backup og meta

หลอดลมโป่งพอง (Bronchiectasis)

หลอดลมโป่งพอง (Bronchiectasis)
หลอดลมโป่งพอง (Bronchiectasis)

หลอดลมโป่งพอง (Bronchiectasis) เป็นภาวะที่หลอดลมบริเวณปอดถูกทำลายอย่างถาวร และขยายตัวขึ้นอย่างผิดปกติ ทำให้เชื้อแบคทีเรียและเยื่อมูก มีโอกาสสะสมในปอด และเกิดการติดเชื้อและการอุดตันในระบบทางเดินหายใจ

คำจำกัดความ

หลอดลมโป่งพอง คืออะไร

หลอดลมโป่งพอง (Bronchiectasis) เป็นภาวะที่หลอดลมบริเวณปอดถูกทำลายอย่างถาวร และขยายตัวขึ้นอย่างผิดปกติ ทางเดินหายใจที่ถูกทำลายนี้ ทำให้เชื้อแบคทีเรียและเยื่อมูก มีโอกาสสะสมในปอด สุดท้าย เมื่อแบคทีเรียและเยื่อมูกผ่านกลไกการป้องกันของปอด จะเกิดการติดเชื้อและการอุดตันในระบบทางเดินหายใจ

โรคหลอดลมโป่งพองเกิดขึ้น เมื่อผนังของหลอดลมหนาขึ้นจากการอักเสบเรื้อรัง และ/หรือการสะสมของเยื่อมูก

โรคหลอดลมโป่งพองไม่สามารถรักษาได้ แต่ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้เป็นปกติ หากเข้ารับการรักษาที่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม อาการกำเริบต้องเข้ารับการรักษาโดยด่วน เพื่อไม่ให้ส่วนอื่นๆ ของร่างกายสูญเสียออกซิเจน

โรคหลอดลมโป่งพองพบบ่อยแค่ไหน

ในประเทศอังกฤษ ประมาณ 2-3 คนจาก 1,000 คน เป็นโรคหลอดลมโป่งพอง ในความเป็นจริง อาจมีจำนวนมากกว่า เนื่องจากมีแนวคิดว่าผู้ที่มีอาการเกี่ยวกับปอดเป็นระยะเวลานาน อาจจะเป็นโรคหลอดลมโป่งพองด้วยเช่นกัน อัตราการเกิดโรคหลอดลมโป่งพองมีในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกวัย แม้แต่วัยเด็ก แต่มักจะพบบ่อยในกลุ่มผู้ใหญ่ ควรปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

อาการ

อาการของโรคหลอดลมโป่งพอง

อาการของโรคหลอดลมโป่งพองที่พบบ่อย ได้แก่

  • ไอมีเสมหะเหลืองหรือเขียวปนทุกวัน
  • หายใจสั้นและมีอาการแย่ลงระหว่างการกำเริบของโรค
  • รู้สึกเหนื่อยหรือหมดแรง โดยเฉพาะในช่วงที่อาการกำเริบ
  • มีไข้ และ/หรือ หนาวสั่น มักเกิดขึ้นระหว่างการกำเริบของโรค
  • มีเสียงหวีดหรือเสียงลมขณะหายใจ
  • ไอเป็นเลือดหรือมีมูกปนกับเลือด ซึ่งอาการนี้เรียกว่า ไอเป็นเลือด
  • เจ็บหน้าอก
  • รอยเขียวบริเวณผิวหนัง
  • น้ำหนักลด
  • อ่อนเพลีย
  • หนังใต้เล็บมือเล็บเท้าหนาขึ้น

อาจมีอาการอื่นที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากคุณมีความกังวลเรื่องอาการของโรคโปรดปรึกษาแพทย์

ควรพบหมอเมื่อไร

หากคุณสังเกตสัญญาณหรือมีอาการดังกล่าวข้างต้น ควรปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละคนแสดงอาการได้แตกต่างกัน วิธีที่ดีสุดคือการเข้าพบหมอ

สาเหตุ

สาเหตุของโรคหลอดลมโป่งพอง

  • การติดเชื้อที่ปอด เป็นสาเหตุของโรคหลอดลมโป่งพองที่พบบ่อยที่สุด รวมถึงการติดเชื้อไวรัส เช่น ไข้หวัดใหญ่ และการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น เชื้อสแตฟิโลคอกคัส (staph) หรือ วัณโรค
  • ภูมิคุ้มกันทางด้านฮิวเมอรัลต่ำ (ระดับของโปรตีนในเลือดในการต้านการติดเชื้อต่ำ
  • กลุ่มโรคที่มีการอักเสบของระบบทางเดินอาหาร (โรคโครห์นและโรคลำไส้ใหญ่อักเสบชนิดเป็นแผล)
  • กลุ่มโรคเกี่ยวกับรูมาตอยด์ (โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ และโรคโจเกรน)
  • ถุงลมโป่งพองจากการขาด อัลฟ่า-1 (Alpha1-antitrypsin deficiency) ที่เป็นสาเหตุทางพันธุกรรมของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในบางคน
  • โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD)
  • การติดเชื้อเอชไอวี ระดับภูมิคุ้มกันที่ต่ำทำให้เกิดโรคติดเชื้อต่างๆ ที่สามารถนำไปสู่การเป็นโรคหลอดลมโป่งพองได้
  • โรคกรดไหลย้อน (GERD)
  • โรคภูมิแพ้ทางระบบทางเดินหายใจ เป็นอาการโรคภูมิแพ้ทางการอักเสบของปอดชนิดหนึ่ง

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดลมโป่งพอง

การเกิดโรคหลอดลมโป่งพองมีหลายปัจจัย เช่น

  • ภาวะขาดโปรตีน CFTR หรือการทำงานของโปรตีน CFTR บกพร่องในหลอดลมเนื่องจากอาการโรคซิสติก ไฟโบรซิส (CF)
  • เป็นโรคที่ส่งผลต่อระบบทั่วไปของร่างกายที่เกี่ยวข้องกับโรคหลอดลมโป่งพองตามอาการที่กล่าวไว้ข้างต้น
  • การติดเชื้อที่ปอดอย่างรุนแรงหรือเรื้อรัง (เช่น วัณโรค ซึ่งทำลายระบบทางเดินหายใจ)

การวินิจฉัยและการรักษาโรค

ข้อมูลเหล่านี้ไม่สามารถแทนคำปรึกษาทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยโรคหลอดลมโป่งพอง

  • ฟังเสียงปอด เพื่อตรวจว่ามีเสียงที่ผิดปกติหรือมีสิ่งที่อุดกั้นทางเดินอากาศ
  • การตรวจเลือด เพื่อบ่งชี้ภาวะติดเชื้อ
  • การตรวจเสมหะ เพื่อหาเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย
  • การเอกซเรย์ปอดหรือซีทีสแกน เพื่อดูภาพของปอด
  • การทดสอบการทำงานของปอด เพื่อตรวจการไหลเวียนของอากาศในปอด
  • การตรวจคัดกรองวัณโรค (PPD)
  • การตรวจโดยใช้แอนติเจนเพื่อหาเชื้อแอสเพอร์จิลลัส (Aspergillus precipitins) และระดับค่าอิมมูโนโกลบูลิน เพื่อวินิจฉัยโรคภูมิแพ้ ทางระบบทางเดินหายใจ (ABPA)
  • การตรวจหาโรคแพ้ภูมิตัวเอง

การรักษาโรคหลอดลมโป่งพอง

ยังไม่มีการรักษาโรคหลอดลมโป่งพองที่แน่นอน หากเข้ารับการรักษาโดยเร่งด่วน จะสามารถควบคุมอาการของโรคได้ จุดมุ่งหมายของการรักษาคือ การควบคุมการติดเชื้อและการหลั่งสารในหลอดลม สิ่งที่สำคัญคือการป้องกันไม่ให้เกิดการขีดขวางในระบบทางเดินหายใจ และลดอันตรายที่เกิดขึ้นกับปอด

  • การรักษาโรคหลอดลมโป่งพอง ด้วยยาปฏิชีวนะเป็นการรักษาโดยทั่วไปเนื่องจากเชื้อแบคทีเรียเป็นสาเหตุของการติดเชื้อที่ปอด
  • แมคโครไลด์ (Macrolides) เป็นยาปฏิชีวนะชนิดหนึ่งที่ไม่เพียงฆ่าเชื้อแบคทีเรียโดยเฉพาะแต่ยังสามารถลดการอักเสบในหลอดลมได้
  • การให้ยาละลายเสมหะ มักให้ในรูปแบบยาพ่นฝอยละอองที่มีส่วนผสมของสารละลายน้ำเกลือไฮเปอร์โทนิค พ่นและสูดดมเข้าไปในปอด การรักษาประเภทนี้ช่วยละลายเสมหะในหลอดลม ทำให้ไอเอาเสมหะออกมาได้ง่ายขึ้น
  • การใช้อุปกรณ์ละลายเสมหะ อุปกรณ์เหล่านี้ช่วยจัดการกับเสมหะ โดยช่วยให้ผู้ป่วยหายใจออกไปโดยใช้เครื่องที่ถือและทำให้เกิดการสั่นของอากาศในหลอดลมเพื่อเป็นการละลายเสมหะ มีอุปกรณ์อื่นๆ ที่สามารถใส่ได้และช่วยทำให้หน้าอกสั่นเพื่อขับเสมหะ ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์เหล่านี้
  • การรักษาด้วยการให้ออกซิเจน
  • การเข้ารับการดูแลในโรงพยาบาล เนื่องจากการกำเริบของโรคที่รุนแรง
  • การรักษาโดยการผ่าตัด
  • การรักษาโดยการใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์
  • การให้อาหารเสริม

การเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

การเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์หรือการเยียวยาโรคหลอดลมโป่งพองด้วยตนเอง

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือการรักษาอาการด้วยตนเอง เพื่อช่วยในการรับมือกับโรคหลอดลมโป่งพอง มีดังนี้

  • ควรเข้ารับการรักษาทันที เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้อาการหลอดลมโป่งพองกลายเป็นการติดเชื้อที่ปอด
  • หากออกไปข้างนอก ควรหลีกเลี่ยงมลภาวะทางอากาศและปกป้องปอดของคุณจากควันพิษต่างๆ
  • เลิกสูบบุหรี่เห็นสิ่งสำคัญต่อสุขภาพปอดโดยรวม
  • เด็กๆ ควรได้รับวัคซีนต้านเชื้อไข้หวัดใหญ่ ไอกรนและ โรคหัด เนื่องจากโรคเหล่านี้อาจเกี่ยวข้องต่อภาวะของร่างกายเมื่อโตขึ้น

หากมีคำถามเกี่ยวกับโรค ควรปรึกษาแพทย์เพื่อความเข้าใจในวิธีการรักษาที่ดีที่สุด

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Bronchiectasis http://www.lung.org/lung-health-and-diseases/lung-disease-lookup/bronchiectasis/diagnosing-and-treating.html. Accessed March 4, 2017

Bronchiectasis http://www.healthline.com/health/bronchiectasis#Causes2. Accessed March 4, 2017

Bronchiectasis http://emedicine.medscape.com/article/296961-overview#a6. Accessed March 4, 2017

เวอร์ชันปัจจุบัน

15/03/2021

เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ฝึกหายใจขยายปอด หายใจถูกวิธี ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของปอดได้

หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน (Acute bronchitis)


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 15/03/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา