backup og meta

มาลาเรีย อาการ สาเหตุ และการรักษา

มาลาเรีย อาการ สาเหตุ และการรักษา

มาลาเรีย เป็นโรคที่เป็นอันตรายต่อชีวิตเกิดจากปรสิตชนิดหนึ่ง หากยุงก้นปล่องกัด ปรสิตพลาสโมเดียมที่เป็นสาเหตุของมาลาเรียอาจแพร่กระจายไปยังกระแสเลือด ส่งผลให้มีอาการหนาวสั่นและมีไข้ซ้ำที่เกิดขึ้นตามรอบ ที่มีอาการ คือ 2-3 วันใน 1 รอบ

[embed-health-tool-heart-rate]

คำจำกัดความ

มาลาเรีย คืออะไร

มาลาเรีย (Malaria) เป็นโรคที่เป็นอันตรายต่อชีวิตที่เกิดจากปรสิตชนิดหนึ่ง หากยุงก้นปล่องกัดเชื้อปรสิตพลาสโมเดียมที่เป็นสาเหตุของมาลาเรียอาจแพร่กระจายไปยังกระแสเลือด ส่งผลให้อาจมีอาการหนาวสั่นและมีไข้ซ้ำที่เกิดขึ้นตามรอบที่มีอาการ คือ 2-3 วันใน 1 รอบ

มาลาเรียพบได้บ่อยเพียงใด

มาลาเรียพบในประเทศเขตร้อนและเขตกึ่งร้อน มากกว่าเขตภูมิอากาศแถบอบอุ่น อาจส่งผลต่อคนทุกวัย มาลาเรีย อย่างไรก็ตาม มาลาเรียอาจจัดการได้โดยลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาคุณหมอสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

อาการ

อาการของมาลาเรีย

สิ่งบ่งชี้และอาการของมาลาเรียที่พบได้ทั่วไป อาจมีดังนี้

  • อาการหนาวสั่นในระดับปานกลางถึงรุนแรง
  • มีไข้สูง
  • มีเหงื่อออกมาก
  • ปวดศีรษะ
  • อาเจียน คลื่นไส้
  • ท้องเสีย
  • เลือดจาง
  • ปวดกล้ามเนื้อ
  • มีอาการชัก
  • หมดสติ
  • อุจจาระมีเลือดปน

อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการต่าง ๆ โปรดปรึกษาคุณหมอ

ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด

ควรไปพบคุณหมอหากมีอาการใด ๆ ดังต่อไปนี้

  • มีไข้สูงในขณะที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ หรือหลังจากเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงสำหรับมาลาเรีย
  • มีไข้สูงถึงแม้ว่าเวลาผ่านไปหลายสัปดาห์ หลายเดือน หรือ 1 ปี หลังจากกลับจากเดินทางท่องเที่ยว

หากมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาคุณหมอ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาคุณหมอ เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของตัวเอง

สาเหตุ

สาเหตุของมาลาเรีย

ปรสิตที่มองเห็นได้จากกล้องจุลทรรศน์ประเภทหนึ่ง ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พลาสโมเดียม อาจเป็นสาเหตุของมาลาเรีย มีการติดต่อได้มากที่สุดผ่านทางยุง โดยเฉพาะยุงก้นปล่องตัวเมีย ที่ส่วนใหญ่จะกัดในเวลาค่ำและกลางคืน

ปรสิตพลาสโมเดียมมีเพียง 5 ชนิดจากหลากหลายชนิด ที่เป็นสาเหตุของมาลาเรียในมนุษย์ เมื่อถูกยุงกัด ปรสิตแพร่กระจายเข้าไปในกระแสเลือด เมื่อปรสิตอยู่ภายในร่างกายจะแพร่กระจายไปยังตับเพื่อเติบโต ซึ่งปรสิตบางชนิดสงบอยู่เป็นเวลานานเป็นปี หลังจากเวลาผ่านไปหลายวัน ปรสิตที่โตเต็มวัยแพร่กระจายเข้าไปในกระแสเลือด และเริ่มแพร่เชื้อไปยังเซลล์เม็ดเลือดแดง โดยปกติภายใน 48-72 ชั่วโมง ซึ่งทำให้เซลล์ที่ติดเชื้อแตกออก

ถึงแม้ว่าพบได้ยาก แต่ยังสามารถเป็นมาลาเรียได้ผ่านการถ่ายเลือด และการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงของมาลาเรีย

มีปัจจัยเสี่ยงสำหรับมาลาเรียอาจมีหลายประการ ดังนี้

  • อาศัยอยู่ในหรือไปเที่ยวในเขตร้อนที่พบโรคนี้ได้ง่าย เช่น ประเทศในทวีปแอฟริกา ภาคใต้ของทะเลทรายซาฮาร่า อนุทวีปเอเชีย หมู่เกาะโซโลม่อน ปาปัวนิวกินี เฮติ
  • ผู้ที่อายุน้อย โดยเฉพาะเด็กและเด็กแรกเกิด
  • ความยากจน
  • ขาดการศึกษา
  • เข้าถึงการดูแลสุขภาพไม่ได้หรือได้น้อย

การวินิจฉัยและการรักษามาลาเรีย

ข้อมูลที่นำเสนอมิได้ใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ ให้ปรึกษาคุณหมอสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม 

การวินิจฉัยมาลาเรีย

คุณหมออาจตรวจสอบประวัติสุขภาพเพื่อให้ทราบว่า ได้เดินทางไปยังภูมิอาอาศเขตร้อนในเร็ว ๆ นี้หรือไม่ อาจจำเป็นต้องมีการทดสอบร่างกายในบางกรณี คุณหมอจะได้สามารถมั่นใจได้ว่า มีภาวะม้ามโตหรือตับโตหรือไม่

คุณหมออาจให้เข้ารับการตรวจเลือด เพื่อให้ทราบว่ามีปรสิตหรือไม่ เพื่อช่วยกำหนดการรักษาได้ การตรวจเลือดช่วยให้คุณหมอทราบว่า เป็นมาลาเรียหรือไม่ ปรสิตมาลาเรียชนิดใดที่ทำให้เกิดอาการ การติดเชื้อเกิดจากปรสิตที่ดื้อยาบางชนิดหรือไม่ และมีอวัยวะสำคัญที่ได้รับผลกระทบหรือไม่ มีการทดสอบบางประการที่ต้องใช้เวลาหลายวัน เพื่อให้ได้รับผลการทดสอบในขณะที่การทดสอบประเภทอื่นใช้เวลาเพียง 15 นาที

การรักษามาลาเรีย

ในความเป็นจริงแล้ว มาลาเรียสามารถเป็นอันตรายต่อชีวิต ดังนั้น ไม่ควรรักษาเองที่บ้าน ควรจะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล คุณหมออาจสั่งยาตามประเภทปรสิตที่ได้รับมา หากไม่สามารถรักษาการติดเชื้อได้เนื่องจากปรสิตดื้อยา ควรแจ้งให้คุณหมอทราบ เพื่อให้คุณหมอสามารถพิจารณาใช้ยามากกว่า 1 ชนิด หรือเปลี่ยนยาไปพร้อมกันเพื่อรักษาอาการ

ตามประเภทของปรสิตมาลาเรียที่ได้รับ ความรุนแรงของอาการ และอายุ หากตั้งครรภ์อาจได้รับยาบางชนิดตามระยะเวลาที่ต้องการการรักษา ยาต้านมาลาเรียที่ใช้มากที่สุด ได้แก่ ยาคลอโรควีน (Chloroquine) ยาควินินซัลเฟต (Quinine Sulfate) ยาไฮดรอกซีคลอโรควีน (Hydroxychloroquine) ยาเมโฟลควีน (Mefloquine) หรือการใช้ยาร่วมกันระหว่างยาอาโทวาโควน (Atovaquone) และยาโพรกัวนิล (Proguanil)

การปรับไลฟ์สไตล์และการดูแลตนเอง

การปรับไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเองที่ช่วยจัดการมาลาเรีย

การปรับไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเองดังต่อไปนี้ อาจช่วยให้จัดการมาลาเรียได้

  • การฉีดยาฆ่าแมลงที่กำแพงบ้านอาจช่วยฆ่ายุงตัวเต็มวัยที่เข้ามาในบ้าน
  • รักษาความสะอาดและสุขอนามัยของที่พักอาศัย ใช้ยาฆ่าเชื้อโรคสำหรับทำความสะอาดบ้านและห้องน้ำ
  • นอนในมุ้ง
  • ปกป้องผิวหนังโดยการสวมใส่กางเกงขายาวและเสื้อเชิ้ตแขนยาวหรือใช้ผ้าคลุม โดยเฉพาะเมื่อมีโรคระบาดในพื้นที่ที่คุณอยู่
  • ควรรับประทานอาหารเหลว แล้วในช่วงเวลาฟื้นฟูร่างกาย ให้รับประทานผักใบเขียวและผลไม้
  • ไม่ให้น้ำขังในสระน้ำหรือหลุมใกล้บ้าน

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Malaria. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/malaria/home/ovc-, 2016.7984. Accessed July 11, 2016.

Malaria. http://www.nhs.uk/conditions/malaria/Pages/Introduction.aspx. Accessed July 11, 2016.

Malaria. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/malaria. Accessed January 18, 2023

Malaria. https://www.webmd.com/a-to-z-guides/malaria-symptoms. Accessed January 18, 2023

Malaria Journal. https://malariajournal.biomedcentral.com. Accessed January 18, 2023

Malaria. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK8584/. Accessed January 18, 2023

เวอร์ชันปัจจุบัน

18/01/2023

เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ไวรัสซิก้า อาการ และการป้องกัน

ไข้เหลือง ภัยเงียบจากยุงตัวร้าย เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 18/01/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา