backup og meta

ยาสามัญประจำบ้าน มีติดบ้านไว้ อุ่นใจ ไม่ต้องไปโรงพยาบาล

ยาสามัญประจำบ้าน มีติดบ้านไว้ อุ่นใจ ไม่ต้องไปโรงพยาบาล

ยาสามัญประจำบ้าน เป็นยาที่ทุก ๆ บ้านควรมีติดไว้ เผื่อเกิดเหตุการณ์เจ็บป่วยฉุกเฉิน และด้วยสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในปัจจุบัน ที่ต้องกักตัวอยู่บ้าน ทำให้ยากที่จะต้องออกจากบ้านไปซื้อของบ่อย ๆ แถมในช่วงนี้ยังอยู่ในช่วงที่รัฐบาลประกาศเคอร์ฟิวส์ ซึ่งห้ามออกจากบ้านหลัง 22.00 -04.00 นาฬิกา นอกจากกักตุนอาหารแล้ว ยังต้องเตรียมยาไว้ด้วย หากเกิดการเจ็บป่วยฉุกเฉินแต่ไม่มียาสามัญประจำบ้าน ก็อาจทำให้ยากต่อการบรรเทาอาการ วันนี้ Hello คุณหมอ มียาสามัญประจำบ้านที่ทุกบ้านควรมีติดไว้

ยาสามัญประจำบ้าน คืออะไร

ยาสามัญประจำบ้าน (First Aid Kits) เป็นยาที่กระทรวงสาธารณะสุขได้ทำการพิจารณาและกำหนดว่าเป็นยาที่มีความเหมาะสมสำหรับการซื้อมาติดบ้านไว้ เป็นยาที่สามารถหาซื้อได้ง่าย ตามร้านขายยาหรือท้องตลาดทั่วไป โดยไม่ต้องมีใบคำสั่งซื้อยาจากแพทย์ ส่วนใหญ่แล้ว ยาสามัญประจำบ้านนั้นจะเป็นกลุ่มยาที่ใช้รักษาอาการเจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวันเช่น อาการกรดไหลย้อน ท้องอืด ท้องเสีย หรือว่ายาลดไข้ บรรเทาอาการปวดต่าง ๆ

ยาสามัญประจำบ้าน ที่ควรมีติดบ้านไว้

ยาสามัญประจำบ้านควรที่จะมีติดบ้านไว้ เผื่อเกิดเหตุเจ็บป่วยฉุกเฉินจะได้ทำการปฐมพยาบาลได้ทันท่วงที่ ซึ่งยาสามัญประจำบ้านที่ทางกระทรวงสาธารณะสุขได้กำหนดไว้ มีดังนี้

  • ยาเม็ดลดกรด อะลูมินา-แมกนีเซีย-ไซเมธิโคน
  • ยาธาตุน้ำแดง ลดอาการท้องอืด
  • ผงน้ำตาลเกลือแร่ แก้ท้องเสีย
  • ผงถ่านรักษาอาการท้องเสีย
  • ยาระบายมะขามแขก
  • ยาถ่ายพยาธิลำไส้ มีเบนดาโซล
  • ยาพาราเซตามอล ลดไข้ บรรเทาปวด
  • ยาคลอร์เฟนิรามีน แก้แพ้ ลดน้ำมูก
  • ยาแก้ไอน้ำดำ
  • ยาดมแก้วิงเวียน
  • ยาหม่อง
  • ยาไดเมนไฮดริเนท แก้เมารถ
  • ยาโพวิโดน-ไอโอดีน ใส่แผลสด
  • น้ำเกลือล้างแผล
  • คาลาไมน์โลชั่น ยาทาแก้ผดผื่นคัน

ซึ่งยาเหล่านี้เป็นยาที่ใช้บรรเทาอาการเพียงขั้นต้นเท่านั้น หากมีอาการที่รุนแรงขึ้น หรือเมื่อรับประทานยา หรือใช้ยาแล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรรีบเข้ารับการรักษาโดยทันที ที่สำคัญ ก่อนการซื้อยาควรตรวจสอบฉลากยาให้แน่ชัดก่อนว่าเป็นยาที่ได้มาตรฐาน ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาหรือไม่

โดยยาที่ซื้อต้องแสดงเลขทะเบียนตำรับยา เช่น Reg. No. 1A 12/35 (กรณียาแผนปัจจุบัน) และฉลากจะต้องมีคำว่า “ยาสามัญประจำบ้าน” อยู่ในกรอบสีเขียว ที่สำคัญควรเก็บยาให้พ้นจากมือเด็กและแสงแดด ควรเก็บแยกกันระหว่างยาใช้ภายในและยาใช้ภายนอก เพื่อป้องกันการหยิบใช้งานผิด นอกจากยาสามัญประจำบ้านเหล่านี้แล้ว อุปกรณ์สำหรับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น อย่างเช่น พลาสเตอร์ยา ผ้าก๊อซ เทปปิดแผล ก็ควรจะมีติดไว้เช่นกัน

หลักการจัดตู้ยาสามัญประจำบ้าน

จากรายการยาสามัญประจำบ้านด้านบนที่มีมากมายหลายชนิด ทั้งรูปแบบที่ใช้ภายนอกและรูปแบบที่ใช้ภายใน ซึ่งหากวางไว้รวม ๆ กันอาจทำให้เกิดความสับสน จนใช้งานผิดประเภทได้ ดังนั้น หลักการจัดตู้ยาสามัญประจำบ้านเหล่านี้อาจช่วยให้ง่ายต่อการเก็บและการใช้งาน

จัดยาแต่ละประเภทให้เป็นสัดเป็นส่วน

หากที่บ้านมีตู้ยาสามัญประจำบ้าน ตู้นั้นก็จะมี 3 ชั้น เราก็สามารถจัดเรียงได้ตามชั้นต่าง ๆ โดย

ชั้นที่ 1 เป็นยาที่ใช้ภายใน ยาที่ต้องรับประทาน เช่น ยาแก้ไข้ ยาธาตุน้ำแดง ผงเกลือแร่

ชั้นที่ 2 ยาสำหรับใช้ภายนอก เช่น ขี้ผึ้งแก้แมลงกัดต่อย ยานวดคลายกล้ามเนื้อ ยาทาแผล

ชั้นที่ 3 เป็นเวชภัณฑ์ ที่ต้องใช้ในการทำแผล อย่าง สำลี ผ้าก๊อซ พลาสเตอร์ แอลกอฮอล์ล้างแผล

ซึ่งยังมียาบางประเภทที่ต้องเก็บในตู้เย็น ซึ่งควรเลือกชั้นกลางเพราะมีอุณภูมิคงที่ ที่สำคัญต้องไม่เก็บในช่องแช่แข็ง เพราะอาจทำให้ยาเสื่อมสภาพได้ หรือขณะที่ไปซื้อควรสอบถามเภสัชกรณ์เพิ่มเติมถึงวิธีการเก็บรักษา

เรียงยาตามวันหมดอายุ

การเรียงยาตามวันหมดอายุ หรือใช้หลัก First in Expired out คือ ยาชนิดเดียวกันให้เก็บยาที่มีวันหมดอายุเร็วกว่าไว้ด้านหน้าหรือนอกสุด เพื่อสะดวกต่อการนำยาออกไปใช้ก่อน เพื่อความปลอดภัยของการใช้ยา ควรตรวจสอบฉลากวันหมดอายุของยาทุกครั้งก่อนที่จะใช้งาน หากฉลากยาเลือนจนมองไม่เห็นให้สังเกตลักษณะของที่เสื่อมสภาพ ดังนี้

  • ยาเม็ด เม็ดยาจับตัวติดกันหลายเม็ด เม็ดยาเปลี่ยนสี หรือมีรอยดำ
  • ยาผง เกิดความชื้น เยิ้ม จับตัวกันเป็นก้อน ไม่เป็นผง
  • ยาน้ำ มีการเปลี่ยนแปลงของสี กลิ่น รส หรือเกิดการแยกชั้นอย่างเห็นได้ชัด
  • ยาขี้ผึ้งและยาครีม เนื้อยามีลักษณะหยาบ การแยกตัว มีน้ำใส ๆ ปนอยู่กับเนื้อยา สี และกลิ่นเปลี่ยนไป

เมื่อเรามียาสามัญประจำบ้านที่มีประสิทธิภาพ ถูกตามหลักการจัดยาตามทะเบียนยาสามัญประจำบ้านแล้ว ก็สามารถบรรเทาอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยด้วยตัวเองในบ้านได้ โดยไม่จำเป็นต้องไปพบคุณหมอ เพื่อของรับการรักษาที่โรงพยาบาล ช่วยให้ปลอดภัยจากการติดเชื้อโควิด-19 ได้ด้วย

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ยาสามัญประจำบ้าน มีติดบ้านไว้… ดี. http://pca.fda.moph.go.th/public_media_detail.php?id=6&cat=56&content_id=1159.

ยาสามัญประจำบ้าน ควรมีไว้ติดบ้านเพื่อ. https://pharm.tu.ac.th/uploads/pharm/pdf/articles/brochure_4.pdf.

แนะใช้ยาสามัญประจำบ้าน. https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=975.

หลักหารจัดตู้ยาสามัญประจำบ้า. https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/drugstore/Download_Poster/หลักการจัดตู้ยาสามัญประจำบ้าน.pdf.

เวอร์ชันปัจจุบัน

04/12/2024

เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาการไข้หวัดใหญ่ VS อาการโควิด-19 ต่างกันอย่างไร?

ของที่ควรพกติดตัว เพื่อรับมือกับเชื้อโรค ในยาม โควิด-19 ระบาด


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 3 สัปดาห์ก่อน

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา