backup og meta

อาหารเสริม วิตามินและแร่ธาตุ สำคัญมากแค่ไหน

อาหารเสริม วิตามินและแร่ธาตุ สำคัญมากแค่ไหน

ในปัจจุบัน อาหารเสริม เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยเสริม วิตามินและแร่ธาตุ ที่ร่างกายขาดไป เช่น อาหารเสริมแคลเซียม อาหารเสริมวิตามินซี อย่างไรก็ตาม ความต้องการในการรับประทานอาหารเสริมอาจจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละคน ดังนั้น จึงควรปรึกษาคุณหมอหรือเภสัชกรก่อนรับประทานอาหารเสริม

[embed-health-tool-bmi]

อาหารเสริม วิตามินและแร่ธาตุ จำเป็นหรือไม่

โดยทั่วไปแล้วคนเราไม่จำเป็นที่จะต้องรับประทานวิตามินและแร่ธาตุผ่านการรับประทานอาหารเสริม เพราะร่างกายของเราสามารถที่จะได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ต่างๆ เช่น วิตามินซี วิตามินเอ แคลเซียม ธาตุเหล็ก โพแทสเซียม แมกนีเซียม หรือสารต้านอนุมูลอิสระชนิดต่างๆ ผ่านการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว

ตัวอย่างเช่นการรับประทาน ผัก ผลไม้ ปลา เนื้อสัตว์ต่างๆ ผลิตภัณฑ์จากนม ธัญพืช หรือขนมปังอาหารที่มีประโยชน์เหล่านี้ หากรับประทานอย่างเหมาะสม และเพียงพอ ก็จะให้สารอาหารที่มีประโยชน์ทั้งวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกายในระดับที่เพียงพออยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องเสริมด้วยการรับประทานวิตามินหรืออาหารเสริมเพิ่มปริมาณของสารอาหารอีก

วิตามินจากอาหาร-อาหารเสริมวิตามินและแร่ธาตุ-จำเป็นหรือไม่

ใครบ้างที่ควรได้รับ อาหารเสริม

แม้ปกติแล้วการรับประทานวิตามินและอาหารเสริมจะเป็นเรื่องที่จัดว่าไม่มีความจำเป็นสักเท่าใดนัก แต่…ยังมีคนบางกลุ่มที่จำเป็นจะต้องได้รับวิตามินและแร่ธาตุในรูปแบบของอาหารเสริม เนื่องจากมีอาการทางสุขภาพในกลุ่มของโรคที่เกี่ยวกับ โรคขาดสารอาหาร (Undernutrition) เช่น

  • ภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ (Hyponatremia)
  • ภาวะโพแทสเซียมต่ำ (Hypokalemia)
  • รคคอพอก (Goiter)
  • ภาวะขาดวิตามินดี (Vitamin D insufficiency)
  • ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำกว่าปกติ (Hypocalcemia)

ทั้งนี้ภาวะที่ร่างกายมีสารอาหารบางชนิดต่ำกว่าที่ควรจะเป็นนั้น แพทย์หรือเภสัชกรอาจมีความจำเป็นต้องวินิจฉัยให้มีการรับประทานอาหารเสริมวิตามินและแร่ธาตุ ที่ช่วยเสริมสารอาหารที่ร่างกายขาดหรือมีน้อยเกินไป เพื่อให้สารอาหารในร่างกายเกิดความสมดุล

นอกจากนี้ยังอาจร่วมถึงผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ที่จำเป็นต้องได้รับวิตามินและแร่ธาตุเสริมบางประเภท เช่น ไอโอดีน กรดโฟลิก วิตามินต่างๆ หรือธาตุเหล็ก เพื่อสุขภาพของทารกในครรภ์ รวมถึงผู้สูงอายุก็อาจจำเป็นที่จะต้องรับประทานวิตามินบางชนิดเสริมเพื่อลดความเสี่ยงต่อสุขภาพ เช่น ผู้สูงอายุอาจต้องรับประทานวิตามินดีในรูปแบบของอาหารเสริมประมาณ 800 หน่อยต่อวัน

วิตามินและแร่ธาตุแบบอาหารเสริม กับวิตามินจากการรับประทานอาหาร เลือกอะไรดี

อาหารเสริมไม่ได้ถูกผลิตขึ้นมาทดแทนการมีอยู่ของสารอาหารในอาหารต่างๆ ดังนั้นสารอาหารที่ได้จากการรับประทานอาหารเสริมจึงให้ประโยชน์ที่ไม่เท่ากับวิตามินและแร่ธาตุที่ได้จากอาหารธรรมชาติ นอกจากนี้สารอาหารที่ได้จากการกินอาหารก็ยังให้ความเสี่ยงต่อสุขภาพน้อยกว่าอาหารเสริมด้วย เพราะอาหารเสริมบางชนิดหากรับประทานในปริมาณที่มากจนเกินไป ก็เสี่ยงที่จะมีผลต่ออาการทางสุขภาพได้

อย่างไรก็ตาม มีอยู่ 3 ข้อหลักๆ ที่แสดงให้เห็นว่าวิตามินและแร่ธาตุ ที่ได้จากการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์นั้นดีกว่าการรับประทานอาหารเสริม ได้แก่

  • อาหารจากธรรมชาติให้สารอาหารที่หลากหลายกว่า อาหารหนึ่งชนิดสามารถให้วิตามินและแร่ธาตุมากกว่า 1 ชนิดขึ้นไป ในขณะที่วิตามินและอาหารเสริมแต่ละชนิดก็มักจะให้สารอาหารแค่เพียงแค่ชนิดเดียวหรือจำเพาะเป็นชนิดๆ ไป ไม่หลากหลายเท่ากับสารอาหารที่ได้จากอาหารธรรมชาติ
  • อาหารจากธรรมชาติเช่นผักและผลไม้จะมีใยอาหาร หรือไฟเบอร์ ซึ่งอาหารเสริมมักจะไม่มี โดยไฟเบอร์มีประโยชน์ต่อร่างกายเป็นอย่างมาก ช่วยในการย่อยอาหาร ดีต่อระบบขับถ่าย ป้องกันอาการท้องผูก ช่วยในการลดน้ำหนัก ป้องกันโรคหัวใจ และโรคเบาหวาน
  • อาหารที่ได้จากธรรมชาติจะให้สารอาหารที่มีส่วนช่วยในการป้องกันการสึกหรอของร่างกาย นั่นคือ สารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidants) ซึ่งไม่ค่อยพบในกลุ่มอาหารเสริมวิตามินและแร่ธาตุ โดยสารต้านอนุมูลอิสระจะช่วยป้องกันความเสียหายของเซลล์ในร่างกาย ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคมะเร็ง 

อาหารเสริมวิตามินและแร่ธาตุ ควรรับประทานในปริมาณเท่าใด

การรับประทานอาหารเสริมเพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์อย่างเพียงพอนั้น ก็มีข้อจำกัดในเรื่องของปริมาณในการรับประทาน ซึ่งหากรับประทานในระดับที่เหมาะสม ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์และเภสัชกร ก็จะได้รับประโยชน์จากอาหารเสริมอย่างเต็มที่ แต่โดยทั่วไปแล้วควรจะต้องได้รับในปริมาณที่จำกัดเพื่อความปลอดภัยต่อร่างกาย ดังนี้

วิตามินและแร่ธาตุ 

ปริมาณที่ควรได้รับ

ปริมาณจำกัด(ไม่ควรเกิน)

แคลเซียม 1,000-1,200 มิลลิกรัม 2,000 มิลลิกรัม
โฟเลต 400 ไมโครกรัม 1,000 ไมโครกรัม
ธาตุเหล็ก 8 มิลลิกรัม 45 มิลลิกรัม
วิตามินเอ 700 ไมโครกรัม อาร์เออี 3,000 ไมโครกรัม อาร์เออี
วิตามินบี6 1.5 มิลลิกรัม 100 มิลลิกรัม
วิตามินบี12 2.4 ไมโครกรัม ไม่มีการระบุปริมาณจำกัด
วิตามินซี 75 มิลลิกรัม 2,000 มิลลิกรัม
วิตามินดี 600-800 หน่วย (IU) 4,000 หน่วย (IU)
วิตามินอี 15 มิลลิกรัม 1,000 มิลลิกรัม

ข้อแนะนำก่อนการรับประทานอาหารเสริมวิตามินและแร่ธาตุ

  • ปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนรับประทานวิตามินและอาหารเสริมเสมอ
  • ตรวจสอบฉลากก่อนรับประทานเสมอ เพื่อดูส่วนประกอบ ปริมาณสารอาหาร วันที่ผลิตและวันหมดอายุ
  • รับประทานในปริมาณที่เหมาะสม การรับประทานวิตามินและอาหารเสริมมากเกินไปอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้
  • สังเกตวิถีการรับประทานอาหารของตนเอง เพราะวิตามินและแร่ธาตุที่ได้จากการรับประทานอาหารอาจเพียงพออยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องได้รับจากอาหารเสริมอีก

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Do I need vitamin supplements?. https://www.nhs.uk/common-health-questions/food-and-diet/do-i-need-vitamin-supplements/#:~:text=Most%20people%20do%20not%20need,small%20amounts%20to%20work%20properly. Accessed on July 1, 2020.

Supplements: Nutrition in a pill?. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/nutrition-and-healthy-eating/in-depth/supplements/art-20044894#:~:text=The%20Dietary%20Guidelines%20for%20Americans,nutrients%20they%20might%20otherwise%20lack. Accessed on July 1, 2020.

Do you need a daily supplement?. https://www.health.harvard.edu/staying-healthy/do-you-need-a-daily-supplement. Accessed on July 1, 2020.

Dietary supplements: Do they help or hurt?. https://www.health.harvard.edu/staying-healthy/dietary-supplements-do-they-help-or-hurt. Accessed on July 1, 2020.

Dietary Supplements: What You Need to Know. https://ods.od.nih.gov/factsheets/WYNTK-Consumer/. Accessed August 2, 2023.

เวอร์ชันปัจจุบัน

02/08/2023

เขียนโดย Khongrit Somchai

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาหารเสริม เบาหวาน ที่อาจช่วยให้ควบคุมเบาหวานได้ดีขึ้น

สุดยอด วิตามินและอาหารเสริม สำหรับไมเกรน


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 02/08/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา