หลายๆ คนคงเคยอดอาหารทั้งวันเพื่อให้ได้ กินมื้อหนักๆ ที่คุ้มจุใจอย่าง บุฟเฟ่ต์ชาบู ปิ้งย่าง แต่พอทานไปทานมากลับอิ่มไวสะงั้น ไม่คุ้มกับเสียเงินไปเลยใช่ไหม? และยังส่งผลเสียให้กับร่างกายอีกด้วยนะ เพราะอาจทำให้ ร่างกายขาดสารอาหาร ได้ มาดูแลสุขภาพให้ห่างจากภาวะนี้ กับ Hello คุณหมอ กันเถอะ
ร่างกายขาดสารอาหาร (Refeeding syndrome) คือ ..
ร่างกายขาดสารอาหาร (Refeeding syndrome) เป็นกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นเมื่อผู้ที่มีภาวะขาดสารอาหาร หรืออดอาหารเป็นเวลานาน หากกลับมารับประทานอาหารอีกครั้ง จะทำให้ทานได้น้อยลงกว่าเดิม หรืออิ่มง่ายขึ้น เนื่องจากร่างกายขาดน้ำตาลกลูโคสที่เป็นตัวช่วยในการเพิ่มพลังไปเลี้ยงส่วนต่างๆ จนทำให้ต้องดึงแร่ธาตุอื่นๆ ที่อยู่ในร่างกายไปทดแทนเสียก่อน
อีกสาเหตุหนึ่ง คือ ถ้าหากร่างกายได้รับคาร์โบไฮเดรตในปริมาณมาก หรือคุณรับประทานเกินควร สามารถส่งผลต่อการทำลายสมดุลของอิเล็กโทรไลต์ (Electrolyte) ได้เช่นกัน ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ทำให้สารอาหารที่มีประโยชน์เข้าสู่เซลล์ และแปรเปลี่ยนเป็นกลูโคสเพื่อไปกระจายพลังงาน ให้คุณสามารถมีแรงในการทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ อย่างไม่ติดขัด
อาการแทรกซ้อนจากการอดอาหารเป็นเวลนาน
- เกิดความเมื่อยล้า อ่อนเพลีย ปวดเมื่อย
- สับสนทางอารมณ์
- หายใจติดขัด
- สภาวะหัวใจล้มเหลว
- ความดันโลหิตสูง
- คลื่นไส้ อาเจียน ชัก
- ระบบประสาท และกล้ามเนื้อผิดปกติ
- ระดับโซเดียมผิดปกติ
อาการดังกล่าว มักจะปรากฏขึ้นหลังจากคุณอดอาหารภายใน 3-4 วัน บางคนอาจไม่มีแนวโน้มที่จะมีอาการรุนแรง แต่สำหรับบางคนมักเกิดความเสี่ยงที่ส่งผลต่อสุขภาพร่างกาย ดังนั้นการเรียนรู้วิธีที่จะรักษาจึงมีความสำคัญ
รักษาสุขภาพให้ปลอดภัยจาก ร่างกายขาดสารอาหาร
ผู้ที่มีภาวะขาดสารอาหารควรรับการรักษาโดยแพทย์ ไม่ควรเพิ่มความเสี่ยงซื้อยารับประทานด้วยตัวเอง โดยวิธีการรักษาทางการแพทย์จะปรับระดับอิเล็กโทรไลต์ (Electrolyte) ให้เข้าสู่ภาวะปกติโดยส่งผ่านเข้าสู่หลอดเลือดดำ ทดแทนวิตามิน แร่ธาตุในร่างกายที่เสียไป เช่น วิตามินบี
ยังมีบุคคลกลุ่มหนึ่งซึ่งใช้การอดอาหารเพื่อลดน้ำหนัก ซึ่งทำให้สูญเสียกล้ามเนื้อ หรือทำให้การทำงานของกล้ามเนื้อของคุณผิดปกติเหมือนอาการข้างต้นที่กล่าวมา และนำคุณไปสู่โรคโลหิตจาง ประสิทธิภาพของภูมิคุ้มกันน้อยลง เนื่องจากร่างกายขาดวิตามิน แร่ธาตุ ทำให้ไม่ได้รับสารอาหารตามโภชนาการในแต่ละวัน
การอดอาหารเพื่อลดน้ำหนัก นอกจากจะทำให้เกิดโรคต่างๆ แล้ว ยังทำให้น้ำหนักของคุณเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิมด้วยซ้ำ เพราะการอดอาหารไปกระตุ้นให้คุณรู้สึกหิว เมื่อเริ่มรับประทานอย่างใดอย่างหนึ่งคุณจะไม่สามารถหยุดทานได้ บุคคลกลุ่มนี้สามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมโดย…
- การดื่มน้ำผัก ผลไม้ นม หรือเครื่องดื่มที่มีไขมันต่ำ
- งดแอลกอฮอล์
- ใช้ยาระบาย อาหารเสริมในการดีท็อก (Detox)
- รับประทานอาหารเช้าทุกวัน เพราะเป็นมื้อที่สำคัญส่งผลไปสู่การใช้พลังงาน และลดอาหารในมื้อเย็น งดกินในมื้อดึกก่อนเข้านอน
- คำนวณแคลอรี่ให้พอเหมาะกับร่างกายของคุณ
- รับประทานของว่างจำพวกธัญพืช เช่น ขนมปังโฮลวีต คุ้กกี้ข้าวโอ๊ต
โภชนาการทางด้านอาหารที่ร่างกายคุณควรได้รับ
แต่ละวันคุณควรรับสารอาหารที่เพียงพอต่อร่างกาย ซึ่งวัดได้เป็นหน่วยกิโลแคลอรี่ ได้แก่
- คาร์โบไฮเดรต 4 กิโลแคลอรี่ (kcal)ต่อกรัม เป็นอาหารที่มีโมเลกุลของโมโนแซคคาไรด์ (monosaccharides)และโพลีแซคคารไรด์ (polysaccharides) คืออาหารจำพวกแป้ง ข้าว
- โปรตีน 4 กิโลแคลอรี่ (kcal) ต่อกรัม ซึ่งมีกรดอะมิโน 20 ชนิด เช่น ไข่ เนื้อสัตว์ เมล็ดถั่ว
- ไขมัน 9 กิโลแคลอรี่ (kcal) ไขมันจำเป็นในอาหารเพื่อสุขภาพ เนื่องจากทำหน้าที่ในการลดความขัดกันของข้อต่อ ผลิตฮอร์โมนในการดูดซึมวิตามิน และสามารถบำรุงสมอง
- ไฟเบอร์ (Fiber) ซึ่งอยู่ในกลุ่มของผักผลไม้เป็นหลัก ช่วยไรเรื่องล้างแบคทีเรียในลำไส้ เป็นส่วนสำคัญของโภชนาการเช่นกัน
- น้ำ ประมาณ 70% ของร่างกายมนุษย์ล้วนมีน้ำเป็นส่วนประกอบ โดยควรรับประทานน้ำวันละ 1-7 ลิตร เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะขาดน้ำ
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
[embed-health-tool-bmr]