backup og meta

ฝีคัณฑสูตร (Anal Fistula)

ฝีคัณฑสูตร (Anal Fistula)

ฝีคัณฑสูตร (Anal Fistula) คือ อาการติดเชื้อของต่อมที่อยู่ในทวารหนัก จนเกิดเป็นตุ่มหนองหรือ ฝี ที่เป็นหนองบริเวณทวารหนัก แก้มก้น หรือบริเวณขอบรูทวารหนัก

คำจำกัดความ

ฝีคัณฑสูตร คืออะไร

โรคฝีคัณฑสูตร หรือฝีคัณฑสูตร (Anal Fistula) คือ อาการติดเชื้อของต่อมที่อยู่ในทวารหนัก เนื่องจากภายในทวารหนักจะมีต่อมเล็กๆ เรียงติดกันอยู่มากมาย ทำหน้าที่ในการผลิตเมือกภายในทวารหนัก ต่อมเล็กๆ เหล่านี้จะอยู่ในบริเวณที่เป็นทางผ่านของการลำเลียงอุจจาระออกจากทวารหนัก และเมื่อต่อมใดต่อมหนึ่งที่อยู่ในทวารหนักติดเชื้อขึ้นมา ก็จะทำให้เกิดเป็นตุ่มหนอง หรือเป็น ฝี ขึ้นที่บริเวณขอบรูทวารหนัก หรือบริเวณข้างทวารหนัก หรือแก้มก้น

ฝีคัณฑสูตร พบได้บ่อยแค่ไหน

โดยทั่วไปแล้วฝีคัณฑสูตรนั้นไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยนัก เช่นเดียวกับ ฝี แบบอื่นๆ แต่สำหรับผู้ที่มีอาการติดเชื้อที่บริเวณทวารหนัก หรือรูทวารหนัก จะสามารถเกิดฝีคัณฑสูตรตามมาทีหลังได้ โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

อาการ

อาการของ ฝีคัณฑสูตร

อาการทั่วไปของฝีคัณฑสูตร มีดังนี้

  • มีอาการระคายเคืองบริเวณผิวหนังรอบขอบรูทวารหนัก หรือรอบทวารหนัก
  • มีอาการเจ็บ ฝี หรือปวดที่ทวารหนักเวลานั่ง ขยับไปมา เวลาขับถ่าย เวลาปัสสาวะ หรือเวลาไอ
  • มีหนองหรือมีของเหลวคล้ายน้ำหนองไหลออกจากรูทวารหนัก
  • มีกลิ่นเหม็นจากบริเวณทวารหนัก หรือบริเวณใกล้ทวารหนัก
  • อุจจาระมีเลือดหรือหนองปนมา
  • มีอาการบวม แดง บริเวณขอบทวารหนัก
  • มีไข้ขึ้นสูงเมื่อมี ฝี
  • ในบางรายอาจไม่สามารถควบคุมการทำงานของลำไส้ได้ เช่น เวลาปัสสาวะ

อาจมีอาการอื่นๆ ที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการต่าง ๆ โปรดปรึกษาคุณหมอ

ควรไปพบหมอเมื่อใด

หากมีอาการระคายเคืองที่ทวารหนัก หรือมี ฝี หรือมีตุ่มหนองขึ้นที่ทหวารหนัก หรือสัมผัสได้ว่ากำลังมีอาการที่คล้ายกับว่าจะเป็นฝีคัณฑสูตร ควรไปพบกับคุณหมอทันที เพื่อให้แพทย์ได้ทำการตรวจวินิจฉัยและทำการรักษา

สาเหตุ

สาเหตุของฝีคัณฑสูตร

สาเหตุหลักของการเกิดฝีคัณฑสูตร คือมีการอุดตันหรือติดเชื้อขึ้นที่ต่อมเล็กๆ ซึ่งอยู่ภายในทวารหนัก เมื่อต่อมเล็กๆ เหล่านี้เกิดการอุดตันหรือติดเชื้อแบคทีเรียขึ้น ก็จะเกิดเป็นตุ่มหนองหรือ ฝี หนอง

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของฝีคัณฑสูตร

ฝีคัณฑสูตรอาจเกิดขึ้นได้หากมีอาการทางสุขภาพดังต่อไปนี้

  • โรคโครห์น (Crohn’s Disease)  เป็นอาการทางสุขภาพที่เกี่ยวกับการอักเสบของระบบทางเดินอาหาร
  • โรคถุงผนังลำไส้อักเสบ (Diverticulitis)  เป็นอาการทางสุขภาพที่เกี่ยวกับการอักเสบของเยื่อบุในลำไส้ใหญ่
  • การอักเสบของต่อมเหงื่อ 
  • การติดเชื้อวัณโรค
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือการติดเชื้อเอชไอวี (HIV)
  • ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดที่อยู่ใกล้กับทวารหนัก
  • โรคมะเร็ง เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่

อาจมีปัจจัยเสี่ยงมากกว่าที่ระบุไว้ข้างต้น โปรดปรึกษากับแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยและการรักษาโรค

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยฝีคัณฑสูตร

ตามหลักของการวินิจฉัยฝีคัณฑสูตรแล้ว แพทย์จะเริ่มจากการสอบถามอาการ ซักประวัติอาการเจ็บป่วย และทำการตรวจร่างกาย ซึ่งกระบวนการตรวจร่างกายเพื่อทำการวินิจฉัยฝีคัณฑสูตรนั้น อาจใช้วิธีดังต่อไปนี้

  • ในกระบวนการตรวจร่างกาย หากเม็ด ฝี สามารถที่จะมองเห็นได้ชัดเจนจากภายนอก แพทย์สามารถที่จะประเมินได้ทันทีที่ได้ตรวจดูทวารหนัก
  • แพทย์จะใช้วิธีการสอดนิ้วเข้าไปในรูทวารหนักเพื่อทำการตรวจ
  • แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านลำไส้ใหญ่และทวารหนักโดยตรง อาจทำการทำซีทีสแกน (CT Scan)
  • แพทย์อาจทำการตรวจวินิจฉัยโดยการส่องกล้องเข้าสู่ทวารหนักและลำไส้
  • แพทย์อาจทำการอัลตราซาวด์ หรือทำ MRI เพื่อตรวจดูบริเวณทวารหนัก

การรักษาฝีคัณฑสูตร

ฝีคัณฑสูตรไม่มียารักษาโดยตรง แต่อาจใช้ยาบางชนิดเพื่อบรรเทาอาการปวด และเพื่อป้องกันการติดเชื้อ อย่างไรก็ตาม หากเป็นฝีคัณฑสูตรจำเป็นต้องรับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด และไม่ควรปล่อยทิ้งไว้

  • ในกรณีที่ ฝี อยู่ห่างจากขอบรูทวารหนัก แพทย์สามารถที่จะทำการเปิดปากแผลและเข้าสู่กระบวนการรักษาได้เลย
  • ถ้าฝีอยู่บริเวณที่ใกล้กับรูทวารหนัก แพทย์อาจจำเป็นต้องมีการสอดท่อเข้าไปในรูทวารหนัก เพื่อทำการเปิดรูทวารหนักและนำเอาของเหลวที่ติดเชื้อออกมาก่อนที่จะเริ่มทำการผ่าตัด ซึ่งวิธีนี้อาจใช้ระยะเวลานานถึง 6 สัปดาห์ หรือมากกว่านั้น

ถ้าหากฝีคัณฑสูตรขึ้นที่ภายนอกทวารหนัก สามารถที่จะรับการผ่าตัดเอา ฝี ออก และกลับบ้านได้เลย แต่ผู้ป่วยที่มีรูทวารหนักขนาดใหญ่หรือลึกมาก อาจจำเป็นต้องพักอยู่โรงพยาบาลเป็นเวลาสั้นๆ และผู้ป่วยบางรายอาจต้องเข้ารับการผ่าตัดหลายครั้งเพื่อกำจัดเอา ฝี ออกไปให้หมด

การเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อจัดการกับฝีคัณฑสูตร

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองต่อไปนี้ อาจช่วยป้องกันฝีคัณฑสูตรได้

  • ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ
  • รับประทานอาหารที่ให้ไฟเบอร์สูง
  • ดูแลก้นหรือทวารหนักให้แห้งอยู่เสมอ อย่าปล่อยให้อับชื้น เพราะเสี่ยงที่จะเกิดการติดเชื้อ และเป็น ฝี ได้
  • หลีกเลี่ยงการเกร็งหรือตึงขณะกำลังขับถ่าย

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Anal fistula. https://www.nhs.uk/conditions/anal-fistula/. Accessed on October 7, 2020.

What Is an Anal Fistula?. https://www.webmd.com/digestive-disorders/anal-fistula-overview#1. Accessed on October 7, 2020.

Anal Fistula. https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/14466-anal-fistula. Accessed on October 7, 2020.

Anal Fistula: Causes, Symptoms, Treatment, And Prevention. https://www.medlife.com/web/anal-fistula-causes-symptoms-treatment-prevention/. Accessed on October 7, 2020.

เวอร์ชันปัจจุบัน

28/03/2021

เขียนโดย Khongrit Somchai

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

เต้านมอักเสบ สัญญาณเตือนที่อาจนำไปสู่ ฝีเต้านม

ฝีที่รักแร้ เกิดจากอะไร ป้องกันได้หรือไม่


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 28/03/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา