backup og meta

อาหารโรคเบาหวาน ที่ผู้ป่วยควรรับประทานและควรหลีกเลี่ยง

อาหารโรคเบาหวาน ที่ผู้ป่วยควรรับประทานและควรหลีกเลี่ยง

อาหารโรคเบาหวาน หมายถึง อาหารที่เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคเบาหวานซึ่งเป็นผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าคนปกติ หากระดับน้ำสูงเกินไปโดยไม่ระวังหรือควบคุมอาหาร ก็อาจมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เกี่ยวกับสุขภาพ อาหารโรคเบาหวาน ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรตซึ่งดีต่อสุขภาพ อาหารที่มีเส้นใยสูง ไขมันไม่อิ่มตัวหรือไขมันดี รวมถึงผักและผลไม้ต่าง ๆ

อาหารโรคเบาหวานมีอะไรบ้าง

เมื่อเป็นโรคเบาหวาน หรือมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน คุณหมอมักแนะนำให้คุมอาหาร เพื่อป้องกันระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป จนทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ง่าย เช่น เบาหวานขึ้นตา โรคไต โรคหัวใจ  รวมถึงป้องกันโรคอ้วน อันเป็นปัจจัยหนึ่งของภาวะน้ำตาลในเลือดสูง

อาหารโรคเบาหวานประกอบด้วยอาหารต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

อาหารโรคเบาหวาน: คาร์โบไฮเดรต

คาร์โบไฮเดรต มักพบในอาหารจำพวกแป้ง เป็นสารอาหารซึ่งส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดมากที่สุด เนื่องจากคาร์โบไฮเดรตจะถูกเปลี่ยนเป็นน้ำตาลหรือกลูโคส เพื่อใช้เป็นพลังงานให้แก่ร่างกาย

ผู้ป่วยเบาหวานควรรับประทานอาหารคาร์โบไฮเดรตชนิดที่มีเส้นใยอาหารสูง เนื่องจากเส้นใยอาหารจะช่วยควบคุมการย่อยคาร์โบไฮเดรตของร่างกาย และควบคุมการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำตาลในเวลาเดียวกัน

อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตชนิดที่ดีต่อสุขภาพ ประกอบด้วย

  • ธัญพืชเต็มเมล็ด เช่น ข้าวกล้อง ข้าวสาลี ควินัว
  • ผักต่าง ๆ เช่น มันฝรั่ง ข้าวโพด ถั่วลันเตา
  • นมหรือโยเกิร์ต ชนิดน้ำตาลน้อยและไขมันต่ำ

ทั้งนี้ คาร์โบไฮเดรตซึ่งผู้ป่วยเบาหวานควรหลีกเลี่ยงประกอบด้วย ข้าวขาว ขนมปัง ซีเรียล และขนมหวานที่มีน้ำตาลสูง เช่น ขนมเค้ก คุ้กกี้

อาหารโรคเบาหวาน: ไขมัน

ผู้ป่วยเบาหวานควรบริโภค ไขมันชนิดไม่อิ่มตัว เนื่องจากมีคุณสมบัติช่วยลดคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (Low Density Lipoprotein หรือ LDL) อันเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจและโรคเส้นเลือดสมอง หากมีปริมาณสูงเกินไปในร่างกาย

ไขมันไม่อิ่มตัว พบได้จากอาหารต่อไปนี้

  • อะโวคาโด
  • เมล็ดเจีย
  • ถั่วต่าง ๆ เช่น อัลมอนด์ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ถั่วลิสง (รวมถึงเนยถั่ว) วอลนัท
  • น้ำมันพืช เช่น น้ำมันคาโนล่า น้ำมันเมล็ดแฟลกซ์

ขณะเดียวกัน ผู้ป่วยเบาหวานไม่ควรบริโภคไขมันต่อไปนี้ หรือควรบริโภคในปริมาณน้อย ได้แก่

  • ไขมันอิ่มตัว เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เสี่ยงเกิดโรคหัวใจ เนื่องจากทำให้ระดับคอเลสเตอรอลไม่ดีในร่างกายเพิ่มขึ้น ไขมันอิ่มตัวพบได้ทั่วไปในเนื้อสัตว์ต่าง ๆ ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูป หรือผลิตภัณฑ์จากนม
  • ไขมันทรานส์ เป็นไขมันที่พบบ่อยจากการปรับโครงสร้างไขมัน ในกระบวนการอุตสาหกรรมผลิตอาหาร โดยทำให้คอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีเพิ่มสูงขึ้น เช่นเดียวกับไขมันอิ่มตัว ทั้งนี้ มักพบไขมันทรานส์ในอาหารแปรรูปโดยทั่วไป เช่น เค้ก เฟรนช์ฟรายส์ แฮมเบอร์เกอร์ ขนมขบเคี้ยวต่าง ๆ

อาหารโรคเบาหวาน: โปรตีน

สำหรับผู้ป่วยเบาหวานสามารถบริโภคโปรตีนได้ตามปกติ ไม่ว่าจากเนื้อสัตว์ อาหารทะเล ถั่ว หรือเต้าหู้ และในกรณีที่ผู้ป่วยเบาหวานเริ่มมีภาวะไตเรื้อรังแล้ว ควรปรึกษานักโภชนาการเกี่ยวกับอาหารโปรตีนต่ำ เพื่อชะลอไตเสื่อม

อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยเบาหวานควรหลีกเลี่ยงไขมันอิ่มตัวในเนื้อสัตว์ และเลือกบริโภคไขมันดี อย่างโอเมก้า 3 จากปลาบางชนิดซึ่งช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจ เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาดุก ปลาช่อน

นอกจากนี้ ผู้ป่วยเบาหวานควรหลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อสัตว์แปรรูป อาทิ ไส้กรอก แฮม เบคอน เนื่องจากมี สัดส่วนของเกลือสูงและมีสารถนอมอาหารบาอย่างที่เป็นสารก่อมะเร็ง ทำให้เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

อาหารโรคเบาหวาน: ผักและผลไม้

ผักและผลไม้ต่าง ๆ เป็นอาหารแนะนำสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เนื่องจากอุดมไปด้วยเส้นใยอาหาร น้ำตาลและไขมันต่ำ รวมถึงเป็นแหล่งวิตามินและแร่ธาตุนานาชนิด

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ผักและผลไม้ทุกชนิดจะเหมาะกับผู้ป่วยเบาหวาน โดยผู้ป่วยเบาหวานควรบริโภคผักและผลไม้ ซึ่งมีค่าดรรชนีน้ำตาลหรือค่า GI (Glycemic Index) ต่ำ เนื่องจากจะไม่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างรวดเร็วหลังรับประทานเข้าไป

ทั้งนี้ ผักและผลไม้ดังกล่าวประกอบด้วย

ผัก

  • หน่อไม้ฝรั่ง
  • บรอกโคลี
  • กะหล่ำดอก
  • มะเขือ
  • ผักกาดหอม
  • ผักโขม
  • ผักชีฝรั่ง

ผลไม้

  • เบอร์รีต่าง ๆ
  • พลัม
  • แอปเปิ้ล
  • กีวี่
  • ลูกแพร์
  • ส้ม

นอกจากนี้ ผู้ป่วยเบาหวานควรหลีกเลี่ยงผักกระป๋อง หรือผักดอง เพราะมีโซเดียมสูง เมื่อรับประทานแล้วซึ่ง อันอาจทำให้ความดันเลือดสูงขึ้นเมื่อรับประทานเข้าไป

ทั้งนี้ การมีโซเดียมปริมาณมากในร่างกายยังเพิ่มความเสี่ยงการเกิดของโรคต่าง ๆ เช่น หัวใจวาย โรคกระดูกพรุน มะเร็งกระเพาะอาหาร

ยิ่งกว่านั้น ผู้ป่วยเบาหวานควรหลีกเลี่ยงการบริโภคผลไม้แปรรูปน้ำตาลสูง เช่น ผลไม้เชื่อม ผลไม้กระป๋อง ผลไม้เคลือบน้ำตาล น้ำผลไม้ เนื่องจากผลไม้แปรรูปดังกล่าวเป็นปัจจัยที่ทำให้ระดับน้ำในเลือดสูงขึ้นได้

อาหารโรคเบาหวาน: อัตราส่วนการบริโภคอาหารหนึ่งมื้อ

อ้างอิงจากรายงานของสมาคมโรคเบาหวานแห่งสหรัฐอเมริกา ผู้ป่วยเบาหวานควรบริโภคอาหารใน 1 มื้อ ตามอัตราส่วนดังนี้

  • รับประทานผักในอัตราส่วนครึ่งหนึ่งของอาหารทั้งหมด
  • รับประทานโปรตีนในอัตราส่วน 1 ใน 4 ของอาหารทั้งหมด
  • รับประทานคาร์โบไฮเดรตในอัตราส่วน 1 ใน 4 ของอาหารทั้งหมด
  • รับประทานไขมันดีในปริมาณเล็กน้อย
  • อาจเพิ่มผลไม้ ผลิตภัณฑ์จากนม และเครื่องดื่มไม่มีน้ำตาล เข้าไปในมื้ออาหารด้วย

นอกจากนี้ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคระบาดแห่งสหรัฐอเมริกา ยังแนะนำว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรบริโภคคาร์โบไฮเดรตเพียงครึ่งหนึ่งของแคลอรี่ที่ควรได้รับต่อวัน เพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดและควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกิดภาวะโรคอ้วน

ทั้งนี้ ผู้ชายควรได้รับพลังงานประมาณ 2,500 กิโลแคลอรี่ต่อวัน ขณะที่ผู้หญิงควรได้รับพลังงาน 2,000 กิโลแคลอรี่ต่อวัน ดังนั้น ปริมาณคาร์โบไฮเดรตซึ่งผู้ป่วยเบาหวานควรบริโภคต่อวัน จึงเท่ากับราว ๆ 1,250 กิโลแคลอรี่ ในผู้ชาย และ 1,000 กิโลแคลอรี่ ในผู้หญิง

ทั้งนี้ ผู้ป่วยเบาหวานและผู้ที่มีภาวะก่อนเบาหวาน ควรปรึกษาคุณหมอถึงข้อแนะนำเกี่ยวกับอาหารเบาหวานและการปรับพฤติกรรมด้านอื่น ๆ ควบคู่ไปด้วยเพื่อช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ได้ผลดียิ่งขึ้น

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Protein. https://www.diabetes.org/healthy-living/recipes-nutrition/eating-well/protein. Accessed March 30, 2022

Red meat, processed meat and cancer. https://www.cancercouncil.com.au/1in3cancers/lifestyle-choices-and-cancer/red-meat-processed-meat-and-cancer/#:~:text=The%20World%20Health%20Organization%20has,of%20bowel%20and%20stomach%20cancer. Accessed March 30, 2022

Fats. https://www.diabetes.org/healthy-living/recipes-nutrition/eating-well/fats. Accessed March 30, 2022

ไขมันเลว กับโรคหลอดเลือด. https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/line/34743/#:~:text=%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%A7%20%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%AA%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%94,%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%94. Accessed March 30, 2022 Accessed March 30, 2022

Fats. https://www.diabetes.org/healthy-living/recipes-nutrition/eating-well/fats. Accessed March 30, 2022

Diabetes diet: Create your healthy-eating plan. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/diabetes/in-depth/diabetes-diet/art-20044295. Accessed March 30, 2022

Diabetes Diet, Eating, & Physical Activity. https://www.niddk.nih.gov/health-information/diabetes/overview/diet-eating-physical-activity. Accessed March 30, 2022

Carb Counting. https://www.cdc.gov/diabetes/managing/eat-well/diabetes-and-carbohydrates.html. Accessed March 30, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

15/06/2022

เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย นายแพทย์กมล โฆษิตรังสิกุล

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

เบาหวานคืออะไร มีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง

น้ำตาลเทียม คนเป็นเบาหวานกินได้หรือไม่ ส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพ


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

นายแพทย์กมล โฆษิตรังสิกุล

โรคเบาหวาน · โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช


เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น · แก้ไขล่าสุด 15/06/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา