backup og meta

ทาสน้องหมาโปรดระวัง อาการแพ้ขนสุนัข ที่อาจเกิดกับคุณขึ้นโดยไม่รู้ตัว

ทาสน้องหมาโปรดระวัง อาการแพ้ขนสุนัข ที่อาจเกิดกับคุณขึ้นโดยไม่รู้ตัว

สำหรับทาสหมาที่ชอบเล่น และสัมผัสกับสัตว์เลี้ยงของคุณโดยตรงอย่างใกล้ชิด ไม่ว่าจะเป็นการกอดหรือหอมก็ตาม โปรดพึงระวังให้ดี เพราะหากมีอาการป่วยบางอย่างขึ้น ก็อาจเป็นไปได้ว่าคุณอาจกำลังมี อาการแพ้ขนสุนัข ดังนั้น วันนี้ Hello คุณหมอ จึงขอนำความรู้เกี่ยวกับอาการ แพ้ขนสุนัข รวมไปถึงวิธีการรักษาเบื้องต้น ก่อนที่จะเกิดอาการรุนแรง มาฝากทุกคนกันค่ะ

สาเหตุที่ส่งผลให้คุณเกิด อาการแพ้ขนสุนัข

อาการแพ้ขนสุนัข (Dog Allergies) สามารถเกิดขึ้นจากการสัมผัสกับสารบางอย่างในตัวสุนัขที่ออกมาทางน้ำลายหรือปัสสาวะ ที่เปรอะเปื้อนตามจุดต่าง ๆ รวมไปถึงบนผิวหนัง และเส้นขน เมื่อคุณเผลอไปสัมผัส หรือรับเชื้อจากสัตว์เลี้ยงเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการใกล้ชิดด้วยการกอด หรือแม้แต่การเช็ดทำความสะอาดปัสสาวะ อุจจาระ ก็อาจส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันของคุณมีเริ่มกระบวนการต่อต้านสารที่ปะปนเข้ามา จนนำไปสู่การเกิดปฏิกิริยาทางร่ายกายที่เรียกว่าภูมิแพ้ขึ้น

สัญญาณเบื้องต้น ของอาการแพ้ขนสุนัข

บางครั้งอาการแพ้ขนสุนัขอาจไม่ปรากฏขึ้นทันทีเมื่อคุณสัมผัสกับสัตว์เลี้ยง แต่อาจเกิดอาการ แพ้ขนสุนัข ได้ในเวลาต่อมา ซึ่งมักปรากฏออกมาในรูปแบบของอาการดังต่อไปนี้

  • อาการคัน บวม บริเวณโพรงจมูก และรอบดวงตา
  • ผื่นขึ้นที่ผิวหนัง
  • หายใจลำบาก แน่นหน้าอก
  • ไอ จาม
  • น้ำมูกไหล
  • ตาแดง

นอกจากนี้หากผู้เลี้ยงมีภาวะทางสุขภาพที่ค่อนข้างไวต่อปฏิกิริยาแพ้ต่อสารหรือเชื้อโรคดังกล่าว ก็อาจก่อให้เกิดความรุนแรงต่อผิวหนัง หรือบริเวณที่มีการสัมผัสกับน้ำลายสุนัขเพิ่มเติม จนเกิดเป็นลมพิษ และโรคหอบหืดขึ้นได้อีกด้วย

วิธีรักษาอาการ แพ้ขนสุนัข

แน่นอนว่าการรักษาด้วยยาที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญแนะนำและกำหนดให้คุณ ย่อมเป็นหนทางออกที่ดีที่จะช่วยบรรเทาอาการ แพ้ขนสุนัข โดยส่วนใหญ่แพทย์อาจกำหนดยาให้คุณตามอาการที่คุณมีเท่านั้น โดยมีทั้งในรูปแบบเม็ด และสเปรย์ฉีดพ่น เช่น ยาไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine) เฟกโซเฟนาดีน (Fexofenadine)  ลอราทาดีน (Loratadine) โครโมลินโซเดียม (Cromolyn Sodium)

ที่สำคัญคุณควรปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวันเพื่อป้องกันอาการ แพ้ขนสุนัข ด้วยวิธีดังต่อไปนี้ เพื่อช่วยให้คุณพ้นจากความเสี่ยงของการเกิดภูมิแพ้ได้

  • จัดเขตที่นอน หรือกำหนดขอบเขตให้แก่สุนัขของคุณอย่างเหมาะสม ไม่รุกล้ำพื้นที่ส่วนตัวมากจนเกินไปโดยเฉพาะห้องนอนของคุณ
  • หมั่นอาบน้ำให้สุนัข โดยใช้แชมพูที่อ่อนโยนเหมาะกับผิวหนัง เพื่อป้องกันขนร่วง
  • ทำความสะอาดบ้านโดยรอบ รวมไปถึงเฟอร์นิเจอร์ เช่น ม่าน พรม หมอน เป็นต้น
  • ควรมีเครื่องกรองอากาศติดไว้ภายในบ้าน หรือห้องที่คุณมักอยู่ร่วมกับสุนัข อีกทั้งยังควรถอดไส้กรอกออกมาทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ

ก่อนการตัดสินใจจะรับสัตว์เลี้ยงมาอาศัยอยู่ร่วมกันทุกครั้ง คุณควรทำการตรวจเช็กสุขภาพถึงโรคภูมิแพ้ของตนเอง พร้อมศึกษาการเลี้ยงดูสุนัขเสียก่อน เนื่องจากสุนัขมีพื้นฐานของนิสัย สายพันธุ์ และถิ่นกำเนิดที่แตกต่างกันออกไป เพื่อเป็นการช่วยลดผลกระทบในเชิงลบที่อาจเกิดขึ้นแก่ร่างกายของผู้เลี้ยง รวมไปถึงช่วยลดปัญหาของการทอดทิ้งสัตว์เลี้ยงในอนาคต

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Dog Allergies https://www.healthline.com/health/allergies/dog Accessed January 28, 2021

Dog Allergies https://www.webmd.com/allergies/dog-allergies Accessed January 28, 2021

Am I allergic to my dog? https://www.medicalnewstoday.com/articles/321420 Accessed January 28, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

12/02/2021

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

สัตว์เลี้ยงกับเด็ก อยู่ร่วมกันอย่างไร ไม่ให้ส่งผลเสียต่อสุขภาพ

สัตว์เลี้ยงบำบัด สุขภาพจิตดีขึ้นได้ ด้วยเพื่อนซี้คลายเหงาแสนรู้!


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 12/02/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา