backup og meta

การรักษาโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด ฟื้นฟูสุขภาพปอด ด้วยเทคนิคทางการแพทย์

การรักษาโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด ฟื้นฟูสุขภาพปอด ด้วยเทคนิคทางการแพทย์

สาเหตุที่ทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด ส่วนหนึ่งอาจมาจากผลข้างเคียงจากพฤติกรรมการสูบบุหรี่ หรือการรับประทานยาบางชนิดที่ส่งผลให้เกิดลิ่มเลือด แต่ไม่ต้องเป็นกังวลไปวันนี้ Hello คุณหมอ ได้นำเทคนิค การรักษาโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด ตามคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงวิธีป้องกันไม่ให้เกิดลิ่มเลือดซ้ำ มาฝากกัน

อาการของ โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด ที่ควรเร่งรักษา

อาการทั่วไปของ โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด มักส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจในระดับเบา เช่น อาการหายใจถี่ เจ็บหน้าอก และไอแห้ง หรือไอแบบมีเสมหะ แต่เมื่อใดที่มีอาการรุนแรงกำเริบ สิ่งสำคัญที่คุณควรทำ คือ เร่งเข้ารับการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในทันที เพราะหากชะล่าใจมากจนเกินไป อาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้

อาการรุนแรงของ โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด มีดังต่อไปนี้

  • หัวใจเต้นเร็ว หรือเต้นผิดปกติ
  • อาการวิงเวียนศีรษะ
  • เหงื่อออกมาก
  • มีไข้
  • ปวดขาโดยเฉพาะช่วงน่องขา ที่เกิดลิ่มเลือด
  • ขาบวม
  • สีผิวเปลี่ยนเป็นสีเขียว
  • ไอเป็นเลือด
  • เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน
  • ช็อก หมดสติ และถึงขั้นเสียชีวิต

การวินิจฉัยหาสาเหตุของโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด

ลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด ก่อนข้างวินิจฉัยได้ยากในผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคหัวใจ และโรคปอด แต่ถึงอย่างไรหากคุณมีอาการผิดปกติที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะอาการไอเป็นเลือด อาจต้องเข้ารับการตรวจเช็กสุขภาพอย่างละเอียดจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโวยเทคนิคต่าง ๆ ดังนี้

  • การตรวจเลือด แพทย์อาจตรวจเลือดของคุณด้วยการหาค่า D-dimer และออกซิเจนในเลือด
  • เอกซเรย์ทรวงอก เป็นการตรวจที่สามารถแสดงถึงภาพของหัวใจ และปอดบนแผ่นฟิล์ม ถึงแม้จะวินิจฉัย โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด ไม่ได้มาก แต่อาจเผยให้เห็นถึงความผิดปกติบางอย่างที่เป็นสาเหตุสำคัญในการเกิดลิ่มเลือดได้
  • อัลตราซาวด์ด้วยคลื่นเสียง (Duplex Ultrasonography) คือ เครื่องมือที่แพทย์จะนำอุปกรณ์เคลื่อนที่ไปมาบนผิวหนัง เพื่อให้คลื่นเสียงสะท้อนเป็นตัวแปรในการสร้างภาพเคลื่อนไหวออกมา โดยจะมีรายละเอียดที่ค่อนข้างชัดกว่าเดิม
  • ซีทีแสกน (CT Scan) เป็นการใช้รังสีเอกซ์สร้างภาพ 3 มิติขึ้น เพื่อเห็นโครงสร้างของหลอดเลือดแดงในปอดที่อาจมีการอุดตันของลิ่มเลือดอยู่

กรณีที่ผู้ป่วยมีประวัติโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ แพทย์อาจดำเนินการตรวจด้วยการใส่สายสวนลงไปยังบริเวณปอด ผ่านทางหลอดเลือดดำขนาดใหญ่ และฉีดสีย้อมเข้าไป ประกอบกับการนำเทคนิคเอกซเรย์มาใช้ร่วมในการแสกนเป็นภาพออกมา เพื่อเช็กการไหลของสีย้อมว่า มีส่วนในของหลอดเลือดในปอดที่มีการอุดกั้น

การรักษาโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด มีเทคนิคใดบ้าง

สำหรับการรักษา แพทย์อาจให้ยาต้านการแข็งตัว และยาละลายลิ่มเลือดให้แก่คุณ แต่ขณะเดียวกันในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงควรได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน ด้วยเทคนิคที่แพทย์นิยมใช้ ดังนี้

  • กำจัดลิ่มเลือดด้วยการสอดสายสวน โดยแพทย์จะทำการสอดท่อให้เข้าไปถึงบริเวณที่เกิดลิ่มเลือด จากนั้น อาจมีการใส่ยาสลายลิ่มเลือดผ่านสายสวนเข้าไป หรืออาจใช้อุปกรณ์อื่น ๆ ร่วมเพื่อกำจัดลิ่มเลือดออก
  • การใส่อุปกรณ์กรองลิ่มเลือด เทคนิคนี้จะสงวนไว้ใช้กับผู้ที่รักษาด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือดไม่ได้ผล โดยแพทย์จะใส่แผ่นกรอง เพื่อหยุดลิ่มเลือดก่อนเคลื่อนตัวเข้าสู่ปอด

หลังการรักษาหรือระหว่างการพักฟื้น คุณต้องรับประทานยาตามแพทย์กำหนดให้ครบ และเข้ารับการตรวจเช็กอาการสม่ำเสมอ อีกทั้ง คุณยังสามารถออกกำลังกาย หรือหมั่นเคลื่อนไหวร่างกายด้วยแรงเบาได้ แต่หากอาการเหนื่อยง่าย หรือมีอาการหายใจไม่ออก โปรดหยุดทำกิจกรรมต่าง ๆ และนั่งพักทันที

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What’s to know about pulmonary embolism?. https://www.medicalnewstoday.com/articles/153796. Accessed July 22, 2021

Pulmonary embolism. https://www.nhs.uk/conditions/pulmonary-embolism/. Accessed July 22, 2021

What Is a Pulmonary Embolism?. https://www.webmd.com/lung/what-is-a-pulmonary-embolism. Accessed July 22, 2021

Pulmonary Embolism. https://medlineplus.gov/pulmonaryembolism.html. Accessed July 22, 2021

Pulmonary Embolism.  https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/pulmonary-embolism/symptoms-causes/syc-20354647. Accessed July 22, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

28/07/2021

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคซาร์ส (SARS) หรือโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (Severe Acute Respiratory Syndrome)

ดูแล "สุขภาพปอด" ให้แข็งแรง และห่างไกลจากโรคทางเดินหายใจเรื้อรัง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 28/07/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา