backup og meta

กลุ่มยารักษาเบาหวาน แต่ละชนิดมีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง

กลุ่มยารักษาเบาหวาน แต่ละชนิดมีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง

ในปัจจุบันมี กลุ่มยารักษาเบาหวาน และกลไกการออกฤทธิ์ ที่ส่งผลต่อการรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อยู่หลายชนิด ทำให้ง่ายต่อการรักษาและทำให้รักษาตรงจุดมากขึ้น ซึ่งกลุ่มยารักษาเบาหวานและกลไกการออกฤทธิ์ของยาแต่ละชนิดก็อาจแตกต่างกันออกไป ดังนั้น จึงควรศึกษารายละเอียดข้อดีและข้อเสียเกี่ยวกับยารักษาเบาหวานแต่ละชนิด เพื่อเลือกยาที่เหมาะสมกับตัวเองที่สุด

[embed-health-tool-bmi]

กลุ่มยารักษาเบาหวาน และกลไกการออกฤทธิ์

กลุ่มยารักษาเบาหวาน และข้อดีข้อเสียของยาแต่ละชนิด อาจมีดังนี้

ยาในกลุ่มเมกลิทิไนด์ (Meglitinides)

ยาในกลุ่มเมกลิทิไนด์ เช่น นาทิไกลไนด์ (Nateglinide) รีพาไกลไนด์ (Repaglinide) เป็นยาที่ออกฤทธิ์กระตุ้นการปล่อยอินซูลิน

  • ข้อดี ออกฤทธิ์ได้อย่างรวดเร็ว
  • ผลข้างเคียง อาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ มีน้ำหนักตัวมากขึ้น อาการคลื่นไส้อาเจียน

ยาในกลุ่มซัลโฟนิลยูเรีย (Sulfonylurea)

ยากลุ่มซัลโฟนิลยูเรีย (Sulfonylurea) เช่น ไกลพิไซด์ (Glipizide) ไกลเมพิไรด์ (Glimepiride) เป็นยาที่ออกฤทธิ์กระตุ้นการปล่อยอินซูลิน

  • ข้อดี มีราคาถูก ส่งผลในการลดน้ำตาลในเลือด
  • ผลข้างเคียง อาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ น้ำหนักตัวลดลง หรือเกิดผื่นบนผิวหนัง

สารยับยั้งเอนไซม์ ไตเปพทิดิล เปพทิเดส-4 (Dipeptidyl-peptidase 4 inhibitors)

สารยับยั้งเอนไซม์ ไตเปพทิดิล เปพทิเดส-4 เช่น แซกซากลิปติน (Saxagliptin) ซิตากลิปติน (Sitagliptin) เป็นยาที่ออกฤทธิ์กระตุ้นการปล่อยอินซูลินเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูง และยับยั้งการปล่อยกลูโคสออกจากตับ

  • ข้อดี อาจไม่ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ไม่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ
  • ผลข้างเคียง อาจติดเชื้อทางเดินหายใจ เจ็บคอ ปวดหัว

ยาในกลุ่มไบกวาไนด์ (Biguanides)

ยาในกลุ่มไบกวาไนด์ เช่น เมทฟอร์มิน (Metformin) ออกฤทธิ์ยับยั้งการปล่อยกลูโคสออกจากตับ ป้องกันความไวต่ออินซูลิน

  • ข้อดี ประสิทธิภาพในการรักษาสูง อาจทำให้น้ำหนักตัวลดลง มีราคาถูก
  • ผลข้างเคียง คลื่นไส้ ท้องร่วง อาจเป็นอันตรายหากใช้กับผู้ที่เป็นโรคไตหรือตับวาย

ยาในกลุ่มไทอาโซลิดีนไดโอน (Thiazolidinediones)

ยาในกลุ่มไทอาโซลิดีนไดโอน เช่น โรซิกลิทาโซน (Rosiglitazone) ไพโอกลิตาโซน (Pioglitazone) ออกฤทธิ์ป้องกันความไวต่ออินซูลิน ยับยั้งการปล่อยกลูโคสออกจากตับ

  • ข้อดี อาจเพิ่ม High-Density Lipoprotein (HDL) cholesterol ซึ่งเป็นคอเลสเตอรอลที่ดี
  • ผลข้างเคียง น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น อาจเกิดหัวใจล้มเหลว กระดูกพรุน เสี่ยงให้เกิดมะเร็งปัสสาวะ ไม่ควรใช้ยาเหล่านี้กับผู้เป็นโรคไตหรือโรคหัวใจ

สารยับยั้งเอนไซม์อัลฟ่ากลูโคซิเดส (Alpha-glucosidase inhibitors)

เช่น อะคาร์โบส (Acarbose) ไมกลิทอล (Miglitol) ออกฤทธิ์ชะลอการสลายแป้งและน้ำตาล

  • ข้อดี ไม่ทำให้น้ำหนักเพิ่ม ไม่ทำให้ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
  • ผลข้างเคียง ปวดท้อง มีแก๊สในกระเพาะ ท้องเสีย

สารยับยั้งโซเดียมกลูโคสโคทรานสปอตเตอร์ 2 (Sodium-glucose co-transporter 2 inhibitors)

สารยับยั้งโซเดียมกลูโคสโคทรานสปอตเตอร์ 2 เช่น คานากลิโฟลซิน (Canagliflozin) เอ็มพากลิโฟลซิน (Empagliflozin) ออกฤทธิ์ไม่ให้ไตดูดซึมกลูโคส

  • ข้อดี ลดความดันโลหิต
  • ผลข้างเคียง อาจติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ อาจติดเชื้อในยีสต์ อาจติดเชื้อที่อวัยวะเพศ

ยาทุกชนิดมีข้อจำกัดในการใช้งาน  ดังนั้น การรับประทานยารักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จึงควรอยู่ในความควบคุมของคุณหมอ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Diabetes treatment: Medications for type 2 diabetes. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/type-2-diabetes/in-depth/diabetes-treatment/art-20051004. Accessed May 21, 2021

New Type 2 Diabetes Medications. https://www.webmd.com/diabetes/features/new-diabetes-medications. Accessed May 21, 2021

Type 2 Diabetes. https://www.cdc.gov/diabetes/basics/type2.html. Accessed May 21, 2021

Evert AB, Dennison M, Gardner CD, et al. Nutrition Therapy for Adults With Diabetes or Prediabetes: A Consensus Report. Diabetes Care. 2019;42(5):731-754. doi:10.2337/dci19-0014. Accessed May 21, 2021

Adeghate E, Kalász H. Amylin analogues in the treatment of diabetes mellitus: medicinal chemistry and structural basis of its function. Open Med Chem J. 2011;5(Suppl 2):78-81. doi:10.2174/1874104501105010078. Accessed May 21, 2021

มาตรฐานการดูแลทางการแพทย์ในโรคเบาหวาน – พ.ศ. 2562 (2562). doi.org/10.2337/dc19-Sint01. Accessed May 21, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

18/02/2023

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

รักษา เบาหวาน ให้หายขาด ทำได้หรือไม่

insulin resistance คือ ภาวะดื้ออินซูลิน โอกาสเสี่ยงเบาหวานชนิดที่ 2


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 18/02/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา