ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรัง ส่งผลให้หลอดเลือดตีบหรืออุดตันได้ง่าย รวมไปถึงการมีไขมันในเลือดสุงซึ่งเป็นปัจจัยส่งเสริมให้เกิดไขมันไปสะสมที่ผนังหลอดเลือด จนทำให้เลือดไหลเวียนไปสู่อวัยะวะส่วนปลายโดยเฉพาะที่ขาเเละเท้าได้ไม่ดี เมื่อเกิดแผลจึงมักหายช้าจนมีโอกาสติดเชื้อและเสี่ยงต่อการเกิดเนื้อตายมากกว่าคนทั่วไป สำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่มี แผลเบาหวาน การ ตัดขา จึงเป็นตัวเลือกสุดท้ายในการรักษา เพื่อป้องกันมิให้เนื้อตายลุกลามไปยังบริเวณข้างเคียง
[embed-health-tool-bmi]
แผลเบาหวาน ต้องตัดขา เพราะอะไร
หากผู้ป่วยเบาหวานปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน จะส่งผลให้หลอดเลือดเสื่อมลง รวมไปถึงการมีไขมันในเลือดสุงเป็นปัจจัยส่งเสริมให้เกิดไขมันไปสะสมที่ผนังหลอดเลือดจนตีบแคบลงหรืออุดตัน เกิดเป็นภาวะแทรกซ้อนที่เรียกว่า โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน (Peripheral Arterial Disease) ทำให้เลือดไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงขาหรือเท้าได้ไม่เพียงพอ เกิดอาการเท้าชา อ่อนแรง หรือและอาจรุนเเรงจนทำให้เกิดเนื้อตาย จนต้องตัดเนื้อเยืือส่วนนั้นๆออก ซึ่งหากลุกลามมากขึ้นอาจจำเป็นต้องตัด นิ้วเท้าไปจนถึงขาเพื่อป้องกันมิให้เนื้อตายลุกลามไปบริเวณข้างเคียง
อีกทั้ง โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตันจะทำให้แผลของผู้ป่วยเบาหวานหายช้ากว่าปกติ เนื่องจากออกซิเจนและสารต่าง ๆ ในกระแสเลือด รวมทั้งเซลล์เม็ดเลือดขาว ไม่สามารถไหลเวียนไปยังบาดแผลได้ตามปกติ รวมทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ซึ่งทำให้เเผลยิ่งทรุดลงจนผู้ป่วยต้องถูกตัดขาหรือเท้าในที่สุด
การรักษา แผลเบาหวาน วิธีอื่น ๆ นอกจากการ ตัดขา มีอะไรบ้าง
นอกจากการตัดเนื้อตายออกจากเเผล ในบางกรณีอาจจำเป็นต้องตัดนิ้วเท้า เท้า หรือ ขา เเล้ว ยังมีวิธีรักษาที่อาจช่วยลดการเกิดเนื้อตายด้วยวิธีอื่น ๆ ดังนี้
- การผ่าตัดศัลยกรรมหลอดเลือด (Vascular Surgery) หรือการผ่าตัดหลอดเลือดที่ตีบแคบหรืออุดตัน เพื่อให้เลือดไหลเวียนไปถึงขาหรือเท้าได้ดีขึ้น ซึ่งจะช่วยลดอาการเนื้อตายเรวมทั้งทำให้ร่างกายจัดการกับการติดเชื้อได้ขึ้น
- การบำบัดด้วยออกซิเจนความดันสูง (Hyperbaric Oxygen Therapy)เป็นการรักษาด้วยออกซิเจน 100 เปอร์เซนต์ โดยให้ผุ้ป่วยหายใจรับออกซิเจนบริสุทธิ์ ภายในห้องความกดอากาศสูง (Hyperbaric Chamber) ระยะเวลาประมาณ 90 นาที ต่อครั้ง โดยที่อาจต่างกันออกไปในเเต่ละบุคคล ซึ่งจะช่วยให้ออกซิเจนไหลเวียนไปยังบริเวณแผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนที่อาจมีการขาดเลือดได้ดีขึ้น จึงทำให้เซลล์ต่าง ๆ ทำงานได้ดีขึ้น มีการสร้างเนื้อเยี่อเเละหลอดเลือดใหม่มาสมานแผลได้ รวมทั้งจัดการกับเชื้อโรคได้ดีขึ้นด้วย
วิธีดูแลแผลเบาหวานไม่ให้ถูกตัดขา
ผู้ป่วยเบาหวานควรดูแลตัวเอง เพื่อลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตันและการติดเชื้อแทรกซ้อน ซึ่งจะป้องกันมิให้เกิดแผลเบาหวานที่อาจลุกลามจนถูกตัดขา โดยมีคำแนะนำเบื้องต้น ดังนี้
- ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์เป้าหมาย ด้วยการปรับพฤติกรรมสุขภาพ เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ เลี่ยงการบริโภคอาหารกลุ่มเเป้ง-น้ำตาล หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ อย่างน้อย วันละ 30 นาที 5 วัน/สัปดาห์ นอกจากนี้ควรรับประทานยาหรือฉีดอินซูลินตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด
- สวมถุงเท้าและรองเท้าตลอดเวลา โดย หากเริ่มมีอาการเท้าชาเเล้ว หมั่นตรวจสุขภาพเท้าของตนทุกวัน สังเกตว่ามีผลที่เท้ารวมไปถึงตาปลาหรือไม่ อีกทั้งเเนะนำให้ใส่ถุงเท้าหรือรองเท้าสำหรับใส่ภายใน ตลอดเวลาเเม้จะอยุ่ที่บ้าน เพื่อป้องกันมิให้เกิดแผลจากการกระเเทกเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ผุ้ป่วยอาจไม่ทันรุ้สึก
- ทำความสะอาดแผลอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงและเปลี่ยนผ้าปิดแผลบ่อย ๆ เพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน
- เลิกสูบบุหรี่ เพราะสารนิโคติน (Nicotine)ในบุหรี่ ทำให้หลอดเลือดเเข็งเเละตีบลง ทำให้เลือดไหลเวียนไปอวัยวะส่วนปลายได้ไม่ดี
ควรรีบไปพบคุณหมอหากเริ่มมีสัญญาณของอาการเนื้อตายเน่า เช่น ขาหรือเท้าบวม พบของเหลวที่มีกลิ่นเหม็นไหลออกมาจากบาดแผล ผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีเทา ม่วง ดำ หรือแดง