backup og meta

มะเร็งไต (Kidney Cancer)

มะเร็งไต (Kidney Cancer)

มะเร็งไต เป็นมะเร็งชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นในไต มักไม่ทำให้เกิดอาการใด ๆ ในระยะเริ่มแรก ต่อเมื่อมะเร็งลุกลามจึงมีอาการ ประเภทของมะเร็งไตที่พบได้มากที่สุด คือ มะเร็งคาร์ซิโนมาของเนื้อเยื่อไต

คำจำกัดความ

มะเร็งไต คืออะไร

มะเร็งไต (Kidney Cancer) เป็นมะเร็งชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นในไต ไตเป็นอวัยวะภายในรูปร่างคล้ายถั่วแดงสองข้าง โดยแต่ละข้างมีขนาดเท่ากับหนึ่งกำมือ อยู่บริเวณหลังอวัยวะในช่องท้อง โดยไตข้างหนึ่งจะอยู่ด้านข้างของกระดูกสันหลัง การตรวจพบมะเร็งไตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นด้วยเทคโนโลยีทีซีสแกน โดยส่วนมากเป็นการตรวจพบมากโดยบังเอิญ

มะเร็งไต พบได้บ่อยเพียงใด

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (The National Cancer Institute) ประมาณการว่า พบผู้ป่วยมะเร็งไตรายใหม่มากกว่า 61,000 รายในสหรัฐฯ ในปี พ.ศ. 2558 ในกลุ่มผู้ใหญ่ ประเภทของมะเร็งไตที่พบได้มากที่สุด คือ มะเร็งคาร์ซิโนมาของเนื้อเยื่อไต (Renal Cell Carcinoma) มะเร็งไตประเภทอื่นที่พบได้น้อยกว่าก็สามารถเกิดขึ้นได้ ทั้งนี้พบว่า เด็กมีโอกาสมากกกว่าในการเป็นมะเร็งไตชนิด Wilms tumor

โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

อาการ

อาการของ โรคมะเร็งไต

สัญญาณบ่งชี้และอาการของ โรคมะเร็งไต มีความหลากหลายตามระยะของโรค มะเร็งไตมักไม่ทำให้เกิดอาการใด ๆ ในระยะเริ่มแรก ต่อเมื่อมะเร็งลุกลาม อาจมีอาการดังต่อไปนี้

  • ปวดหลังเรื้อรัง โดยเฉพาะบริเวณใต้ซี่โครง
  • มีเลือดปนในปัสสาวะ
  • ปวดท้อง
  • ท้องบวม
  • มีก้อนในช่องท้อง
  • อ่อนเพลีย
  • ปวดเอว
  • เป็นไข้ซ้ำ
  • น้ำหนักลด
  • ท้องผูก
  • ผิวซีด
  • ทนต่ออากาศหนาวไม่ได้
  • มีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น
  • มีขนขึ้นมากเกินไปในผู้หญิง

ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด

หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของ โรคมะเร็งไต

ปัจจุบัน ยังไม่ทราบแน่ชัดถึงสาเหตุของโรคมะเร็งไต แต่แพทย์ทราบว่ามะเร็งไตเริ่มเกิดขึ้น เมื่อเซลล์ไตบางส่วนเกิดการผ่าเหล่าในดีเอ็นเอ ซึ่งทำให้เซลล์เติบโตและแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว จากนั้น เซลล์ผิดปกติจะก่อตัวกลายเป็นเนื้องอก ที่ขยายตัวเพิ่มออกมาจากบริเวณไต เซลล์บางเซลล์สามารถแตกออก และแพร่กระจายไปยังส่วนของร่างกายที่อยู่ห่างออกไปได้

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของ โรคมะเร็งไต

มีความเสี่ยงหลายประการที่ก่อให้เกิด โรคมะเร็งไต ได้ ได้แก่

  • อายุที่มากขึ้น
  • เพศชาย
  • การสูบบุหรี่เป็นเวลานาน
  • ความดันโลหิตสูง
  • เข้ารับการฟอกไตเป็นเวลานานเนื่องจากภาวะไตวาย
  • เป็นโรคอ้วน
  • มีไตรูปเกือกม้าซึ่งเป็นภาวะบกพร่องแต่กำเนิดประเภทหนึ่ง
  • เป็นโรคถุงน้ำในไต (Polycystic Kidney Disease)
  • สัมผัสสารพิษต่าง ๆ ในสถานที่ทำงาน

การวินิจฉัยและการรักษาโรค

ข้อมูลที่นำเสนอมิได้ใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ ให้ปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยโรคมะเร็งไต

หากแพทย์สงสัยว่าคุณอาจเป็นโรคนี้ แพทย์จะตรวจร่างกายและแนะนำการทดสอบบางประการด้วยเช่นกัน โดยการทดสอบและหัตถการที่ใช้วินิจฉัยมะเร็งไต ได้แก่

  • การทดสอบเลือดและปัสสาวะ

การทดสอบเลือดและปัสสาวะอาจบ่งบอกถึงสาเหตุของสัญญาณบ่งชี้และอาการต่าง ๆ

  • การทดสอบโดยใช้ภาพถ่ายอวัยวะ

การทดสอบโดยใช้ภาพถ่ายอวัยวะทำให้แพทย์มองเห็นเนื้องอกหรือความผิดปกติที่ไต การทดสอบโดยใช้ภาพถ่ายอวัยวะ ได้แก่

อัลตร้าซาวด์ การตรวจด้วยซีทีสแกน หรือการตรวจเอ็มอาร์ไอ

  • การตรวจตัวอย่างเนื้อเยื่อไต

อาจมีผู้ป่วยบางรายเท่านั้น ที่แพทย์อาจแนะนำการนำเซลล์ตัวอย่างขนาดเล็ก จากบริเวณไตที่สงสัยว่าเป็นมะเร็ง มาตรวจสอบในห้องปฏิบัติการ เพื่อตรวจหาสิ่งบ่งชี้การเป็นมะเร็ง

เมื่อแพทย์สามารถระบุรอยโรคที่ไตที่อาจพัฒนาเป็นมะเร็งแล้ว ขั้นต่อไป คือ ระบุระยะของโรคมะเร็ง โดยสามารถตรวจสอบได้จากทีซีสแกนหรือใช้ภาพถ่ายอวัยวะเพิ่มเติมตามที่แพทย์เห็นว่าเหมาะสม จากนั้น แพทย์จะกำหนดหมายเลข ซึ่งเรียกว่า “ระยะของโรค’ ซึ่งมี 4 ระยะ ได้แก่

  • ระยะที่ 1 ในระยะนี้ เนื้องอกสามารถมีเส้นผ่าศูนย์กลางได้ถึง 2 3/4 นิ้ว (7 เซนติเมตร) โดยจะถูกจำกัดอยู่ในไต
  • ระยะที่ 2 มะเร็งไตระยะที่ 2 มีขนาดใหญ่กว่าเนื้องอกในระยะที่ 1 แต่ยังคงถูกจำกัดอยู่ในไต
  • ระยะที่ 3 ในระยะนี้เนื้องอกจะขยายออกจากไตไปยังเนื้อเยื่อโดยรอบและอาจแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองในบริเวณใกล้เคียง
  • ระยะที่ 4 มะเร็งแพร่กระจายออกไปภายนอกไตไปยังต่อมน้ำเหลืองต่าง ๆ หรือไปยังส่วนของร่างกายที่อยู่ห่างออกไป เช่น กระดูก ตับ หรือปอด 

การรักษาโรคมะเร็งไต

การรักษามะเร็งไตมุ่งเน้นการกำจัดมะเร็งออกจากร่างกาย มักทำด้วยการผ่าตัด อาจเป็นการผ่าตัดทำลายเหตุ หรือแบบดั้งเดิม ต่อไปนี้เป็นการรักษาที่พบได้ทั่วไปบางประการที่แพทย์อาจแนะนำ ซึ่งได้แก่

  • การผ่าตัดไตทั้งสองข้างออก

การผ่าตัดไตทั้งสองข้างออกเป็นการผ่าตัดนำไตออกไป ไตทั้งหมดถูกนำออกไปพร้อมกับเนื้อเยื่อโดยรอบและต่อมน้ำเหลือง ต่อมหมวกไตถูกนำออกไปด้วยเช่นกัน การผ่าตัดสามารถทำได้ผ่านทางรอยผ่าขนาดใหญ่หรือด้วยการผ่าตัดส่องกล้อง

  • การผ่าตัดไตแบบดั้งเดิม

การผ่าตัดไตแบบดั้งเดิมเป็นการผ่าตัดนำส่วนมะเร็ง ต่อมน้ำเหลือง และเนื้อเยื่อโดยรอบออกไปเท่านั้น ส่วนของไตยังคงอยู่ วิธีนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “Nephron-sparing Nephrectomy’ เซลล์มะเร็งยังสามารถถูกทำลายได้ด้วยการแช่แข็ง ซึ่งเรียกว่า “Cryosurgery’ หรือการใช้ความร้อนที่เรียกว่า “Radiofrequency Ablation’

การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัดใช้สารสังเคราะห์ขึ้นเพื่อเลียนแบบสารเคมีของระบบภูมิคุ้มกันที่พบในร่างกาย ยาที่ใช้ในการรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด ได้แก่ Interferon และยา Aldesleukin (Proleukin) เป็นต้น

  • การรักษามะเร็งที่ลดผลข้างเคียงต่อเซลล์ปกติ

การรักษามะเร็งที่ลดผลข้างเคียงต่อเซลล์ปกติ มีวัตถุประสงค์เพื่อขัดขวางการเกิดสิ่งผิดปกติในเซลล์มะเร็ง โดยจะช่วยหยุดการสร้างเส้นเลือดใหม่ที่สามารถลำเลียงสารอาหารไปยังเซลล์มะเร็ง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการปฏิบัติตนขั้นพื้นฐาน

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองที่ช่วยรับมือโรคมะเร็งไต

การปฏิบัติตามเคล็ดลับที่มีประโยชน์เหล่านี้ อาจช่วยให้คุณหลีกเลี่ยงมะเร็งไตได้

  • ไม่สูบบุหรี่
  • รับประทานอาหารที่สมดุล
  • ควบคุมน้ำหนัก
  • ป้องกันตนเองจากสารเคมีที่ทำงาน
  • ควบคุมความดันโลหิต

หากคุณมีข้อสงสัย โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจได้ดีขึ้นถึงวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Kidney cancer. http://www.webmd.com/cancer/understanding-kidney-cancer#1  . Accessed December 27, 2016.

Kidney cancer .   http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/kidney-cancer/basics/alternative-medicine/con-20024753      . Accessed December 27, 2016.

Cancer stat facts: Kidney and renal pelvis cancer. (n.d.). seer.cancer.gov/statfacts/html/kidrp.html. Accessed December 27, 2016.

Intravenous pyelogram (IVP). (n.d.). hopkinsmedicine.org/healthlibrary/conditions/adult/radiology/intravenous_pyelogram_ivp_85,P01287/. Accessed December 27, 2016.

Kidney cancer – patient version. (n.d.). cancer.gov/cancertopics/types/kidney. Accessed December 27, 2016.

Mayo Clinic Staff. (2018). Kidney cancer. mayoclinic.org/diseases-conditions/kidney-cancer/symptoms-causes/syc-20352664. Accessed December 27, 2016.

Renal arteriogram. (n.d.). hopkinsmedicine.org/vascular/procedures/renal/. Accessed December 27, 2016.

Survival rates for kidney cancer by stage. (2017). cancer.org/cancer/kidneycancer/detailedguide/kidney-cancer-adult-survival-rates. Accessed December 27, 2016.

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

16/05/2021

เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ไตวาย (Kidney Injury)

ไต อวัยวะสุดพิเศษของร่างกาย ที่คุณอาจยังรู้จักไม่ดีพอ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 16/05/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา