backup og meta

ยาเบาหวาน มีอะไรบ้าง ก่อให้เกิดผลข้างเคียงอย่างไร

ยาเบาหวาน มีอะไรบ้าง ก่อให้เกิดผลข้างเคียงอย่างไร

ยาเบาหวาน เป็นยาที่คุณหมอจ่ายให้ผู้ป่วยเบาหวานเพื่อช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น โรคเส้นประสาทจากเบาหวาน โรคไตจากเบาหวาน ภาวะเบาหวานขึ้นตา ยาเบาหวานที่คุณหมอจ่ายให้ผู้ป่วยมักประกอบด้วยกลุ่มยาต่าง ๆ เช่น เมทฟอร์มิน (Metformin) เอ็มพากลิโฟลซิน (Empagliflozin) ซัลโฟนิลยูเรีย (Sulfonylurea) ซึ่งอาจมีผลข้างเคียง ผู้ป่วยเบาหวานควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดและไม่ควรปรับเปลี่ยนยาหรือขนาดการใช้ด้วยตนเอง

[embed-health-tool-bmr]

เบาหวานคืออะไร

เบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยเบาหวานจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าคนทั่วไป โดยเกิดจากตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินซึ่งมีหน้าที่ลำเลียงเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ได้น้อยกว่าความต้องการของร่างกาย ส่งผลให้การจัดการน้ำตาลในเลือดบกพร่อง จนน้ำตาลในเลือดสะสมมากขึ้นเรื่อย ๆ และนำไปสู่ความเสียหายของหลอดเลือด มักเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น โรคเส้นประสาทจากเบาหวาน โรคไตจากเบาหวาน ภาวะเบาหวานขึ้นตา

ยาเบาหวาน มีอะไรบ้าง

คุณหมอมักจ่าย ยาเบาหวาน ให้ผู้ป่วยรับประทานเพื่อป้องกันระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินเกณฑ์ปลอดภัย จนเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ โดยกลุ่มยาเบาหวานมีรายละเอียดและผลข้างเคียงจากการใช้ยาแต่ละประเภท ดังต่อไปนี้

  • ยาเมทฟอร์มิน (Metformin) เป็นยาที่คุณหมอนิยมจ่ายให้ผู้ป่วยเบาหวาน โดยมีคุณสมบัติช่วยกระตุ้นเซลล์ในร่างกายให้ตอบสนองต่ออินซูลินได้ดีขึ้น ลดปริมาณน้ำตาลที่ตับผลิตขึ้น และลดการดูดซึมน้ำตาลของกระเพาะและลำไส้ โดยทั่วไป เมทฟอร์มินเป็นยาสำหรับรับประทานหลังอาหารเย็น ในปริมาณไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัม/วัน ผลข้างเคียง: อาจทำให้มีอาการคลื่นไส้ ท้องอืด ท้องร่วง หรือปวดท้อง โดยอาการจะหายไปเองภายใน 2-3 สัปดาห์หลังเริ่มรับประทานยา
  • ยายับยั้งการทำงานของเอนไซม์ อัลฟา กลูโคไซเดส (Alpha-glucosidase Inhibitors) เป็นยาป้องกันระดับน้ำตาลในเลือดพุ่งสูงหลังรับประทานอาหาร ออกฤทธิ์ชะลอการย่อยและการดูดซึมคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนเข้าสู่ร่างกาย โดยปกติแล้ว ยาชนิดนี้จะรับประทานพร้อมอาหารในแต่ละมื้อ และคุณหมอมักให้ผู้ป่วยเบาหวานรับประทานยา 3 มื้อ/วัน ผลข้างเคียง: อาจทำให้มีแก๊สในท้อง ปวดท้อง หรือท้องร่วงได้
  • ยาเอ็มพากลิโฟลซิน (Empagliflozin) เป็นยากลุ่ม SGLT2 Inhibitor มีคุณสมบัติในการลดระดับน้ำตาลในเลือด โดยช่วยกระตุ้นการขับน้ำตาลส่วนเกินที่มีอยู่ในกระแสเลือดออกทางปัสสาวะ และเอ็มพากลิโฟลซินสำหรับรับประทานวันละ 1 ครั้ง ในตอนเช้า โดยไม่ต้องรับประทานอาหารก่อน ผลข้างเคียง: อาจเพิ่มความเสี่ยงติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะได้
  • ยาซัลโฟนิลยูเรีย (Sulfonylurea) เป็นยาเม็ดสำหรับรับประทานเพื่อกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนอินซูลินจากตับอ่อน เพื่อช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวาน ผลข้างเคียง: อาจทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น ปัสสาวะสีเข้ม ท้องร่วง และผิวหนังไวต่อแสงแดดมากขึ้น นอกจากนี้ ยาซัลโฟนิลยูเรีย อาจทำให้ระดับน้ำตาลลดลงมากหลังบริโภค โดยอาจส่งผลให้มีอาการมึนงง สับสน มือสั่น และเหงื่อออกได้
  • ยาไธอะโซลิดินีไดโอน (Thiazolidinediones) เป็นยาลดระดับน้ำตาลในเลือด สำหรับรับประทานวันละ 1-2 ครั้ง เพื่อกระตุ้นและเสริมสร้างให้ตับอ่อนผลิตอินซูลินได้ดีขึ้น ผลข้างเคียง: อาจก่อให้เกิดอาการตัวบวม น้ำหนักเพิ่มขึ้น และระดับคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL) เพิ่มสูงขึ้นได้ นอกจากนี้ การรับประทานยาไธอะโซลิดินีไดโอนอาจเพิ่มความเสี่ยงให้ผู้บริโภคกระดูกเปราะ หัวใจล้มเหลว และเป็นโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
  • ยาอินซูลิน หรือฮอร์โมนอินซูลินสังเคราะห์ ใช้ฉีดเข้าสู่ร่างกายผ่านผิวหนังบริเวณหน้าท้อง สะโพก หรือบั้นท้าย เพื่อให้สามารถดูดซึมจากชั้นไขมันใต้ผิวหนังเข้าสู่กระแสเลือดได้ทันที โดยยาอินซูลินจะทำหน้าที่ลดระดับน้ำตาลในเลือดเสมือนอินซูลินที่ผลิตจากตับอ่อน ทั้งนี้ ยาอินซูลินมีหลายประเภท โดยจำแนกตามความเร็วในการออกฤทธิ์ และระยะเวลาทำงานของอินซูลิน มีวิธีการฉีดอินซูลินแต่ละประเภทแตกต่างกัน เช่น อินซูลินออกฤทธิ์เร็ว (Rapid-acting Insulin) สำหรับฉีดเข้าสู่ร่างกายก่อนรับประทานอาหาร 5-15 นาที เพราะออกฤทธิ์ภายใน 15 นาที ส่วนอินซูลินออกฤทธิ์สั้น (Regular or Short-acting Insulin) สำหรับฉีดก่อนอาหาร 30 นาที เพราะออกฤทธิ์ภายใน 30 นาที ผลข้างเคียง: อาจทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น มีผื่นขึ้นตามลำตัว หรือหัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ นอกจากนี้ อินซูลินมีคุณสมบัติในการขับโพแทสเซียมที่อยู่ในเลือดไปสู่เซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย อาจก่อให้เกิดภาวะโพแทสเซียมต่ำ (Hypokalemia) ซึ่งมักทำให้เป็นตะคริว ไม่มีแรง หัวใจเต้นผิดปกติ ท้องผูก

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Side effects of metformin. https://www.nhs.uk/medicines/metformin/side-effects-of-metformin/. Accessed July 15, 2022

Metformin HCL – Uses, Side Effects, and More. https://www.webmd.com/drugs/2/drug-11285-7061/metformin-oral/metformin-oral/details. Accessed July 15, 2022

Alpha-Glucosidase Inhibitors for Diabetes. https://www.webmd.com/diabetes/alpha-glucosidase-inhibitors-diabetes. Accessed July 15, 2022

Empagliflozin. https://medlineplus.gov/druginfo/meds/a614043.html. Accessed July 15, 2022

Understanding medicine: Type 2 diabetes. https://www.nhs.uk/conditions/type-2-diabetes/understanding-medication/. Accessed July 15, 2022

Empagliflozin. https://www.nhs.uk/medicines/empagliflozin/. Accessed July 15, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

28/04/2023

เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

รักษาเบาหวานให้หายขาด ได้หรือไม่

มือชาเกิดจากอะไร ปัญหาของผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่ควรมองข้าม


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น · แก้ไขล่าสุด 28/04/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา