นมสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการช่วยดูแลสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยเบาหวานควรเลือกชนิดของนมให้เหมาะสมกับสุขภาพและคำนึงถึงระดับน้ำตาลในเลือดเป็นหลัก
[embed-health-tool-bmi]
นมสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ตัวช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
ผู้ป่วยโรคเบาหวานเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกพรุนได้ง่าย ดังนั้น การดื่มนมที่มีปริมาณแคลเซียมสูงจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง นอกจากนี้ นมยังมีส่วนช่วยปรับสมดุลระบบย่อยอาหาร ยับยั้งการอักเสบ ลดความเสี่ยงต่อการภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคอ้วน
อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่นมทุกประเภทจะเหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ดังนั้น ผู้ป่วยเบาหวานและผู้ดูแลผู้ป่วยเบาหวานควรศึกษาประเภทของนมที่จะดื่มอย่างละเอียด เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ
นมสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน มีกี่ชนิด อะไรบ้าง
นมสำหรับคนเป็นเบาหวาน มีหลายชนิด แต่ควรเน้นการดื่มนมชนิดที่มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตต่ำ ได้แก่
- นมออร์แกนิคแท้ ในปริมาณ 1 ถ้วย ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 12 กรัม และโปรตีน 8 กรัม เป็นนมวัวที่อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 มีรสชาติเข้มข้น สามารถนำมาเติมผสมกับกาแฟและชาได้
- นมอัลมอนด์ ในปริมาณ 1 ถ้วย ให้หลังงาน 40 แคลอรี่ อุดมด้วยแคลเซียม มีรสชาติหวานเล็กน้อย ปราศจากแลคโตส หรือน้ำตาลนม
- นมถั่วเหลือง ในปริมาณ 1 ถ้วย อุดมด้วยวิตามินบี 12 และคาร์โบไฮเดรต 4 กรัม
- นมแพะ ในปริมาณ 1 ถ้วย ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต 11 กรัม และโปรตีน 8 กรัม
- นมจากเมล็ดแฟลกซ์ ในปริมาณ 1 ถ้วย ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต 1 กรัม ให้พลังงาน 25 แคลอรี่ อุดมด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 และปราศจากสารเคมี
นมสำหรับคนเป็นเบาหวานที่ควรหลีกเลี่ยง
ผู้ป่วยเบาหวานควรหลีกเลี่ยงนมรสหวานที่มีไขมันสูง โดยเฉพาะนมที่มีไขมันอิ่มตัวสูงและมีไขมันทรานส์สูง เพราะนมประเภทนี้จะเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดให้สูงขึ้น โดยมีรายละเอียดดังนี้
- นมพร่องมันเนย มีไขมัน 2.5 กรัม คาร์โบไฮเดรต 20 กรัม และน้ำตาล 18 กรัม
- นมปรุงแต่ง มีไขมัน 2.5 กรัม คาร์โบไฮเดรต 24 กรัม น้ำตาล 22 กรัม
- นมมะพร้าว ถึงแม้ว่านมประเภทนี้จะมีคาร์โบไฮเดรตเพียง 10 กรัมต่อถ้วย แต่มีไขมันสูงถึง 5 กรัม
นมสำหรับคนเป็นเบาหวาน นอกจากเลือกชนิดที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำแล้ว ควรบริโภคนมในปริมาณที่พอเหมาะ และควรเลือกรับประทานอาหารที่ให้โปรตีนและแคลเซียมจากแหล่งอื่นด้วย หากไม่แน่ใจว่าการดื่มนมส่งผลอย่างไรต่อภาวะเบาหวาน หลังดื่มนมควรตรวจค่าน้ำตาลในเลือด และสำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่ชอบดื่มนม สามารถบริโภคอาหารจากแหล่งโปรตีนและแคลเซียมอื่น ๆ แทน