backup og meta

เป็นหวัด มีสาเหตุจากฝนตก อากาศเย็น จริงหรือไม่

เป็นหวัด มีสาเหตุจากฝนตก อากาศเย็น จริงหรือไม่

หลายคนอาจเคยได้ยินว่า อากาศเย็นหรือฝนตก จะทำให้ เป็นหวัด หรือไข้หวัดใหญ่ แต่ความจริงแล้วการเป็นหวัดนั้นเกิดจากการติดเชื้อไวรัสทางระบบทางเดินหายใจ รวมถึงยังอาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น  ร่างกายอ่อนแอ ไม่ออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ อย่างไรก็ตาม การเป็นหวัดอาจมีความเชื่อโยงกับสภาพอากาศได้ เนื่องจากเชื้อไวรัสไข้หวัดสามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพอากาศที่มีความชื้นสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงฝนตกห หรืออากาศเย็น

ความเชื่อผิด ๆ เรื่องอากาศเย็นกับการ เป็นหวัด

สำหรับโรคที่มีการติดต่อกันนั้น อากาศเย็นอาจไม่ใช่ปัจจัยที่ทำให้จ็บไข้ได้ป่วยแต่อย่างใด แต่เชื้อโรคต่างหากที่เป็นสาเหตุหลักของอาการเจ็บป่วยของทุกคน ทุกคนอาจเป็นหวัดได้ก็ต่อเมื่อติดเชื้อไรโนไวรัส (Rhinoviruses) ที่เป็นสาเหตุของไข้หวัดที่ส่งผลทำให้โพรงจมูกอักเสบจากการติดเชื้อ หรือการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่จนกลายเป็นไข้หวัดใหญ่ โดยเชื้อไรโนไวรัสและเชื้อไข้หวัดใหญ่มักแพร่ระบาดในหน้าฝนและหน้าหนาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน้าฝน ซึ่งทำให้มีความชื้นสูง และเชื้อโรคเจริญเติบโตได้ดี นอกจากนี้ ลมแรงในช่วงฝนตกก็อาจทำให้เชื้อโรคมีการแพร่กระจายของนี้ได้ง่ายขึ้นด้วย

สาเหตุที่ทำให้หลายคนคิดว่าสภาพอากาศทำให้เป็นหวัด

ในความเป็นจริงแล้ว อากาศเย็นไม่ได้ทำให้เกิดไข้หวัดได้ แต่อาจเกิดจากภาวะที่เรียกว่า ไฮโปเธอร์เมีย (Hypothermia) หรือสภาวะที่ร่างกายมีอุณหภูมิต่ำเกินไป ซึ่งภาวะที่เกิดขึ้นนี้อาจนำไปสู่การเป็นหวัดได้ เนื่องจากภาวะที่ร่างกายอุณหภูมิต่ำเกินไปอาจไปกดภูมิคุ้มกันของร่างกายที่จะต่อสู้กับไวรัสที่ทำให้เกิดไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่

เมื่อร่างกายโดนฝนในหน้าฝน หรือเจอกับอากาศเย็น ๆ ในหน้าหนาว อาจส่งผลให้อุณหภูมิของพื้นผิวเยื่อบุจมูกลดต่ำลง และเกิดภาวะหลอดเลือดหดตัว (Vasoconstriction) โดยเฉพาะหลอดเลือดที่อยู่ใกล้ชิดกับผิวหนังชั้นบนมากที่สุด เช่น เส้นเลือดบริเวณจมูก ภาวะนี้ทำเกิดความแห้งที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของตัวกรองการติดเชื้อในจมูก ทำให้เกิดอาการคัดจมูก ส่งผลให้มักจะหายใจทางปากเวลาที่เกิดอาการคัดจมูกหนักมาก ก็เป็นโอกาสให้น้ำมูกที่มีไวรัสอยู่กระตุ้นให้เกิดหวัดขึ้นมา

อย่างไรก็ตาม ฝนตกและอากาศเย็นไม่ได้เป็นเงื่อนไขที่ทำให้เกิดหวัดแต่อย่างใด แต่ใน 2 ฤดูนี้อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ได้ เนื่องจากคนเรามักจะอยู่ในอาคารมากขึ้น สภาพอากาศที่ไหลเวียนอยู่ในอาคารอาจเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคต่าง ๆ และสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ การถูกกระตุ้นด้วยปัจจัยอื่นร่วมด้วยก็อาจทำให้เป็นไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ได้ง่ายชึ้น

เวลาที่อากาศหนาว อากาศยังจะแห้งลงมาก อากาศแห้ง ๆ มักจะเชื่อมโยงกับอาการโพรงจมูกแห้ง จากข้อมูลของ National Institutes of Health ในสหรัฐฯ ชี้ว่า เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สามารถมีชีวิตรอดและแพร่กระจายตัวเองได้ดีในอากาศแห้ง ในอุณหภูมิที่เย็นจัด ไวรัสจะแข็งแรงขึ้น ทำให้ปรับตัวได้ดีกว่าและง่ายกว่าที่จะแพร่กระจาย

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Ackerman J. (2010). Ah-choo!: The uncommon life of your common cold. New York, NY: Hachette. amazon.com/Ah-Choo-Uncommon-Life-Your-Common/dp/B005K5G5VS. Accessed May 18, 2017

Carroll A, et al. (2011). Don’t cross your eyes…they’ll get stuck that way!: And 75 other health myths debunked. New York, NY: St. Martin’s. .+ amazon.com/s/ref=nb_sb_noss?url=search-alias%3Dstripbooks&field-keywords=Don%27t+Cross+Your+Eyes…They%27ll+Get+Stuck+That+Way%21%3A+And+75+Other+Health+Myths+Debunked. Accessed May 18, 2017

Flu virus fortified in colder weather. (2008). nih.gov/researchmatters/march2008/03102008cold.htm. Accessed May 18, 2017

Foxman EF, et al. (2015). Temperature-dependent innate defense against the common cold virus limits viral replication at warm temperature in mouse airway cells. ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4311828/. Accessed May 18, 2017

Roos R. (2013). Study: Flu likes weather cold and dry or humid and rainy. cidrap.umn.edu/news-perspective/2013/03/study-flu-likes-weather-cold-and-dry-or-humid-and-rainy. Accessed May 18, 2017

Do You Really Get Sick from Being Cold? https://www.unitypoint.org/livewell/article.aspx?id=9161c3a0-54dc-46d7-a633-e1d15a5227e2. Accessed 2 September 2019

เวอร์ชันปัจจุบัน

17/01/2023

เขียนโดย pimruethai

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ชาเขียวมัทฉะ ชาญี่ปุ่นอร่อยและดีต่อสุขภาพ

อาหารเสริมไบโอติน ดีอย่างไร เราจำเป็นต้องกินรึเปล่า


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย pimruethai · แก้ไขล่าสุด 17/01/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา