backup og meta

วิธี ทำให้ น้ำตาลสะสม ลด มีอะไรบ้าง

วิธี ทำให้ น้ำตาลสะสม ลด มีอะไรบ้าง

ระดับน้ำตาลสะสมหรือ HbA1c เป็นค่าระดับน้ำตาลที่บ่งบอกถึงการควบคุมระดับน้ำตาลโดยเฉลี่ยในระยะยาว กล่าวคือ การควบคุมในช่วงเวลาประมาณ 3 เดือน ซึ่งเป็นตัวชี้วัดทางสุขภาพที่สำคัญอย่างมาก โดยผู้ที่เป็นเบาหวานนั้น หากต้องการดูแลให้มีสุขภาพดี ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ควรมีค่าระดับน้ำตาลสะสม ไม่เกิน 7 เปอร์เซนต์ วิธี ทำให้ น้ำตาลสะสม ลด และลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนอาจทำได้ด้วยการควบคุมปริมาณและชนิดของอาหารที่รับประทาน เลือกอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ขยับร่างกายบ่อย ๆ เป็นต้น

[embed-health-tool-bmi]

ระดับน้ำตาลในเลือดที่เหมาะสม

เกณฑ์ระดับน้ำตาลในเลือดที่เหมาะสม มีดังนี้

  • ผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง ไม่เป็นโรคเบาหวาน จะมีระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง น้อยกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หากระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมงอยู่ระหว่าง 100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร แสดงถึงมีภาวะก่อนเบาหวาน (Prediabetes) หรือเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน และหากวัดระดับน้ำตาลในเลือดได้ตั้งเเต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไปจะเข้าข่ายเป็นโรคเบาหวาน
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 ควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยมีเป้าหมายดังนี้
    • ระดับน้ำตาลก่อนรับประทานอาหาร อยู่ระหว่าง 80-130 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
    • ระดับน้ำตาลหลังรับประทานอาหาร น้อยกว่า 180 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • คุณเเม่ที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ มีเป้าหมายระดับน้ำตาลในเลือด ดังนี้
    • ระดับน้ำตาลก่อนรับประทานอาหาร อยู่ระหว่าง60-95 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
    • ระดับน้ำตาลหลังรับประทานอาหาร 1 ชั่วโมง ไม่เกิน 140 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
    • ระดับน้ำตาลหลังรับประทานอาหาร 2 ชั่วโมง ไม่เกิน 120 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

อาการของภาวะน้ำตาลในเลือดสูง

อาการที่เป็นสัญญาณของภาวะน้ำตาลในเลือดสูง อาจมีดังนี้

  • กระหายน้ำผิดปกติ
  • ปัสสาวะบ่อย
  • รู้สึกเหนื่อยง่ายและอ่อนล้า
  • ตาพร่ามัว 
  • น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ

หากมีปล่อยให้มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน อาจเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนดังต่อไปนี้

  • การติดเชื้อบริเวณผิวหนังและช่องคลอด ทำให้มีผื่นเชื้อราที่ผิวหนังโดยเฉพาะบริเวณ ซอกอับ หรือ ข้อพับ หรือมีอาการตกขาวได้ 
  • แผลหายช้า และ ติดเชื้อง่าย
  • เบาหวานขึ้นตา จนอาจเป็นสาเหตุให้สูญเสียการมองเห็นหรือตาบอดได้
  • ภาวะเส้นประสาทเสื่อม ซึ่งอาจส่งผลเสียต่ออวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น เท้าสูชา หย่อนสมรรถภาพทางเพศ 
  • ปัญหาเกี่ยวกับกระบบย่อยอาหาร เช่น ท้องผูกเรื้อรัง ท้องอืด ไปจนถึท้องเสียได้
  • โรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่เบาหวานเป็นปัจจัยส่งเสริม  เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตเสื่อม โรคเส้นเลือดส่วนปลายตึบ

วิธี ทำให้ น้ำตาลสะสม ลด ทำได้อย่างไรบ้าง

วิธีดูแลตัวเองเบื้องต้นที่อาจช่วยลดระดับน้ำตาลที่สะสมอยู่ในกระแสเลือด รวมถึงลดให้ความเสี่ยงในการเกิดภาวะเเทรกซ้อนของโรคเบาหวานลง อาจมีดังนี้

ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

เเนะนำให้ออกกำลังกายเป็นประจำ โดยเป็นการออกกำลังกายแบบแอโรบิค ความเหนือยระดับปานกลาง เช่น เดินเร็ว เต้น ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน เล่นเทนนิส อย่างน้อยสัปดาห์ละ 150 นาที ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายตอบสนองต่ออินซูลิได้ดีขึ้น และยังเป็นการบริหารกล้ามเนื้อต่าง ๆ รวมทั้ง กล้ามเนื้อหัวใจให้เเข็งเเรง ลดความเสี่ยงในกาารเกิด โรคหัวใจและหลอดเลือด ไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง อีกด้วย

ผ่อนคลายความเครียด

เมื่อมีภาวะเครียดหรือรู้สึกวิตกังวล ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ออกมาเพิ่มมากกขึ้น ซึ่งฮอร์โมนนี้ มีฤทธิ์ต้านกับฮอร์โมนอินซูลิน จึงะส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นตามไปด้วย การจัดการความเครียดอย่างถูกวิธีจึงเป็นอีกทางหนึ่งที่จะช่วยให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้ได้ดีขึ้น ตัวอย่างวิธีจัดการกับความเครียด เช่น ทำกิจกรรมที่ชอบไม่ว่าจะเป็นการวาดรูป ฟังเพลง ปั่นจักรยาน ออกกำลังกาย อาจปรึกษาพูดคุญกับคนใกล้ชิดหรือจิตแพทย์เพื่อ อาจช่วยบรรเทาเเละคลายความวิตกกังวลที่มีลง

ทำตัวให้กระฉับกระเฉงอยู่เสมอ

การขยับร่างกายบ่อย ๆ จะช่วยส่งเสริมสุขภาพให้ร่างกายแข็งแรง ช่วยกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการเผาผลาญเเละใช้พลังงานมากขึ้น ทำให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมได้ดีขึ้น อาจเริ่มจากการปรับเปลี่ยนกิจวัตรประจำวันและเพิ่มการทำกิจกรรมต่าง ๆ  เช่น เดินไปทำงานหากที่พักอยู่ใกล้ออฟฟิศ เดินขึ้นบันไดแทนการใช้ลิฟต์ จอดรถให้ไกลกว่าจุดที่เคยจอดเป็นประจำเพื่อเพิ่มการเดินออกกำลังได้มากขึ้น หลีกเลี่ยงนั่งทำงานนานติดต่อหลายชั่วโมง ควรเปลี่ยนพักเบรคเพื่อเปลี่ยนอิริยาบท อาจลุกมาเดิน หรือ ยืดกล้ามเนื้อ ทุก ๆ ครึ่งชั่วโมง  ซึ่งปรับพฤติกรรมตนเองให้กระฉับกระเฉงจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคต่าง ๆ ได้ อาทิเช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ภาวะความดันโลหิตสูง ภาวะคอเลสเตอรอลสูง รวมทั้งโรคเบาหวานด้วย

รับประทานอาหารที่มีประโยชน์

ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานและผู้ที่มีความเสี่ยงของโรคเบาหวานควรเลือกรับประทานอาหารที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำเเละไฟเบอร์สูง เนื่องจากไฟเบอร์มีส่วนช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือด จึงช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมได้ อาหารที่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด อาจมีดังนี้

  • ธัญพืช เช่น ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ ลูกเดือย เมล็ดทานตะวัน
  • ผลไม้ เช่น แอปเปิ้ล แอปริคอต อะโวคาโด แบล็กเบอร์รี บลูเบอร์รี เกรปฟรุต องุ่น ลูกพีช ลูกพลัม ราสเบอร์รี สตรอว์เบอร์รี 
  • พืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วขาว ถั่วฝักยาว ถั่วพร้า ถั่วพู ถั่วลิสง 
  • ปลาที่มีไขมันดี เช่นกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งมักพบในปลาทะเล ตัวอย่างเช่น ปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีน ปลาทูน่า ปลาทู

อย่างไรก็ตาม ควรบริโภคอาหารเเต่ละชนิดในสัดส่วนที่พอเหมาะ เพราะหากบริโภคในปริมาณมากจนเกินไป ก็อาจทำให้ระดับน้ำตาลขึ้นสูงได้เช่นกัน

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Manage Blood Sugar. https://www.cdc.gov/diabetes/managing/manage-blood-sugar.html. Accessed September 13, 2022

How To Lower Your Blood Sugar Naturally. https://health.clevelandclinic.org/how-to-lower-blood-sugar/. Accessed September 13, 2022

How to Bring Down High Blood Sugar Levels. https://www.diabetes.co.uk/how-to/bring-down-high-blood-sugar-levels.html. Accessed September 13, 2022

Blood Sugar and Exercise. https://diabetes.org/healthy-living/fitness/getting-started-safely/blood-glucose-and-exercise. Accessed September 13, 2022

Diabetes management: How lifestyle, daily routine affect blood sugar. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/diabetes/in-depth/diabetes-management/art-20047963. Accessed September 13, 2022

High blood sugar (hyperglycaemia). https://www.nhs.uk/conditions/high-blood-sugar-hyperglycaemia/. Accessed September 13, 2022

Prediabetes. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/prediabetes/diagnosis-treatment/drc-20355284. Accessed September 13, 2022

Gestational diabetes and a healthy baby? Yes. https://diabetes.org/diabetes/gestational-diabetes. Accessed September 13, 2022

Get Active!. https://www.cdc.gov/diabetes/managing/active.html#. Accessed September 13, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

26/10/2022

เขียนโดย ศุภานิช สุริโย

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาการของโรคเบาหวาน มีอะไรบ้าง เกิดจากอะไร

CGM (เครื่องวัดระดับน้ำตาลแบบต่อเนื่อง) คืออะไร ใช้งานอย่างไร


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


เขียนโดย ศุภานิช สุริโย · แก้ไขล่าสุด 26/10/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา