backup og meta

ไอ เกิดจากอะไร และควรรักษาอย่างไร

ไอ เกิดจากอะไร และควรรักษาอย่างไร

ไอ เป็นอาการที่ร่างกายตอบสนองต่อการระคายเคืองของสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ ซึ่งอาจทำให้ทราบถึงอาการป่วยในระยะแรกและสัญญาณเตือนของโรคต่าง ๆ เช่น โรคไข้หวัดธรรมดา โรคไข้หวัดใหญ่ โรคโควิด-19 เพื่อเข้ารับการวินิจฉัยหรือรักษาได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่จำเป็นต้องรอให้อาการหนักรุนแรง

[embed-health-tool-bmi]

ไอ คืออะไร 

ไอ คือ กระบวนการตอบสนองของร่างกาย เมื่อมีสิ่งระคายเคืองหรือสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ เช่น ฝุ่น น้ำมูก ละอองน้ำหอม เชื้อแบคทีเรีย โดยการระคายเคืองนั้นจะกระตุ้นเส้นประสาทที่ส่งไปยังสมองสั่งให้เกิดอาการไอ เพื่อช่วยขับสิ่งแปลกปลอมที่ส่งผลให้ระคายเคืองออกมา

อาการไอแบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน ดังนี้

  • อาการไอแห้ง เป็นอาการไอที่ไม่มีเสมหะ เนื่องจากไม่มีเสมหะ หรือน้ำมูกอุดตันอยู่ในปอดหรือทางเดินหายใจ แต่อาจส่งผลให้มีอาการคอแห้ง ระคายเคืองภายในลำคอ และเจ็บคอ โดยอาการไอแห้งอาจเกิดขึ้นเมื่อเป็นกรดไหลย้อน การเจ็บป่วย สำลักอาหาร สูบบุหรี่ และผลข้างเคียไองจากยาบางชนิด 
  • อาการไอแบบมีเสมหะ เป็นอาการไอที่มาพร้อมกับเสมหะในลำคอ มีลักษณะเป็นเมือกสีขาวใส สีขาวขุ่น สีเขียว สีเหลือง ที่อาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย การติดเชื้อไวรัส เป็นสัญญาณเตือนแรกของอาการเจ็บป่วย ที่ควรเข้ารับการรักษาหรือรับประทานยาแก้ไอและลายเสมหะ เพราะหากภายในปอดมีเสมหะมากเกินไปอาจนำไปสู่การหายใจลำบากได้

อาการไอดังกล่าว อาจเกิดขึ้นได้แบบเฉียบพลันหรืออาจเรื้อรังเป็นเวลาหลายสัปดาห์ ดังนั้น จึงควรสังเกตอาการอื่น ๆ ร่วม เพื่อเช็กตนเองว่ากำลังเจ็บป่วยอยู่หรือไม่ เช่น มีไข้สูง ไอเป็นเลือด หายใจเสียงดังฮืด ๆ อาการหนาวสั่นหรือร้อนวูบวาบ มีน้ำมูก เจ็บหน้าอก เบื่ออาหาร รู้สึกอ่อนเพลียและไม่มีเรี่ยวแรง เพื่อเข้ารับการวินิจฉัยและรับการรักษาได้อย่างเหมาะสมตามสาเหตุที่เป็น

ไอ เป็นสัญญาณเตือนของโรคอะไร

อาการไอ อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคต่าง ๆ ดังนี้

วิธีรักษาอาการไอ

วิธีรักษาอาการไอ อาจทำได้ดังนี้

ยา

  • ยาแก้ไอ ที่มีในรูปแบบเม็ด และสารละลาย เพื่อช่วยบรรเทาอาการไอ และลดอาการบวมอักเสบของอวัยวะภายในระบบทางเดินหายใจ ที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาด้วยตัวเองหรือเข้าพบคุณหมอหากมีอาการเจ็บป่วยร่วมด้วย โดยควรแจ้งให้อาการให้ทราบอย่างละเอียดเพื่อรับยาแก้ไอชนิดที่เหมาะสม
  • ยาปฏิชีวนะ เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการไอจากการเจ็บป่วยที่ติดเชื้อแบคทีเรีย โดยเป็นยาที่ควรได้รับจากใบสั่งยาจากคุณหมอโดยตรง เพื่อช่วยต้านเชื้อแบคทีเรีย
  • ยาต้านไวรัส เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการไอจากการติดเชื้อไวรัส เพื่อช่วยต้านไวรัสที่เข้าสู่ระบบทางเดินหายใจจนส่งผลให้เจ็บป่วยและมีอาการไอ โดยควรได้รับการอนุญาตจากคุณหมอตามใบสั่งยา
  • ยาอื่น ๆ เช่น ยาลดน้ำมูก เพื่อช่วยลดน้ำมูกที่ลงคอที่อาจช่วยลดเสมหะได้ ยาแก้ปวดและยาลดไข้ เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อและลดไข้ 

ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน

  • ดื่มน้ำอุ่นหรือน้ำอุณหภูมิห้องให้มาก ๆ เพื่อช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นในลำคอ ลดอาการเจ็บคอ คอแห้ง และอาจช่วยขจัดสิ่งแปลปลอมในปอดให้ขับออกมาเป็นเสมหะได้ง่ายขึ้น
  • เคี้ยวอาหารให้ละเอียดอย่างช้า ๆ เพื่อป้องกันการสำลักที่ทำให้ไอ
  • หลีกเลี่ยงการสูดดมสารระคายเคือง เช่น ละอองเกสรดอกไม้ ละอองน้ำหอม ขนสัตว์เลี้ยง สารเคมีจากยาย้อมผม สีทาเล็บ หรือสารเคมีในที่ทำงาน หรืออาจใส่หน้ากากอนามัยเพื่อช่วยคัดกรองสารระคายเคือง บรรเทาอาการไอนอกจากนี้ควรล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ทุกครั้งหลังจากสัมผัส
  • หลีกเลี่ยงการนำมือไปสัมผัสกับดวงตา จมูกและปาก โดยไม่ล้างมือ เพราะอาจทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจทำให้เกิดการระคายเคืองและไอหรือเจ็บป่วยได้
  • กลั้วคอด้วยน้ำเกลือ โดยนำน้ำอุ่น 1 แก้ว ผสมกับเกลือ ½ ช้อนชา และกลั้วคอจากนั้นบ้วนทิ้ง ซึ่งเป็นวิธีที่อาจช่วยขจัดเชื้อแบคทีเรียและสิ่งแปลปลอม บรรเทาอาการระคายเคืองคอที่ทำให้เกิดอาการไอและเจ็บคอ
  • ล้างจมูกด้วยน้ำเกลือที่ใช้สำหรับทางการแพทย์ ซึ่งสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยา เพื่อช่วยขจัดน้ำมูกในโพรงจมูก เพราะหากน้ำมูกมากเกินไปอาจลงไปยังลำคอกลายเป็นเสมหะทำให้หายใจลำบากได้
  • หยุดสูบบุหรี่เพราะสารพิษในบุหรี่ทำให้อาการไอแย่ลงและกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ อีกทั้งยังเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายแรง เช่น โรคมะเร็งปอด โรคถุงลมโป่งพอง โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง
  • เข้ารับการฉีดวัคซีนตามที่คุณหมอกำหนด เพื่อช่วยลดความเสี่ยงเป็นโรคที่ส่งผลให้ไอ และบรรเทาอาการรุนแรงเมื่อเจ็บป่วย อีกทั้งควรเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อตรวจคัดกรองโรค

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Cough. https://www.nhs.uk/conditions/cough/.Accessed January 15, 2023   

Cough. https://www.mayoclinic.org/symptoms/cough/basics/definition/sym-20050846.Accessed January 15, 2023   

Slideshow: Tips for Calming Your Cough. https://www.webmd.com/cold-and-flu/ss/slideshow-cough-treatments.Accessed January 15, 2023  

That nagging cough. https://www.health.harvard.edu/staying-healthy/that-nagging-cough.Accessed January 15, 2023  

Cough. https://my.clevelandclinic.org/health/symptoms/17755-cough.Accessed January 15, 2023  

Dry Cough and Chest Tightness. https://my.clevelandclinic.org/health/symptoms/21888-dry-cough-and-chest-tightness.Accessed January 15, 2023  

Cough Hacks: How to Find Relief. https://www.webmd.com/cold-and-flu/cough-get-rid-home-hacks .Accessed January 15, 2023  

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/01/2023

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ไอตอนกลางคืน สาเหตุและวิธีช่วยบรรเทาอาการให้ดีขึ้น

อาการไอแห้ง ไร้เสมหะ เราสามารถรักษาได้อย่างไรกัน


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 31/01/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา