backup og meta

วิธีหลีกเลี่ยงการนอนเยอะ ในช่วง Work from Home

วิธีหลีกเลี่ยงการนอนเยอะ ในช่วง Work from Home

ในช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 (COVID-19) เช่นนี้ ทำให้บางคนที่ต้องมา ทำงานที่บ้าน หรือ Work from Home เป็นเวลาหลายวันติดต่อกัน อาจเกิดความเบื่อหน่าย ความเหงา หรือความเครียด ซึ่งอาจทำให้เกิดความต้องการที่จะนอนมากขึ้นกว่าปกติ และอาจนอนเยอะจนเกินความจำเป็น ซึ่งจะทำให้วงจร การนอนหลับ และการตื่นนอนตามธรรมชาติต้องสูญเสียไป อาจมีผลทำให้นอนดึกมากขึ้น ไปจนถึงนอนไม่พอ และต้องมานอนทดแทนเอาในตอนกลางวัน Hello คุณหมอ จึงขอนำเสนอ วิธีหลีกเลี่ยงการนอนเยอะ ในช่วง Work from Home แก่คุณผู้อ่านค่ะ

วิธีหลีกเลี่ยงการนอนเยอะ ในช่วง Work from Home

เป็นมิตรกับนาฬิกาปลุก

พยายามเลิกกดเลื่อนนาฬิกาปลุก แต่ควรพยายามที่จะตื่นนอนตามธรรมชาติของร่างกาย และเมื่อนาฬิกาปลุกเตือนให้ตื่นแล้วก็ควรที่จะลุกทันที เพราะถ้ายิ่งกดเลื่อนนาฬิกาปลุก ก็จะยิ่งทำให้เผลอนอนจนมากเกินความจำเป็น และจะเริ่มทำร้ายระบบการตื่นนอนที่ดีด้วย ทางที่ดีควรให้ร่างกายได้มี การนอนหลับ และตื่นนอนตามธรรมชาติของตนเองจะดีที่สุด

มีตารางเวลาการนอนและการตื่นนอน

ร่างกายควรที่จะต้องนอนและตื่นให้เป็นเวลา ควรเข้านอนและตื่นนอนในเวลาเดิมให้เป็นปกติจนติดเป็นนิสัย เพื่อที่ร่างกายจะได้สร้างวงจร การนอนหลับ ของตนเอง และมีความคุ้นเคยกับช่วงระยะเวลาดังกล่าว เมื่อถึงเวลาที่เข้านอนก็จะรู้สึกง่วงทันที และเมื่อถึงเวลาตื่นนอนก็จะตื่นได้เองแบบไม่ต้องใช้นาฬิกาปลุก ทั้งยังช่วยให้พักผ่อนอย่างเพียงพอ และไม่ต้องนอนทดเวลาที่ขาดหายไปจนอาจเผลอนอนมากจนเกินความจำเป็นด้วย

อย่างีบนานจนเกินไป

เป็นปกติของคนเราที่จะรู้สึกง่วงและต้องการงีบสักครู่ แต่การงีบในช่วงที่ทำงานอยู่บ้านนั้นอาจจะเสี่ยงทำให้นอนเยอะเกินกว่าที่ต้องการได้ ควรงีบเพียง 10-20 นาที เพราะถ้านานกว่านั้น ร่างกายจะเริ่มรู้สึกอ่อนเพลียและต้องการนอนมากขึ้นกว่าเดิม

หากิจกรรมทำ

หลายคนเมื่ออยู่ที่บ้าน ภาระการทำงานลดลง ก็เริ่มจะรู้สึกเครียด เบื่อหน่าย และรู้สึกว่าตัวเองนั้นว่าง เมื่อว่างเอนหลังนิดหน่อยก็จะง่วงและนอนหลับไป หากเป็นบ่อย ๆ ก็จะกลายเป็นว่าในวันหนึ่งๆ นั้น มี การนอนหลับ หลายครั้งจนมากเกินความจำเป็น ลองหากิจกรรมอื่นๆ ทำ เช่น ดูหนัง ฟังเพลง ทำงานบ้าน จัดสวน วาดภาพ หรือออกกำลังกาย

หลีกเลี่ยงการใช้งานสมาร์ทโฟนขณะที่กำลังเข้านอน

เพราะแสงสีน้ำเงินจากสมาร์ทโฟนจะทำให้ฮอร์โมนเมลาโทนิน (Melatonin) ในสมองทำงานได้ช้าลง จึงทำให้ไม่รู้สึกง่วง กว่าจะได้ง่วงและเข้านอนก็ดึกเสียแล้ว เป็นสาเหตุทำให้ตื่นสาย หรือนอนตื่นสายมากผิดปกติ เพราะการนอนดึกทำให้วงจรของ การนอนหลับ เกิดอาการรวนขึ้นนั่นเอง

สร้างบรรยากาศให้เหมาะแก่การนอน

ห้องนอนที่ร้อนจนเกินไป เสียงดังมากเกินไป หรือมีแสงสว่างมากจนเกินไป ล้วนแล้วแต่ส่งผลต่อ การนอนหลับ ที่ดีทั้งสิ้น ควรจัดห้องนอนให้มีบรรยากาศที่เหมาะแก่การนอน เพื่อที่จะทำให้นอนหลับพักผ่อนได้เป็นอย่างดีและนอนหลับได้อย่างเพียงพอ ไม่ต้องไปงีบหลับในตอนเช้า ตอนบ่าย หรือตอนหัวค่ำ จนทำให้นอนเยอะเกินไป

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What You Should Know About Oversleeping, Plus 5 Tips for Better Sleep. https://www.healthline.com/health/oversleeping. Accessed on April 17, 2020.

How to Stop Oversleeping. https://www.dreams.co.uk/sleep-matters-club/stop-oversleeping/. Accessed on April 17, 2020.

12 Tips to Avoid Daytime Sleepiness. https://www.webmd.com/sleep-disorders/features/daytime-sleepiness-tips#1. Accessed on April 17, 2020.

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/05/2021

เขียนโดย Khongrit Somchai

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

หยุด! สัมผัสใบหน้า หากคุณอยากให้อัตราการแพร่เชื้อโควิด-19 ลดลง

วิธีบรรเทาความล้าของดวงตา เมื่อต้อง Work from Home ในช่วงโควิด-19


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 31/05/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา