backup og meta

เมนู อาหาร เบาหวานขณะตั้งครรภ์ มีอะไรบ้าง

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์ · โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น · แก้ไขล่าสุด 26/10/2022

    เมนู อาหาร เบาหวานขณะตั้งครรภ์ มีอะไรบ้าง

    เมนู อาหาร เบาหวานขณะตั้งครรภ์ คือ อาหารที่เหมาะสำหรับคุณเเม่ที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ซึ่งนอกจากจะควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่เเล้ว ยังควรเน้นบริโภคอาหารที่มีส่วนช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้สูงจนเกินไป เช่น ธัญพืชไม่ขัดสี ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ขนมปังโฮลวีท เนื่องจากเป็นอาหารที่จัดอยู่ในกลุ่มกลุ่มคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ซึ่งจะไม่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วหลังรับประทานเหมือนเช่นในคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยวที่พบได้ในอาหารจำพวกเเป้ง รวมไปถึงของหวานหลาย ๆ ชนิด นอกจากนี้ ผู้ป่วยเบาหวานขณะตั้งครรภ์ควรรับประทานอาหารประเภทผักผลไม้ เนื้อสัตว์ และไขมัน ในปริมาณเเละสัดส่วนที่พอเพียงในแต่ละวัน เพราะจำเป็นต่อร่างกายของคุณเเม่เอง รวมถึงต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์อีกด้วย

    เบาหวานขณะตั้งครรภ์ คืออะไร

    เบาหวานขณะตั้งครรภ์ เป็นโรคเบาหวานชนิดหนึ่งที่มีสาเหตุมาจาก ฮฮร์โมนที่สร้างจากรก คือ ฮอร์โมนฮิวแมน พลาเซนต้า แลกโตรเจน (Human Placental Lactogen หรือ HPL) เเละในร่างกายของคุณเเม่ยังมีการหลั่งฮอร์โมนอีกหลายชนิดเพิ่มมากขึ้น เพื่อเสริมสร้างการเจริญเติบโตของทากร เเต่ ฮอร์โมนเหล่านี้ันั้นมีผลต่อต้านกับการทำงานของฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ทำให้คูณเเม่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น เเละเกิดเป็นภาวะเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ได้ ซึ่งคุณหมอจะมีการตรวจคัดกรองภาวะนี้ให้กับคุณเเม่ที่มีความเสี่ยง โดยจะเป็นการตรวจความทนทานต่อน้ำตาลเมื่อถึงอายุครรภ์ที่กำหนดไว้ 

    อย่างไรก็ตามภาวะเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์นี้มักเป็นเพียงชั่วคราว เมื่อคุณเเม่คลอดทารก ฮอร์โมนต่าง ๆ จะกลับเข้าสู่สมดุล ทำให้การควบคุมน้ำตาลของร่างกายกลับมาสู่ภาวะปกติ เเต่พบว่าคุณเเม่ที่มีภาวะนี้ จะมีความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้มากกว่าผู้หญิงทั่วไปที่มีอายุเท่า ๆ กัน  

    ในช่วงระหว่างตั้งครรภ์ คุณเเม่ที่เป็นเบาหวาน ควรควบคุมระดับน้ำตาลให้ได้ตามเป้าหมาย เพื่อป้องกันภาวะเเทรกซ้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อทั้งสุขภาพของคุณเเม่เเละลูกน้อยในครรภ์

    เมนู อาหาร เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ควรประกอบไปด้วยสารอาหารอะไรบ้าง

    เมื่อคุณเเม่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เเนะนำให้เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ได้รับสารอาหารครบถ้วนเเละเพียงพอกับความต้องการของคุณเเม่เเละลูกน้อยในครรภ์ อีกทั้งเลือกอาหารที่มีส่วนช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้สูงจนเกินไป ซึ่งจะช่วยให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้ได้ตามเป้าหมาย สำหรับอาหารที่เเนะนำมีรายละเอียดต่อไปนี้

    คาร์โบไฮเดรต

    • คุณเเม่ที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ควรรับประทานคาร์โบไฮเดรต กลุ่มที่เป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนได้เเก่ธัญพืชเต็มเมล็ด ข้าวกล้องหรือข้าวไม่ขัดสีต่าง ๆ เช่น ข้าวโพด ถั่ว ข้าวไรซ์เบอร์รี ขนมปังโฮลวีท ฟักทอง และหลีกเลี่ยงการบริโภคคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยวในปริมาณมาก เช่น มันฝรั่ง เฟรนช์ฟรายส์ ข้าวขาว และขนมหวานต่าง ๆเนื่องจากคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยวจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะทำให้คุณเเม่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ยากขึ้น
    • ในแต่ละวัน คุณเเม่ควรได้รับพลังงานจากคาร์โบไฮเดรตในสัดส่วนประมาณ 40-50 เปอร์เซ็นต์ หรือไม่เกินครึ่งนึงของเเคลอรี่ทั้งหมดที่ต้องการต่อวัน 

    ผักเเละผลไม้ต่าง ๆ

  • แนะนำให้คุณเเม่รับประทาน ผักเเละผลไม้ ประมาณ 20-25 เปอร์เซ็นต์ ของอาหารที่รับประทานในเเต่ละวัน  เนื่องจากอุดมไปด้วยใยอาหารซึ่งมีส่วนช่วยควบคุมระดับน้ำตาลด้วยการชะลอการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือด อีกทั้งยังมีวิตามินเเละเเร่ธาตุที่จำเป็นอีกหลายชนิด โดยผักที่มีใยอาหารสูง เช่น แครอท บีตรูท บร็อคโคลี่ ผักใบเขียวชนิดอื่น ๆ 
  • ผลไม้ที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ คือ ค่าดัชนีน้ำตาลไม่เกิน 55 เนื่องจะไม่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเร็วจนเกินไป เช่น กีวี่ แอปเปิ้ล เชอร์รี่ แพร์ ฝรั่ง สาลี่
  • หลีกเลี่ยงผักเเละผลไม้เเปรรูป เช่น ผลไม้หมัดดอง ผลไม้กระป๋อง ผลไม้เเช่อิ่ม อย่างไรก็ตาม สามารถบริโภคผลไม้เเช่เเข็งได้ เเต่ผลไม้ดังกล่าวอาจมีการสูญเสียวิตามินบางอย่างไปเมื่อเทียบกับผลไม้สด
  • หากต้องการดื่มน้ำผลไม้ สามารถดื่มได้ครั้งคราว โดยเเนะนำเป็นน้ำผลไม้คั้นสดไม่ใส่น้ำตาล หรือน้ำผลไม้ปั่นเอง ทั้งนี้เเนะนำให้คำนึงถึงสัดส่วนของผลไม้ที่นำมาคั้นหรือปั่นด้วย เพราะหากรับประทานมากไป ก็จะทำให้ระดับน้ำตาลให้เลือดเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน
  • เนื้อสัตว์และโปรตีน

    • เเนะนำให้คุณเเม่บริโภคโปรตีนประมาณวันละ 240-360 กรัม/วัน หรือ ประมาณ 30-40 เปอร์เซ็นต์ของเเคลอรี่ทั้งหมด
    • เเหล่งโปรตีนที่เเนะนำ อาจเป็นโปรตีนจากเนื้อสัตว์ต่าง ๆ ไข่ หรือจากพืช เช่น ถั่ว เต้าหู้
    • ควรเลือกบริโภคเนื้อสัตว์ชนิดไม่ติดมันและหนัง เเละปรุงอาหารด้วยการต้ม อบ หรือย่างเเทนการทอดหรือผัดน้ำมัน เพื่อไม่ให้ได้รับไขมันส่วนเกินเพิ่มเติม

    นมและผลิตภัณฑ์จากนม

    • นมและผลิตภัณฑ์จากนม อุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญอย่างโปรตีน แคลเซียม และฟอสฟอรัส ซึ่งจำเป็นต่อร่างกายของผู้หญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
    • ปริมาณนมที่เเนะนำ คือ ประมาณ 1,000 มิลลิลิตร/วัน 

    คุณเเม่ควรเลือกเป็นนมจืดพร่องมันเนย โยเกิร์ตรสธรรมชาติหรือไม่ใส่น้ำตาลเสริม อาจรับประทานชีสได้เป็นครั้งคราว เนื่องจากชีสเเม้จะเป็นผลิตภัณจากนมเเต่จะมีไขมันร่วมด้วย

    ไขมัน

    • คูณเเม่ที่เป็นบาหวานขณะตั้งครรภ์ ควรบริโภคในสัดส่วนที่ไขมันให้เพียงพอ เนื่องจากไขมันนับเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อการพัฒนาของสมองทารก
    • ไขมันที่ควรบริโภคควรเป็นอาหารที่มีไขมันดี เช่น อะโวคาโด น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนล่า ปลาทะเลน้ำลึก เช่น ปลาเเซลมอน 

    เมนูู อาหาร เบาหวานขณะตั้งครรภ์ มีอะไรบ้าง

    คุณเเม่ที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ สามารถเลือกบริโภคอาหารต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น 

    • ข้าวกล้อง ข้าวไรซ์เบอร์รี่ และข้าวไม่ขัดสีอื่น ๆ
    • ขนมปังโฮลวีท
    • ขนมปังกรอบจากธัญพืชเต็มเมล็ด
    • เนยถั่ว
    • ข้าวโพดต้มหรือข้าวโพดปิ้ง 
    • อกไก่ต้มหรือย่าง
    • ไข้ต้ม ไข่ตุ๋น
    • มันเทศอบหรือเผา
    • นมจืด ไขมันต่ำ
    • สลัดผัก สลัดผลไม้ ที่ประกอบด้วยผลไม้ที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ เช่น แอปเปิล กล้วย ส้ม มะเขือเทศ ลูกแพร์ เบอร์รี่ต่าง ๆ
    • ผักลวก ผักต้ม
    • ต้มจืด ต้มจับฉ่าย

    ขณะเดียวกัน เมนูอาหารควรหลีกเลี่ยง มีดังต่อไปนี้

    • อาหารที่คาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยวหรือน้ำตาลสูง เช่น ข้าวขาว ก๋วยเตี๋ยว ลูกอม ขนมหวาน เค้ก โดนัท มัฟฟิน
    • อาหารไขมันอิ่มตัวสูง เช่น เนย น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว ของทอด ไส้กรอก เบคอน เนื้อสัตว์ติดมัน 
    • อาหารจานด่วน เช่น แฮมเบอร์เกอร์ เฟรนช์ฟรายส์ ไก่ทอด 
    • เครื่องดื่มที่มีน้ำตาล เช่น น้ำอัดลม น้ำผลไม้ นมเปรี้ยว 
    • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 

    ทั้งนี้สารทดเเทนความหวานหรือน้ำตาลเทียม ยังไม่มีข้อมูลความปลอดภัยที่ชัดเจนในคุณเเม่ตั้งครรภ์ ดังนั้น จึงควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่ม หรืออาหารที่มีส่วนประกอบดังกล่าว

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

    โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


    เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น · แก้ไขล่าสุด 26/10/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา