backup og meta

5 บริเวณที่เหมาะสมแก่การ นวดกดจุดบรรเทาอาการท้องอืด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 28/01/2024

    5 บริเวณที่เหมาะสมแก่การ นวดกดจุดบรรเทาอาการท้องอืด

    อาการท้องอืดสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ และทุกช่วงวัย บางคนอาจแก้ปัญหาด้วยการรับประทานยา แต่ก็ยังมีคนอีกกลุ่มที่ไม่ชอบกินยา หรือมีปัญหาเกี่ยวกับการกลืนทำให้กินยาได้ยาก ดังนั้น บทความของ Hello คุณหมอ วันนี้ จึงขอนำการ นวดกดจุดบรรเทาอาการท้องอืด ทั้ง 5 บริเวณสำคัญ ที่จะช่วยให้คุณรู้สึกสบายช่องท้องมากยิ่งขึ้น มาฝากทุกคนกันค่ะ

    ทำความรู้จักกับ อาการท้องอืด กันเถอะ

    อาการท้องอืด (Flatulence) ส่วนใหญ่มักเกิดจากรับประทานอาหารในชีวิตประจำวัน ถั่ว ผักตระกูลกะหล่ำ น้ำอัดลม เป็นต้น รวมถึงพฤติกรรมต่าง ๆ ที่อาจจะนำอากาศเข้าสู่ช่องท้อง จนส่งผลให้มีการสะสมของก๊าซในกระเพาะอาหารและลำไส้เป็นจำนวนมากจนทำให้คุณรู้สึกปวดท้องหรือท้องผูก โดยปกติแล้วก๊าซภายในจะถูกดันออกมาเองในรูปแบบการเรอ และผายลมได้ โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องกังวล แต่ก็มีวิธีการมากมายที่สามารถช่วยบรรเทาอาการท้องอืด และหนึ่งในนั้นก็คือการ นวดกดจุด นั่นเอง

    5 จุดหลักใน นวดกดจุด บรรเทาอาการท้องอืด

    ถึงแม้ว่าจะมี ยาลดกรด ที่สามารถช่วยบรรเทาอาการท้องอืดได้ แต่สำหรับกรณีผู้ที่ไม่ชอบการรับประทานยาก็อาจจำเป็นต้องหาเทคนิคอื่นเข้ามาช่วยเสริม อย่างการ นวดกดจุด จากผู้เชี่ยวชาญในบริเวณดังต่อไปนี้

    1. จู๋ซานหลี่ (Zusanli)

    เป็นจุดที่อยู่ในบริเวณต่ำกว่ากระดูกสะบ้าของหัวเข่าประมาณ 3 นิ้ว โดยมีเส้นเชื่อมโยงกับกระเพาะอาหาร ในการนวดกดจุดที่จุดนี้ ผู้เชี่ยวชาญอาจเริ่มทำการวางนิ้ว 2 นิ้วบนจุดดังกล่าว พร้อมกดเบา ๆ ลูบวนเป็นวงกลม ข้างละ 2-3 นาที

    2. ซานอินเจียว (Sanyinjiao)

    จุดนี้จะมีเส้นลมปราณที่เชื่อมโยงไปยังม้าม ตับ และไตนี้ มักอยู่ที่จุดเหนือกระดูกข้อเท้าด้านในขึ้นมาประมาณ 3 นิ้ว โดยวิธีการนวดมีความคล้ายคลึงกับจุดจู๋ซานหลี่ แต่ถึงอย่างไรควรได้รับการนวดจากนักบำบัด หรือผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เพื่อความปลอดภัย

    3. ชี่ห่าย (Qihai)

    เป็นจุดที่อยู่แถวบริเวณใต้สะดือลงไปประมาณ 1 – 1นิ้วครึ่ง การ นวดกดจุด ด้วยแรงเบาที่จุดนี้ อาจสามารถส่งผลต่อกระทบกับอวัยวะในช่องท้องส่วนล่าง ทำให้เกิดการไล่ก๊าซง่ายขึ้นได้

    4. จงหว่าน (Zhongwan)

    จุดจงหว่านเป็นจุดที่ตั้งอยู่เหนือสะดือประมาณ 4 นิ้ว มีเส้นเชื่อมโยงไปยังอวัยวะช่องท้องส่วนบน กระเพาะปัสสาวะ และถุงน้ำดี ซึ่งเป็นอีกจุดที่ควรนวดด้วยแรงเบาเช่นกัน

    5. เว่ยซู (Weishu)

    จุดเว่ยซูเป็นจุดที่อยู่บริเวณด้านหลัง ห่างจากกระดูกสันหลังไปด้านข้างประมาณ 1- 1 นิ้วครึ่ง และควรนวดด้วยแรงเบา ๆ เป็นวงกลมประมาณ 1-2 นาที เท่านั้น การนวดกดจุดในจุดนี้นอกจากจะเป็นการช่วยขับลมในช่องท้องแล้ว ยังสามารถบรรเทาอาการปวดท้องได้อีกด้วย

    ข้อเสียของการ นวดกดจุดบรรเทาอาการท้องอืด

    การ นวดกดจุด เป็นเทคนิคการรักษาที่ค่อนข้างให้ความปลอดภัย แต่ขณะเดียวกันก็อาจไม่เหมาะกับผู้ที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติ และมีอาการปวดเรื้อรัง อีกทั้งควรระวังรอยฟกช้ำ พร้อมอาการเจ็บปวดจากการนวด ดังนั้น คุณควรทำการศึกษาหาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือนักบำบัดเฉพาะทางที่มีใบรับรองมารักษา นวดกดจุดไล่ก๊าซในช่องท้องให้แก่คุณ เพื่อความปลอดภัยจะเป็นหนทางที่ดีที่สุดค่ะ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 28/01/2024

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา