backup og meta

อาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านม อะไรกินได้ อะไรควรเลี่ยง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 29/09/2020

    อาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านม อะไรกินได้ อะไรควรเลี่ยง

    มะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 1 ของผู้หญิงไทย และมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเป็นมะเร็งเต้านมแล้ว แน่นอนว่าจะต้องมีพร้อมความเครียด และอาการต่างๆ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ดังนั้นเราจึงต้องมีโภชนาการที่ดี เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่เพียงพอ ในการต่อสู้กับโรคร้ายนี้ วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลเกี่ยวกับ อาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ว่าควรรับประทานอะไรมาให้อ่านกันค่ะ

    การกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ

    การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์นั้น มีผลอย่างมากสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นมะเร็งเต้านม โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในช่วงรักษาและหลังการรักษา การรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพนั้น มีส่วนช่วยให้ร่างกายมีความแข็งแรง และช่วยให้ร่างกายรู้สึกดีได้เร็วขึ้น ซึ่งอาหารที่ดีต่อสุขภาพนั้น มีคุณสมบัติดังนนี้

    เคล็ดลับที่ช่วยให้มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ

    ลดขนาดของมื้ออาหารลง

    อาการคลื่นไส้ ท้องอืด และอาการท้องผูกเป็นผลข้างเคียงของการรักษาอาการมะเร็งเต้านม การรับประทานอาหารมื้อใหญ่ๆ 3 มื้อต่อวัน อาจกลายเป็นเรื่องยาก ดังนั้นเพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่เพียงพอเหมือนเดิมควรแบ่งมื้ออาหารออกเป็นมื้อเล็กๆ วันละ 5-6 มื้อต่อวัน กินทีละน้อยๆ และเพิ่มมื้ออาหารเข้าไป เพื่อที่ร่างกายจะได้รับสารอาหารที่เพียงพอ

    ปรึกษานักโภชนาการ

    การปรึกษานักโภชนาการเพื่อออกแบบแผนการรับประทานอาหารเพื่อให้เหมาะสมกับสุขภาพและความชอบ นอกจากจะได้รับประทานอาหารที่ชอบ ในรูปแบบที่ดีต่อสุขภาพแล้ว ยังช่วยเลือกอาหารที่มีความสมดุลกับผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากการรักษาให้เราได้อีกด้วย

    ใช้ช้อนซ้อมจากวัสดุที่แตกต่างกัน

    การบำบัดมะเร็งด้วย เคมีบำบัดนั้นอาจทำให้การรับรสชาติในปากนั้นมีการเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นเพื่อปรับปรุงการรับรสชาติอาหารของคุณ ให้หลีกเลี่ยงการใช้ช้อนโลหะ แล้วลองเปลี่ยนมาใช้ช้อนพลาสติกแทนและปรุงอาหารด้วยกะทะ หมอแบบแก้วแทน

    วางแผนล่วงหน้า

    การสร้างแผนอาหารล่วงหน้านั้น ช่วยให้คุณมีแนวโน้มที่จะปฏิบัติตามแผนที่วางไว้มากขึ้น นอกจากในวันที่เหนื่อยกับการรักษามะเร็งเต้านม เมื่อมีการวางแผน ทำไว้ล่วงหน้า ก็จะช่วยให้รับประทานอาหารตามแผนที่วางไว้ได้ง่ายขึ้น

    อาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านม

    อาการคลื่นไส้ อาเจียน และเป็นแผลในปากนั้นล้วนเป็นผลข้างเคียงที่มาจากการรักษาโรคมะเร็งเต้านม ซึ่งทำให้คุณนั้นรู้สึกไม่สบายท้อง เจ็บที่ปาก จนรับประทานอะไรไม่ลง ดังนั้นการรับประทานอาหารที่มีความสมดุลนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมากเมื่อคุณเป็น มะเร็งเต้านม การที่ร่างกายได้รับโภชนาการที่เหมาะสมช่วยให้ร่างกายสามารถต่อสู้กับผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้ นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยให้กล้ามเนื้อมีความแข็งแรงอีกด้วย ซึ่งอาหารเหล่านี้ถือเป็นโภชนาการที่ดีสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านม

    ผักและผลไม้

    การเลือกรับประทานผักและผลไม้ที่มีสีสันแตกต่างกันออกไป เลือกรับประทานผักและผลไม้ที่มีความหลากหลาย ช่วยให้ร่างกายนั้นได้รับสารอาหารทั้งวิตามินและแร่ธาตุที่มากขึ้น ที่สำคัญควรเลือกรับประทานผักตระกูลกะกล่ำ เช่น กะหล่ำปลี บร๊อคโคลี กะหล่ำดอก เพราะพืชเหล่านี้มีคุณสมบัติในการต่อต้านเอสโตรเจน (Estrogen) ซึ่งเป็นฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่มีในร่างกายผู้หญิง และยังเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดมะเร็งเต้านมอีกด้วย นอกจากนี้เบอร์รี่ต่างๆ แอปเปิล กระเทียม มะเขือเทศ แครอท ก็เป็นตัวเลือกที่ดีเช่นกัน ดังนั้นในแต่ละมื้อควรมีผักและผลไม้

    ธัญพืช

    ขนมปังโฮลวีท ข้าวโอ๊ต และเมล็ดธัญพืชอื่นๆ ที่มีปริมาณไฟเบอร์สูง ช่วยลดอาการท้องผูกที่เกิดจากการใช้ยารักษามะเร็งบางชนิด ดังนั้นในแต่ละวันผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ควรรับประทานไฟเบอร์อย่างน้อย 25-30 กรัมทุกวัน

    ถั่วและพืชตระกูลถั่ว

    ถั่วและพืชตระกูลถั่วเหล่านี้ถือเป็นแหล่งโปรตีนที่ดี แถมยังมีไขมันที่ต่ำ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสุขภาพที่ดีสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านม จะกินขบเขี้ยวแทนขนมก็ได้

    โปรตีน

    โปรตีน เป็นสารอาหารที่มีความจำเป็นกับร่างกายมาก เพราะช่วยให้เนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อมีความแข็งแรง แต่ควรเลือกโปรตีนที่ดีต่อสุขภาพ อย่างเช่น อกไก่ไร้หนัง โปรตีนจากปลา โดยเฉพาะปลาที่มีไขมัน เช่น ปลาทูน่า ปลาแซลมอน นอกจากนี้แหล่งโปรตีนจากพืช อย่างเต้าหู้และถั่ว ก็ถือเป็นโปรตีนที่ดีต่อสุขภาพเช่นกัน

    อาหารที่ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมควรหลีกเลี่ยง

    อาหารและโภชนาการเป็นส่วนที่มีความสำคัญกับร่างกายมาก โดยเฉพาะผู้ป่วย สำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมเองก็มีอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงเช่นกัน ดังนี้

    • เนื้อสัตว์ที่มีไขมันสูงและผลิตภัณฑ์จากนม
    • แอลกอฮอล์
    • ขนมหวาน เช่น คุ้กกี้ เค้ก ลูกอม
    • อาหารที่ปรุงไม่สุก

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 29/09/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา