backup og meta

งานวิจัยเผย ยาแอสไพริน อาจสามารถช่วยลดความรุนแรงของโรค Covid-19 ได้

งานวิจัยเผย ยาแอสไพริน อาจสามารถช่วยลดความรุนแรงของโรค Covid-19 ได้

ในปัจจุบัน วิธีการรับประทานยาแอสไพริน (Aspirin) ขนาดต่ำเป็นประจำ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการช่วยป้องกันการเกิดลิ่มเลือด และช่วยลดโอกาสการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ที่ได้รับการยอมรับจากศาสตร์การแพทย์สากลทั่วโลก แต่จากผลการวิจัยล่าสุดได้พบว่า การรับประทานยาแอสไพริน นั้น อาจจะยังสามารถช่วยลดความรุนแรงของ Covid-19 โรคระบาดที่ส่งผลกระทบต่อคนทั่วโลกได้อีกด้วย วันนี้ Hello คุณหมอ จะมานำเสนอ ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ยาแอสไพริน และ Covid-19 ให้ทุกคนได้รับทราบกันค่ะ

งานวิจัยพบอะไรเกี่ยวกับ ยาแอสไพริน และ Covid-19

งานวิจัยล่าสุด ที่ได้ตีพิมพ์ในวารสาร Anesthesia & Analgesia ได้ทำการวิจัยโดยใช้ข้อมูลของผู้ป่วยจำนวนทั้งสิ้น 412 ราย ที่เข้ารับการรักษาด้วยโรค Covid-19 ตั้งแต่ช่วงระหว่างเดือน พฤษภาคม ถึง กรกฎาคม ในจำนวนผู้ป่วยทั้งหมดนั้น มีผู้ป่วย 314 ราย ที่ไม่ได้รับประทานยาแอสไพรินขนาดต่ำเพื่อป้องกันโรค และอีก 98 ราย ได้รับประทานยาแอสไพรินขนาดต่ำ ภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมงก่อนถูกส่งตัวเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล

ในการวิจัยได้พบว่า ผู้ป่วยที่ไม่ได้ใช้ยาแอสไพรินขนาดต่ำเป็นประจำมากกว่า 50%  อาจจะต้องเข้ารับการรักษาตัวในห้องฉุกเฉิน ในขณะที่ผู้ป่วยที่ใช้ยาแอสไพรินขนาดต่ำเป็นประจำนั้น อาจมีแค่ 38% เท่านั้นที่จำเป็นต้องเข้าห้องฉุกเฉิน นอกจากนี้ ในงานวิจัยยังพบอีกว่า ผู้ป่วยที่ใช้ยาแอสไพรินเป็นประจำ อาจจะมีโอกาสที่จะต้องใส่เครื่องช่วยหายใจระหว่างการรักษาน้อยกว่าถึง 44% เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้ใช้ยาแอสไพริน

นักวิจัยเชื่อว่า เนื่องจากยาแอสไพรินนั้นมีคุณสมบัติในการช่วยต้านอักเสบ ป้องกันลิ่มเลือด ช่วยป้องกันการขยายพันธุ์ของเชื้อไวรัสในร่างกาย และอาจสามารถช่วยลดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับอวัยวะภายใน เช่น ปอด เป็นต้น ทำให้อาจสามารถช่วยลดความรุนแรงของอาการในผู้ป่วย Covid-19 โดยเฉพาะภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับหัวใจและหลอดเลือด อีกทั้งยังสามารถช่วยลดระยะเวลาการต้องพักรักษาตัวในโรคพยาบาลของผู้ป่วยได้อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม แพทย์ก็ยังไม่ได้แนะนำให้ผู้ป่วย Covid-19 กลับไปรักษาตัวเองที่บ้านโดยใช้ยาแอสไพริน แต่สิ่งที่ผู้ป่วยควรทำคือการแจ้งให้แพทย์ทราบว่าตัวเองกำลังใช้ยาแอสไพรินอยู่หรือไม่ เพื่อที่แพทย์จะได้สามารถจัดการแนวทางการรักษาได้อย่างเหมาะสมต่อไป

ข้อควรระวังเกี่ยวกับการใช้ยาแอสไพริน

แม้ว่าจะมีการใช้ยาแอสไพรินขนาดต่ำ เพื่อช่วยในการป้องกันลิ่มเลือด และช่วยป้องกันการเกิดโรคต่าง ๆ กันมาอย่างยาวนานแล้วก็ตาม แต่การใช้ยาแอสไพรินอย่างไม่ถูกต้อง อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพได้ เช่น ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร และทำให้เลือดออกในกระเพาะอาหาร ระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหาร ทำให้ปวดท้อง และยังอาจทำให้เลือดจาง และแข็งตัวยากขึ้น ทำให้เกิดอาการเลือดไหลไม่หยุดได้

คุณควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาแอสไพริน หากคุณมีสภาวะดังต่อไปนี้

  • กำลังใช้ยาเจือจางเลือด หรือยาละลายลิ่มเลือดชนิดอื่นอยู่
  • เคยมีแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้
  • เป็นโรคไต หรือโรคตับ
  • มีความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งตัวชองเลือด เช่น อาการเลือดไหลไม่หยุด
  • เป็นโรคภูมิแพ้ต่อยาแอสไพริน

ผู้ป่วยที่คิดจะเริ่มใช้ยาแอสไพรินขนาดต่ำ เพื่อหวังผลในการช่วยป้องกันโรค และช่วยลดความรุนแรงของอาการจากโรค Covid-19 ควรปรึกษาแพทย์ให้ดีเสียก่อน เพราะหากใช้ยาแอสไพรินอย่างไม่ถูกต้อง อาจนำไปสู่การเกิดอันตรายต่อร่างกายได้ในที่สุด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Study: Low-Dose Aspirin May Keep Hospitalized COVID-19 Patients off Ventilators https://www.verywellhealth.com/aspirin-benefits-hospitalized-covid-19-patients-5087867

Protective Effect of Aspirin on COVID-19 Patients (PEAC) https://clinicaltrials.gov/ct2/show/NCT04365309

Aspirin May Help Prevent Serious COVID-19 Complications: Here’s Why https://www.healthline.com/health-news/aspirin-may-help-prevent-serious-covid-19-complications-heres-why

Is Taking Aspirin Good for Your Heart? https://www.hopkinsmedicine.org/health/wellness-and-prevention/is-taking-aspirin-good-for-your-heart

Daily aspirin therapy: Understand the benefits and risks https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/heart-disease/in-depth/daily-aspirin-therapy/art-20046797

เวอร์ชันปัจจุบัน

01/12/2020

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

ติดโควิด ทํายังไง ต้องไปโรงพยาบาลหรือไม่ กักตัวกี่วัน

COVID Toe ผื่นแดงที่เท้า สัญญาณเตือนอีกอย่างของโควิด-19 ที่ควรสังเกต


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 01/12/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา