ปัจจัยเสี่ยงมะเร็งรังไข่ และวิธีการป้องกัน
มะเร็งรังไข่ เป็น มะเร็งอวัยวะเพศสืบพันธุ์ของผู้หญิง ในประเทศไทยเป็นมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับที่ 2 รองจากมะเร็งปากมดลูก และเป็นอันดับที่ 6 ของมะเร็งทั้งหมดที่พบในผู้หญิงไทย โดย ปัจจัยเสี่ยงมะเร็งรังไข่ มีหลายประการ เช่น พันธุกรรม อายุ อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นมะเร็งรังไข่เสมอไป การหมั่นสังเกตปัจจัยเสี่ยง อาจช่วยลดการเกิดของโรคได้มากยิ่งขึ้น [embed-health-tool-bmi] ปัจจัยเสี่ยงมะเร็งรังไข่ ปัจจัยต่อไปนี้อาจเป็นส่วนหนึ่งการเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งรังไข่ อายุที่เพิ่มขึ้น ความเสี่ยงของมะเร็งรังไข่จะพบได้บ่อยมากขึ้นเมื่ออายุประมาณ 40-45 ปี ขึ้นไป หรือวัยหมดประจำเดือน แต่มะเร็งรังไข่บางชนิดอาจเกิดขึ้นกับผู้ที่มีอายุน้อยได้ พันธุกรรม เกิดจากยีนที่บกพร่องที่เกิดจากการถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรรม ได้แก่ BRCA1 BRCA2 เป็นกลุ่มยีนที่ทำหน้าที่ควบคุมการเจริญของเซลล์ในเซลล์ปกติ หากยีนเกิดการทำงานผิดปกติอาจทำให้มีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่สูงขึ้น รวมไปถึงบุคคลที่มีประวัติครอบครัวหรือญาติที่ใกล้ชิดเป็นมะเร็งรังไข่ มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ ผู้หญิงที่ไม่เคยมีบุตร หรือภาวะมีบุตรยาก ผู้หญิงที่ไม่เคยตั้งครรภ์ หรือมีบุตรตอนอายุ 35 ปีขึ้นไป อาจมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งรังไข่มากกว่าบุคคลที่เคยตั้งครรภ์หรือมีบุตร เนื่องจากเมื่อผู้หญิงมีการตกไข่ การซ่อมแซมคอร์ปัสลูเทียม หรือถุงน้ำที่ไข่ขับออกมา สามารถทำให้เกิดการกลายพันธ์ุและแปรเปลี่ยนเป็นเซลล์มะเร็งรังไข่ได้ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เกิดจากเยื่อบุโพรงมดลูกที่ไปเจริญเติบโตผิดที่นอกโพรงมดลูก โดยอาจแทรกตัวอยู่ในผนังหรือกล้ามเนื้อมดลูก รวมถึงอาจเล็ดลอดเข้าไปในช่องท้องและเจริญเติบโตอยู่ตามอวัยวะอื่น ๆ เช่น เยื้อบุช่องท้อง ผนังลำไส้ […]