ไอ เป็นอาการที่เกิดขึ้นเมื่อเซลล์บริเวณทางเดินหายใจเกิดการระคายเคือง ซึ่งจะกระตุ้นปอดให้ดันอากาศออกมาภายใต้ความดันสูง สามารถเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน กึ่งเฉียบพลัน หรือแบบเรื้อรัง
คำจำกัดความ
ไอคืออะไร
ไอ (cough) เป็นอาการที่เกิดขึ้นเมื่อเซลล์บริเวณทางเดินหายใจเกิดการระคายเคือง ซึ่งจะกระตุ้นปอดให้ดันอากาศออกมาภายใต้ความดันสูง อาการไอสามารถเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน กึ่งเฉียบพลัน หรือแบบเรื้อรัง
อาการไอพบบ่อยเพียงใด
อาการไอเป็นปฏิกิริยาตอบสนองฉับพลันตามธรรมชาติเพื่อช่วยปกป้องปอด และช่วยกำจัดสิ่งระคายเคืองออกจากทางเดินหายใจ เช่น ควันและน้ำมูก ทั้งยังป้องกันการติดเชื้อในทางเดินหายใจด้วย
อาการไอเป็นเวลานานทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงปรารถนาและอาจเป็นอันตรายหากไม่ได้รับการตรวจ โดยสามารถส่งผลต่อผู้ป่วยได้ทุกวัย แต่สามารถจัดการได้โดยลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
อาการ
อาการไอเป็นอย่างไร
อาการไอมักเป็นอาการหนึ่งของภาวะอื่นๆ สามารถเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันหรือเรื้อรัง ไม่ว่าคุณจะมีอาการไอแบบใด อาการทั่วไปของการไอที่เห็นชัด ได้แก่
- มีไข้
- รู้สึกหนาวสั่น
- ปวดตามร่างกาย
- เจ็บคอ
- คลื่นไส้หรืออาเจียน
- ปวดศีรษะ
- มีเหงื่อออกตอนกลางคืน
- น้ำมูกไหล
- มีเสมหะในลำคอ
อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการบางประการที่ไม่ได้กล่าวถึงข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการ โปรดปรึกษาแพทย์
ควรไปพบหมอเมื่อใด
อาการไอส่วนใหญ่ที่เกิดจากหวัดหรือไข้หวัดใหญ่จะหายไปเองอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ดี ควรปรึกษาแพทย์หากมีอาการดังต่อไปนี้
- รู้สึกเวียนศีรษะหลังมีอาการไอ
- ไอเป็นเลือด
- เจ็บหน้าอก
- ไอต่อเนื่องตลอดทั้งคืน
- มีไข้
- อาการไอไม่ดีขึ้นหลังจาก 7 วัน
- มีอาการหอบหรือหายใจลำบาก
หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใดๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีข้อคำถามใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ
สาเหตุ
สาเหตุของการไอ
เมื่อมีสารระคายเคืองในปอด ปฏิกิริยาตามธรรมชาติของร่างกายคือ การไอเพื่อกำจัดสารระคายเคืองออกไป สาเหตุที่ทำให้ปอดระคายเคือง ได้แก่
- ไวรัส ไวรัสที่ทำให้เกิดอาการหวัดหรือไข้เป็นสาเหตุที่พบได้มากที่สุด ของการไอ
- ภูมิแพ้และหอบหืด ปอดจะพยายามกำจัดสิ่งที่ทำให้ร่างกายเกิดการระคายเคืองออกไปโดยการไอ
- สารระคายเคือง เช่น อากาศเย็น บุหรี่ ควัน หรือน้ำหอมรุนแรงจะกระตุ้นให้เกิดการไอ
- สาเหตุอื่นๆ เช่น ปอดติดเชื้อ ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ ภาวะอารมณ์หดหู่หรือซึมเศร้า และผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางประเภท
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดอาการไอ
สิ่งระคายเคืองในสิ่งแวดล้อมจะทำให้อาการไอแย่ลง ตัวอย่างเช่น ผู้ที่เป็นภูมิแพ้อาจรักษาอาการไอโดยใช้ยารักษาภูมิแพ้ หากมีอาการไอจากการสูบบุหรี่ อาจมีอาการดีขึ้นหากหยุดสูบบุหรี่หรืออาจมีอาการแย่ลงหากยังคงสุบบุหรี่ต่อไป หากเป็นโรคปอดเรื้อรัง เช่น หอบหืดหรือหลอดลมอักเสบเรื้อรัง อาจมีอาการไอเรื้อรังรุนแรงขึ้นหากไปในสถานที่บางแห่งหรือทำกิจกรรมบางประการที่มีปัจจัยกระตุ้นให้เกิดการไอ
ยาบางประเภทสามารถทำให้เกิดการไอ เช่น ยา angiotensin converting enzyme (ACE) อย่างไรก็ดี อาการไอมักดีขึ้นเมื่อหยุดใช้ยาดังกล่าว
การวินิจฉัยและการรักษา
ข้อมูลที่นำเสนอในที่นี้ ไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ ให้ปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยอาการไอ
การวินิจฉัยอาการไอส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ผู้ป่วยแจ้งให้แพทย์ทราบ โดยแพทย์อาจซักถามเกี่ยวกับระยะเวลาในการไอ สิ่งบ่งชี้และอาการที่เกี่ยวข้อง และสาเหตุที่ทำให้อาการดีขึ้นหรือแย่ลง เป็นต้น
ในบางครั้ง แพทย์อาจให้มีการตรวจร่างกายหรือทดสอบก่อนการวินิจฉัย ผู้ป่วยควรออกกำลังกายและดูแลสุขภาพของตนเอง และให้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับสภาพร่างกายระหว่างการปรึกษาแพทย์
การรักษาอาการไอ
โดยปกติแล้ว อาการไอที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสอาจหายไปได้เอง อย่างไรก็ดี การใช้ยาต่อไปนี้จะช่วยระบบภูมิคุ้มกันในการต้านโรคได้
- ยาแก้ไอ ซึ่งได้แก่ ยาขับเสมหะ และยาแก้ไอ
- ยาลดหรือระงับอาการไอ ซึ่งได้แก่ ยาฟอลโคดีน (pholcodine) ยาเดกซ์โทรเมธอร์แฟน (dextromethorphan) และยาแก้แพ้ (antihistamines)
- ยาปฏิชีวนะ
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรับมือกับอาการไอ
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเองดังต่อไปนี้ อาจช่วยให้รับมือกับอาการไอได้
- พักผ่อนให้เพียงพอ การพักผ่อนสามารถทำให้ระบบภูมิคุ้มกันดีขึ้น จึงช่วยต้านไวรัสได้ดีขึ้น
- ดื่มน้ำมากๆ เพื่อให้ร่างกายชุ่มชื้นเสมอ
- ลดหรือพยายามเลิกสูบบุหรี่
- หลีกเลี่ยงสถานที่ทีมีอากาศชื้น
- รับประทานน้ำผึ้ง เมื่อมีอาการไอเพื่อบรรเทาอาการระคายคอและป้องกันอาการไอ
หากคุณมีข้อสงสัย โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจได้ดีขึ้นถึงวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด