December 8, 2021.

Tocotrienol-Rich Fraction from Rice Bran Demonstrates Potent Radiation Protection Activity. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4573888/. Accessed December 8, 2021.

Anti-aging efficacy of topical formulations containing niosomes entrapped with rice bran bioactive compounds. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/22235888/. Accessed December 8, 2021.

เวอร์ชันปัจจุบัน

24/05/2024

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

เทียบกันชัด ๆ น้ำมันหมู VS น้ำมันพืช แบบไหน ดีต่อสุขภาพหัวใจมากกว่ากัน

ประโยชน์สุขภาพของน้ำมันอาร์แกน (Argan oil) น้ำมันสกัดสารพัดประโยชน์


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 24/05/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา