backup og meta

สูตรยำตะไคร้

สูตรยำตะไคร้

บทความนี้ Hello คุณหมอ นำ สูตรยำตะไคร้ มาให้ทุกคนได้ลองทำกันดูค่ะ ขั้นตอนการทำนั้นไม่ยุ่งยากและสามารถหาซื้อวัตถุดิบได้ตามท้องตลาดทั่วไป นอกจากนี้เมนูนี้ถือได้ว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายอีกด้วย จะมีส่วนผสมและวิธีการทำอย่างไร ติดตามอ่านได้ในบทความนี้เลยค่ะ

ตะไคร้ ..สมุนไพรพื้นบ้านที่คนไทยควรรู้จัก

ตะไคร้ (Lemon Grass /Lapine) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Cymbopogon โดย ตะไคร้ นั้นถือเป็นพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยาสูง ซึ่งมีคุณประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายมากมาย เช่น ขับปัสสาวะ ปรับสมดุลระบบลำไส้ ระบบภายใน และยังสามารถนำมาสกัดทำน้ำมันหอมระเหย ช่วยบรรเทาและส่งเสริมสุขภาพจิต

นอกจากนี้คุณยังสามารถนำพืชสมุนไพรชนิดนี้มาประกอบอาหารเพื่อสุขภาพได้อีกหลากหลายเมนู เช่น ยำตะไคร้ ปลากะพงย่างตะไคร้ ไก่ผัดตะไคร้ ชาตะไคร้ เป็นต้น ทีนี้เราลองมาดู สูตรยำตะไคร้ ไปพร้อม ๆ กันค่ะ

สูตรยำตะไคร้

สำหรับ สูตรยำตะไคร้ ที่เรานำมาฝากกัน มีส่วนผสมและวิธีทำดังต่อไปนี้

ส่วนผสม

  • ตะไคร้สด 15 ก้าน
  • ขิง (สับละเอียด) ¼ ถ้วย
  • เม็ดมะม่วงหิมพานต์อบ 2 ช้อนโต๊ะ
  • กุ้งแห้ง 2 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำปลา 1 ½ ช้อนโต๊ะ
  • น้ำมะนาวสด 1 ½ ช้อนโต๊ะ
  • น้ำตาล 1 ½ ช้อนโต๊ะ
  • กุ้งแห้งทั้งตัวบดละเอียด 1 ช้อนโต๊ะ
  • พริกขี้หนูแดง 4-6 ต้น หั่นบาง ๆ
  • หอมแดงหั่นบาง ๆ 2 หัว
  • ถั่วฝักยาวดิบ (ไว้โรยหน้า)

วิธีทำ

  1. ฝาน ตะไคร้ บาง ๆ แยกใส่ถ้วยไว้
  2. นำขิง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ กุ้ง ลงในชาม
  3. ปรุงรสด้วย น้ำปลา น้ำตาล มะนาว ใส่พริกขี้หนูลงไป ตามด้วย หอมแดงซอย และคนเข้าให้เข้ากัน
  4. โรยหน้าด้วยถั่วฝักยาวเล็กน้อย และยกตักใส่จานพร้อมเสิร์ฟ

สูตรยำตะไคร้-ตะไคร้-ประโยชน์

5 คุณประโยชน์สุขภาพจากการรับประทาน ตะไคร้

ตะไคร้ เป็นพืชผักสวนครัว ที่นอกจากจะสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายเมนูแล้ว ยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ดังต่อไปนี้

  • บรรเทาความเครียด

ตะไคร้ ส่งผลดีต่อระบบการทำงานของสมอง เพียงนำมาต้มดื่มเป็นน้ำชาตะไคร้  จะช่วยผ่อนคลายจิตใจและทำให้นอนหลับได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยบรรเทาความเครียดและบรรเทาความวิตกกังวลได้อีกด้วย

  • ขับสารพิษในร่างกาย

ตะไคร้ มีคุณสมบัติในการขับสารพิษที่สะสมภายในร่างกาย รวมไปถึงสารพิษในตับและไต นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยลดระดับกรดยูริก (Uric acid) และช่วยขับปัสสาวะอีกด้วย

  • ต้านมะเร็ง

ตะไคร้ มีคุณมีสมบัติในการป้องกันการเติบโตของเซลล์มะเร็ง เช่น ยับยั้งเซลล์มะเร็งตับในระยะต้น และป้องกันการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง

  • รักษาอาการนอนไม่หลับ

ตะไคร้ ช่วยในการผ่อนคลายกล้ามเนื้อและเส้นประสาทซึ่งมีผลต่อการนอนหลับ ทำให้เราหลับง่ายขึ้น หลับได้ลึกขึ้น

  • บรรเทาอาการปวดเมื่อย

ตะไคร้ มีส่วนช่วยบรรเทาอาการปวด เช่น เคล็ดขัดยอก บรรเท่าอาการปวดประสาท การบาดเจ็บภายในและรอยฟกช้ำภาย นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มการไหลเวียนของระบบโลหิต และช่วยในการบรรเทาอาการปวดกระตุก ปวดกล้ามเนื้อ

ข้อควรระวังในการรับประทานตะไคร้

ถึงแม้ว่า ตะไคร้ จะมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากเพียงใด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะมีประโยชน์ต่อทุกคน ดังนั้นหากเราจึงต้องศึกษารายละเอียดให้ละเอียดก่อน เพื่อไม่ให้เกิดโทษกับร่างกาย โดยมีข้อควรระวังในการบริโภค ดังต่อไปนี้

  • หลีกเลี่ยงการใช้ ตะไคร้ หรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของตะไคร้หากอยู่ในช่วงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เพราะอาจทำให้เกิดการแท้งบุตรได้
  • สำหรับบางบุคคลที่มีอาการแพ้ตะไคร้ จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการรับประทานพืชสมุนไพรชนิดนี้ นอกจากนี้ในบางรายที่พบว่าตนเองอาจมีอาการแพ้ตะไคร้ โปรดปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนการรับประทานตะไคร้เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพ

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Yum Takrai (Spicy Lemongrass Salad). https://www.saveur.com/article/Recipes/Spicy-Lemongrass-Salad/. Accessed  December 14 2020.

LEMONGRASS. https://www.webmd.com/vitamins/ai/ingredientmono-719/lemongrass. Accessed  December 14 2020.

Health benefits of Lemongrass. https://timesofindia.indiatimes.com/blogs/nutrigram/health-benefits-of-lemongrass/.Accessed  December 14 2020.

The Health Benefits of Lemongrass. https://www.verywellfit.com/lemongrass-benefits-side-effects-and-preparations-4178847. Accessed  December 14 2020.

Health Benefits of Lemongrass and How to Use It. https://www.emedihealth.com/lemongrass.html. Accessed  December 14 2020.

27 Health Benefit of The Aromatic Healer : Lemon Grass https://www.thailandmedical.news/news/27-health-benefits-of-the-aromatic-healer-lemon-grass-%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B8%AD%E0%B8%A1-dta–khrai. Accessed  December 14 2020.

เวอร์ชันปัจจุบัน

16/12/2020

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

สูตรยำขนุนอ่อน


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 16/12/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา