backup og meta

ติดโควิดกักตัวกี่วัน และข้อควรปฏิบัติเมื่อกักตัวอยู่บ้าน

ติดโควิดกักตัวกี่วัน และข้อควรปฏิบัติเมื่อกักตัวอยู่บ้าน

หลายคนอาจมีข้อสงสัยว่า ติดโควิดกักตัวกี่วัน โควิด-19 เป็นเชื้อที่สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้อย่างง่ายได้ ทั้งทางน้ำลาย น้ำมูก และสารคัดหลั่งอื่นๆ ซึ่งผู้ที่ติดเป็นกลุ่มเสี่ยง ใกล้ชิดกับผู้ที่ติดเชื้อ หรือไปในที่ที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อ แต่ยังไม่มีอาการ โดยปกติแล้วเชื้อชนิดนี้จะใช้เวลาในการฟักตัวนาน 2-14 วันจึงจะแสดงอาการ แม้เชื้อนี้จะอยู่ในช่วงฟักตัว ก็สามารถแพร่กระจายไปสู่คนอื่นได้ด้วย

[embed-health-tool-bmi]

ใครที่ควรกักตัว และสถานที่แบบใดที่ควรใช้ในการกักตัว

การกักตัวที่บ้านนั้น เป็นมาตรการในการลดการแพร่กระจายของเชื้อโรค ซึ่งผู้ที่ควรกักตัวอยู่บ้านคือ กลุ่มที่มีความเสี่ยงที่จะติดโควิด เช่น ผู้ที่เดินทางกลับจากประเทศกลุ่มเสี่ยง ผู้ใกล้ชิดผู้ป่วย ผู้ที่อยู่ในสถานที่ที่มีผู้ติดเชื้อ นอกจากนี้ผู้ที่มีการยืนยันแล้วว่าติดโควิดแต่มีอาการไม่หนัก สามารถหายใจเองได้อย่างสะดวก ไม่จำเป็นที่ทีมแพทย์จะต้องดูแลบ่อย ๆ กลุ่มคนเหล่านี้ก็สามารถกักตัวอยู่ที่บ้านได้เช่นกัน ซึ่งผู้ที่ควรกักตัวที่บ้านนั้นควรมีสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ ที่พร้อมสำหรับการกักตัวด้วย ดังนี้

  • มีห้องนอนแยกเป็นของตัวเอง เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปยังคนในครอบครัว
  • มีอาหารและสิ่งของจำเป็นสำหรับอุปโภคและบริโภคในช่วงกักตัว
  • ควรสวมใส่หน้ากากอนามัยและสวมถุงมือทุกครั้งที่ต้องออกจากห้องมาใช้พื้นที่ส่วนรวมในบ้าน เพื่อป้องกันการติดเชื้อ

ติดโควิดกักตัวกี่วัน

คำแนะนำในการกักตัวอยู่บ้านสำหรับผู้ป่วยที่ติดโควิด-19 ล่าสุด สำหรับผู้ป่วยที่ไม่มีอาการไปจนถึงมีอาการเล็กน้อย เช่น ไอ เป็นไข้ จาม และไม่มีอาการปอดอักเสบ ควรกักตัวเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 5 วัน หรือตามดุลยพินิจของแพทย์ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยควรสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด หากพบอาการรุนแรงควรติดต่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลในทันที

หลักการ กักตัวอยู่บ้าน เมื่อสงสัยว่าติดโควิด-19 ที่ผู้ป่วยควรทำ

  • ไม่ควรให้ใครเข้าเยี่ยม
  • ทำความสะอาดมืออยู่เป็นประจำด้วยการล้างมือ ใช้เจลแอลกอฮอล์ในการทำความสะอาดมือ เมื่อมือต้องสัมผัสกับสารคัดหลั่งต่างๆ เช่น น้ำมูก น้ำลาย
  • อยู่ในห้องส่วนตัวตลอดเวลา หลีกเลี่ยงการใช้พื้นที่ส่วนรวม และหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับสมาชิกในครอบครัว โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ผู้ที่มีอาการป่วยเรื้อรัง
  • สวมหน้ากากอนามัย ถุงมือ หากมีความจำเป็นที่จะต้องออกจากห้องที่ใช้สำหรับการกักตัว และห่างกับคนอื่นๆ 2 เมตรเพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อโรค
  • ใช้ห้องน้ำแยกจากสมาชิกคนอื่นๆ ในบ้าน หากไม่สามารถที่จะแยกห้องน้ำได้ เมื่อใช้ห้องน้ำเสร็จควรทำความสะอาดพื้นที่ที่มีสารคัดหลั่งเปื้อนทุกครั้ง และทำความสะอาดด้วยน้ำยาฟอกขาว
  • แยกสิ่งของส่วนตัวทุกๆ อย่าง ตั้งแต่ ช้อน จาน ชาม แก้วน้ำ
  • ไม่รับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น
  • ใช้น้ำร้อนในการทำความสะอาดเสื้อผ้า ผ้าปูที่นอน และเครื่องนอนอื่นๆ
  • ทำความสะอาดพื้นที่บริเวณที่กักตัวอยู่เป็นประจำ เพื่อลดการสะสมของเชื้อโรค

คนในครอบครัวควรปฏิบัติตัวอย่างไร เพื่อดูแลผู้ที่ต้องกักตัว

สำหรับสมาชิกในครอบครัวที่ต้องอาศัยอยู่ในบ้านเดียวกันกับผู้ที่ต้องกักตัว ไม่ควรให้คนอื่น ๆ ที่เป็นนอกครอบครัวเข้ามาอยู่ด้วยในช่วงนี้ ควรหาที่อยู่ใหม่ หากมีผู้สูงอายุในบ้าน โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องระบบภูมิคุ้มกัน ควรอยู่ห่าง ๆ ผู้ที่อยู่ในช่วงกักตัว เพราะกลุ่มผู้สูงอายุ และผู้ที่มีปัญหาด้านระบบภูมิคุ้มกันนั้น เป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสสูงในการติดเชื้อโควิด-19

นอกจากการแยกห้องนอน กักตัวอยู่เฉพาะห้องตัวเองแล้ว หากเป็นไปได้ควรแยกห้องน้ำด้วย เพราะห้องน้ำก็เป็นอีกที่ ที่มีสารคัดหลั่งของผู้ป่วย ซึ่งอาจเป็นพื้นที่ที่สามารถทำให้เชื้อแพร่กระจายได้ ที่สำคัญหากมีพื้นที่ที่ต้องใช้ร่วมกันควรสวมหน้ากากอนามัยและถุงมือ เพื่อป้องกัน และควรเช็ดทำความสะอาดพื้นที่ที่ผู้ที่อยู่ในช่วงกักตัวใช้บ่อย ๆ เพื่อฆ่าเชื้อโรค หากมีความจำเป็นที่จะต้องส่งอาหารให้ผู้กักตัว ควรใช้วิธีวางไว้หน้าห้องหรือแขวนไว้ที่ลูกบิด เพื่อที่จะลดการเผชิญหน้าและป้องกันการติดเชื้อ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Home isolation guidance when unwell

https://www.health.gov.au/sites/default/files/documents/2020/03/coronavirus-covid-19-information-about-home-isolation-when-unwell-suspected-or-confirmed-cases.pdf

Self-isolation if you or someone you live with has symptoms

https://www.nhs.uk/conditions/coronavirus-covid-19/self-isolation-advice/

Social Distancing, Quarantine, and Isolation

https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/prevent-getting-sick/social-distancing.html

คำแนะนำการปฏิบัติการแยกตัวที่บ้าน สำหรับผู้ป่วย COVID-19

https://www.idthai.org/Contents/Views/?d=z1rb!67!1!!652!lWrUNfqu

แนวทางเวชปฏิบัติการวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรสโคโรนา 2019 (COVID-19). https://covid19.dms.go.th/backend/Content/Content_File/Covid_Health/Attach/25660418150721PM_CPG_COVID-19_v.27_n_18042023.pdf. Accessed August 3, 2023.

เวอร์ชันปัจจุบัน

03/08/2023

เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ติดโควิด ทํายังไง ต้องไปโรงพยาบาลหรือไม่ กักตัวกี่วัน

กิจกรรมสำหรับเด็ก ในช่วงกักตัว เมื่อโควิด-19 ระบาด


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 03/08/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา