backup og meta

อาหารบำรุงตับ และอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง

อาหารบำรุงตับ และอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง

อาหารบำรุงตับ เป็นอาหารที่อาจช่วยปรับสมดุลและเสริมสร้างการทำงานของตับให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ การเปลี่ยนมารับประทานอาหารที่ดีต่อตับ อาจช่วยปกป้องตับจากสารพิษ ไขมัน แป้ง ซึ่งส่งผลทำให้ตับทำงานหนักและอาจเพิ่มความเสี่ยงโรคตับและมะเร็งตับได้

[embed-health-tool-bmi]

อาหารบำรุงตับ ที่ควรรับประทาน

  • กาแฟ

มีงานวิจัยหนึ่งระบุว่า กาแฟ อาจช่วยเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระ และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเอนไซม์ตับ ในการกำจัดสารก่อมะเร็งในร่างกาย นอกจากนี้การดื่มกาแฟทุกวันอาจช่วยลดความเสี่ยงโรคตับเรื้อรัง ลดความเสี่ยงโรคมะเร็งตับ และปัญหาตับอื่น ๆ เช่น โรคไขมันพอกตับ (Non-alcoholic fatty liver disease :NAFLD)

  • ชาเขียว

งานวิจัยหนึ่งระบุว่า ชาเขียวอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่เรียกว่า คาเทชิน (Catechins) ซึ่งอาจช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งตับ และมะเร็งบางชนิด ทั้งนี้การดื่มชาเขียวแท้จากธรรมชาติ อาจส่งผลดีต่อสุขภาพมากกว่าสารสกัดจากชาเขียว หรือชาเขียวแปรรูป เพราะการสกัดหรือการแปรรูปอาจทำลายคุณประโยชน์ในชาเขียวได้

  • ถั่ว

ถั่ว อุดมไปด้วยไขมันไม่อิ่มตัว วิตามินอี และสารต้านอนุมูลอิสระ สารเหล่านี้อาจช่วยบำรุงตับให้แข็งแรง และมีงานวิจัยระบุว่า อาจช่วยป้องกันโรคไขมันพอกตับได้ และลดการอักเสบได้อีกด้วย

  • ข้าวโอ๊ต

งานวิจัยหนึ่งระบุว่า ข้าวโอ๊ต มีเบต้ากลูแคน (Beta-glucans) สูง และมีเส้นใยอาหารที่ช่วยในการย่อย ช่วยลดน้ำหนักส่วนเกินและไขมันหน้าท้อง ซึ่งอาจทำให้ตับทำงานได้ดีขึ้นและช่วยป้องกันโรคตับได้ นอกจากนี้เบต้ากลูแคนยังมีฤทธิ์ช่วยปรับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ป้องกันการอักเสบ และช่วยป้องกันโรคอ้วนและโรคเบาหวานได้อีกด้วย

ควรรับประทานข้าวโอ๊ตเต็มเมล็ดที่ไม่ผ่านการแปรรูป เพราะข้าวโอ๊ตแปรรูปอาจเติมแป้ง หรือน้ำตาลที่ส่งผลเสียต่อตับได้

  • ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่

ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ เช่น บลูเบอร์รี่ แครนเบอร์รี่ ราสเบอร์รี่ มีสารต้านอนุมูลอิสระที่เรียกว่า โพลิฟินอล (Polyphenols) ซึ่งอาจช่วยป้องกันโรคไขมันพอกตับ โรคอ้วนและคอลเลสตอรอลสูง นอกจากนี้ยังอาจช่วยบรรเทาอาการพังผืดในตับได้อีกด้วย

สารโพลิฟินอลนอกจากจะพบได้มากในผลไม้ตระกูลเบอร์รี่แล้ว ยังอาจพบได้ในอาหารอื่น ๆ เช่น ดาร์กช็อกโกแลต มะกอก พลัม

  • ส้มโอ

ส้มโอ อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ 2 ชนิด คือ นารินจิน (Naringin) และนารินจินิน (Naringenin) ซึ่งช่วยป้องกันตับอักเสบ ปกป้องเซลล์ตับ และป้องกันโรคไขมันพอกตับที่เกิดจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก

สำหรับผู้ที่ต้องกินยารักษาโรคบางชนิดควรปรึกษาคุณหมอก่อนกินส้มโอ เนื่องจากยาบางชนิดอาจทำปฏิกิริยาต่อส้มโอ และทำให้สารอาหารในส้มโอถูกทำลาย หรือทำให้ยามีประสิทธิภาพลดลงได้

  • น้ำมันปลา

การรับประทานปลาที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน หรืออาหารเสริมน้ำมันปลา มีงานวิจัยหนึ่งระบุว่า อาจช่วยป้องกันโรคไขมันพอกตับที่ไม่เกิดจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ นอกจากนี้กรดไขมันโอเมก้า 3 ยังช่วยลดการอักเสบ ป้องกันการสะสมของไขมันส่วนเกิน และรักษาระดับเอนไซม์ ในตับอีกด้วย

  • น้ำมันมะกอก

มีงานวิจัยหนึ่งระบุว่า การกินน้ำมันมะกอกที่เป็นไขมันดี อาจช่วยปรับปรุงการทำงานของตับและช่วยลดโอกาสเกิดภาวะเครียดจากออกซิเดชัน (Oxidative stress) ที่ทำให้อนุมูลอิสระและสารอันตรายอื่น ๆ เพิ่มขึ้น และอาจทำให้เซลล์เสื่อมเร็วขึ้น

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง

อาหารที่อาจส่งผลเสียต่อตับ หรือเพิ่มความเสี่ยงโรคตับและมะเร็งตับที่ควรหลีกเลี่ยง มีดังนี้

  • อาหารประเภทแป้ง และมีเส้นใยต่ำ เช่น ขนมปังขาว พาสต้า ขนมเค้ก
  • น้ำตาลและเกลือ เช่น อาหารกระป๋อง เนื้อสัตว์แปรรูป ขนมหวาน ลูกอม
  • อาหารที่มีไขมันอิ่มตัว เช่น อาหารทอด อาหารฟาสต์ฟู้ด ขนมขบเคี้ยว อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวจำนวนมากอาจทำให้ตับอักเสบ และนำไปสู่โรคตับแข็งได้
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

การลดอาหารจำพวกนี้จะช่วยลดสารพิษเข้าสู่ร่างกาย และลดการทำงานของตับ ให้ตับได้หยุดพักและฟื้นฟูประสิทธิภาพการทำงานมากขึ้น

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Association between nut consumption and non-alcoholic fatty liver disease in adults. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/31162803/. Accessed September 14, 2021

Fish oil alleviated high-fat diet-induced non-alcoholic fatty liver disease via regulating hepatic lipids metabolism and metaflammation: a transcriptomic study. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/26832365/. Accessed September 14, 2021

Plants Consumption and Liver Health. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4499388/.

Coffee and liver health. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/25291138/. Accessed September 14, 2021

Green tea and liver cancer risk: A meta-analysis of prospective cohort studies in Asian populations. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/26412579/. Accessed September 14, 2021

Olive oil antioxidants and non-alcoholic fatty liver disease. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/31215262/. Accessed September 14, 2021

Clinical and Physiological Perspectives of β-Glucans: The Past, Present, and Future. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5618555/. Accessed September 14, 2021

Nopal Cactus (Opuntia ficus-indica) as a Source of Bioactive Compounds for Nutrition, Health and Disease. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6270776/. Accessed September 14, 2021

Practical Dietary Recommendations for the Prevention and Management of Nonalcoholic Fatty Liver Disease in Adults. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/29438460/. Accessed September 14, 2021

What foods protect the liver?. https://www.medicalnewstoday.com/articles/323915#12-best-foods. Accessed September 14, 2021

14 Best and Worst Foods for Your Liver. https://www.webmd.com/hepatitis/ss/slideshow-best-and-worst-foods-for-your-liver. Accessed September 14, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

23/09/2021

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

5 อันดับอาหารต้องห้าม สำหรับ ผู้ป่วยโรคตับอักเสบ

น้ำมันปลา กับ น้ำมันตับปลา ชื่อเกือบคล้ายกัน แต่ความจริงต่างกันมากนะ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 23/09/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา