backup og meta

ทุกสิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับ ปอดอุดกั้นเรื้อรัง และผลกระทบต่อปอด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย pimruethai · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    ทุกสิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับ ปอดอุดกั้นเรื้อรัง และผลกระทบต่อปอด

    โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) คือ โรคเรื้อรังที่อาการจะแย่ลงเรื่อยๆเมื่อเวลาผ่านไป รูปแบบหลักสองรูปแบบของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง คือโรคหลอดลมอักเสบชนิดเรื้อรัง (chronic bronchitis) และถุงลมโป่งพอง (Emphysema) คนส่วนใหญ่จะมีอาการทั้ง 2 โรค เพื่อให้เข้าใจกับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมากขึ้น เราควรที่จะดูแต่ละอาการ และดูว่า ปอดอุดกั้นเรื้อรัง และผลกระทบต่อปอด เป็นอย่างไร

    ปอดทำงานอย่างไร

    การทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังให้มากขึ้น ควรจะเข้าใจการทำงานของปอดก่อน ทุกครั้งที่คุณหายใจเข้าไป อากาศจะผ่านท่อลมเข้าไปในหลอดลม (bronchial tube) ที่ในปอดของคุณ หลอดลมพวกนี้จะแบ่งแยกออกเป็นหลอดเล็กๆ เรียกว่า หลอดลมฝอย (bronchioles) ที่ส่วนปลายสุดของหลอดลมฝอยจะมีถุงลม (alveoli) ถุงลมเหล่านี้มีลักษณะคล้ายบอลลูน เมื่อคุณหายใจเข้าไป มันก็จะขยายออก และเติมเต็มอากาศเข้ามา เมื่อคุณหายใจออกมันก็จะแฟบลงดังเดิม

    ที่ผนังของถุงลมนั้นมีหลอดเลือดเล็กๆ ที่เรียกว่า เส้นเลือดฝอย (capillaries) เมื่อถุงลมเต็มไปด้วยอากาศ ออกซิเจนจะเข้าสู่เส้นเลือดฝอย เพื่อถูกนำพาไปสู่ทุกส่วนในร่างกาย คาร์บอนไดออกไซน์ (ของเสีย) ก็จะผ่านออกจากเส้นเลือดฝอยเข้าสู่ถุงลม เพื่อให้คุณหายใจออกไป

    ปอดอุดกั้นเรื้อรัง ส่งผลต่อการหายใจอย่างไร

    โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในปอด และทางเดินหายใจดังนี้

    • ถุงลมและทางเดินหายใจ จะสูญเสียความสามารถในการยืดหด
    • ผนังของถังลมถูกทำลาย
    • ผนังของถุงลมหนาขึ้นและอักเสบ
    • ทางเดินหายใจอุดตันไปด้วยเสมหะ

    หากคุณเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง คุณอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้หนึ่งอย่างหรือมากกว่านั้น การเปลี่ยนแปลงนี้จะลดการไหลเวียนของอากาศในปอด และกีดกันความต้องการออกซิเจนที่มากของร่างกายคุณ

    รูปแบบของโรค ปอดอุดกั้นเรื้อรัง

    รูปแบบของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมี 2 รูปแบบหลักดังนี้

    • โรคหลอดลมอักเสบชนิดเรื้อรัง (chronic bronchitis) อาการอักเสบเรื้อรังที่หลอดลม โดยมีการอุดตันของการไหลเวียนของอากาศ ส่งผลให้มีอาการไอ และมีเสมหะในระยะยาว ระยะยาวที่ว่าหมายถึง แทบทุกวันเป็นเวลาอย่างน้อย 3 เดือนและต่อเนื่อง 2 ปี
    • ถุงลมโป่งพอง (Emphysema) ส่งผลให้มีการทำลายเนื้อเยื่อปอด โดยเฉพาะส่วนของเส้นเลือดฝอย

    โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังทั้งสองรูปแบบ สามารถทำให้เกิดความเสียหายที่ทางเดินหายใจ และส่งผลต่อการดูดซึมออกซิเจน และการปล่อยคาร์บอนไดออกไซน์ได้

    การรักษาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

    ยังไม่มีวิธีการรักษาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังให้หายขาดได้ และแพทย์ก็ไม่สามารถย้อนคืนส่วนที่เสียหาย ให้กลับไปเป็นดังเดิมได้ เมื่อเวลาผ่านไป  การทำงานตามปกติอาจจะเป็นเรื่องที่ยากขึ้น แต่ด้วยการรักษา และการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ คุณสามารถชะลอกระบวนการของโรคได้ เพื่อที่คุณจะได้รู้สึกดีขึ้น สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเป็นปกติ และมีชีวิตชีวามากขึ้น

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย pimruethai · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา